ภูมิปัญญากระจูดเนินธัมมัง

ภูมิปัญญากระจูดเนินธัมมัง

 

ประวัติความเป็นมา

ต้นกระจูดขึ้นในป่าพรุ มีลักษณะลำต้นกลม ขยายพันธ์โดยการแตกหน่อ ในสมัยปู่-ย่า ตา ยาย ได้นำต้นกระจูด มาใช้ประโยชน์ โดยการนำมาจักรสานด้วยมือ ทำเป็นเครื่องใช้ เช่น เสื่อปูนอน เสื่อตากข้าวเปลือก กระสอบนั่ง กระสอบนอน ใช้ใส่ข้าวเปลือก และข้าวสาร กระสอบเล็กๆ ใช้ใส่หอม กระเทียม ในครัว ส่วนที่เหลือจากการใช้เอง ก็นำออกไปขายเพื่อเป็นรายได้กับครัวเรือน เพราะอาชีพหลักของคนบ้านเนินธัมมัง มีอาชีพหลักคือการทำนา และอาชีพตัดไม้เผาถ่าน เลี้ยงสัตว์ หาเอามาไว้กินเอง เมื่อออกไปหาปลากใช้เวลานั้นถอนกระจูด เพื่อเอามาใช้เองด้วย หรืออาจจะนำมาขายเป็นมัด มัดละ 1 บาท บางครั้งก็สานเสื่อกระจูดขาย ผืนละ 3 บาท และ กระสอบใบละ 75 สตางค์ ถึง 1.50 บาท

เมื่อ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2536 สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร ณ.บ้านเนินธัมมัง หมู่ที่ 5 ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และพบหลายปัญหาของราษฎรในหมู่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียง เพราะพื้นที่เป็นป่าพลุ ประสบปัญหาน้ำท่วมขังเป็นประจำทุกปี สภาพดินเป็นเปรี้ยว ทำให้ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรไม่ได้ผลเท่าที่ควร เป็นผลให้ราษฎรเดือดร้อน และเกิดปัญหาแรงงานอพยพภายใน หมู่บ้านจึงเหลือเฉพาะผู้สูงอายุและเด็ก สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ จึงได้มีพระเสาวนีย์ให้จัดตั้งโครงการศิลปาชีพ ขึ้นมาซึ่งได้ทรงเห็นว่าในพื้นที่ มีต้นกระจูดซึ่งเป็นวัตถุดิบอยู่ในท้องถิ่นอยู่แล้วจำนวนมาก

หลังจากนั้นเมื่อปี พ.ศ 2537 ได้ทรงเริ่มส่งเสริมงานการแปรรูปกระจูด ทรงได้จัดให้มีครูมาสอนให้กับสมาชิกกลุ่ม เพื่อพัฒนาจากรูปแบบเก่าๆ ให้ทันยุคทันสมัยขึ้น มีรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้กับราษฎร

 

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

ต้นกระจูดขึ้นในป่าพรุ มีลักษณะลำต้นกลม ขยายพันธ์โดยการแตกหน่อ ในสมัยปู่-ย่า ตา ยาย ได้นำต้นกระจูด มาใช้ประโยชน์ โดยการนำมาจักรสานด้วยมือ ทำเป็นเครื่องใช้ เช่น เสื่อปูนอน ของใช้ในครัวเรือน กระจูดส่วนใหญ่จัดหาได้ในพื้นที่ของตำบลแม่เจ้าอยู่หัว ปัจจุบันนำมาสานแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เป็นของใช้ และของประดับตกแต่ง

 

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. ต้นกระจูด

2. สีย้อม

3. แล็กเกอร์

4. ดินโคลน

 

ขั้นตอนการผลิต

1.เริ่มจากการจัดหาต้นกระจูด มาจากป่าพรุ นำมาตัดโคนต้น และปลายต้น

2.หลังจากนั้นนำมาคลุกดินโคลน แล้วนำไปตากแดด ประมาณ 2-3 วัน

3.เมื่อดินโคลนและกระจูดแห้ง ก็นำไปล้างน้ำให้ดินโคลนออกให้หมด แล้วนำมาผึ่งลมให้แห้ง

4.นำไปเข้าเครื่องรีดประมาณ 3-5 ครั้ง เพื่อให้ต้นกระจูดมีลักษณะจากทรงกลมเป็นรูปแบบ

5.นำมาสานเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ได้ทันที

การย้อมสีกระจูด

หากต้องการความสวยงามก็นำมาย้อมสีตามความต้องการ โดยการนำกระจูดมามัดเป็นกระจุก แล้วจุ่มลงในน้ำสีที่ต้มเดือดแล้ว หลังจากนั้นประมาณ 10-15 นาที ยกขึ้นมานำไปล้างน้ำ เพื่อไม่ให้สีตก แล้วนำมาผึ่งลมให้แห้ง นำมาเข้าเครื่องรีดประมาณ 3-5 ครั้ง เพื่อใช้เป็นรูปแบบ หลังจากนั้นนำมาสานเป็นผลิตภัณฑ์ตามสิ่งที่ต้องการในรูปแบบต่างๆ เช่น

กระเป๋ารูปแบบต่างๆ / ตะกร้าเอนกประสงค์ /กระเช้ารูปแบบต่างๆ / รองเท้ากระจูด

แฟ้มเอกสาร / พัดรูปแบบต่างๆ / หมวกรูปแบบต่างๆ / ที่ใส่รูปแบบผลไม้ต่างๆ

กล่องใส่ของกิ๊บชอบ / ฝ้าเพดานกระจูด / ฝาผนังกระจูด / ที่ใส่ปากกา

ที่ใส่ซองจดหมาย / ซองใส่ผ้าไหม / กล่องใส่ผ้าไหม / กล่องทิชชู่

 

เทคนิค/เคล็ดลับการผลิต

เคล็ดลับในการผลิตอยู่ที่การคัดเลือกต้นกระจูดที่นำมาจักสานต้องมีขนาดพอเหมาะและอายุของกระจูดต้องไม่อ่อนเกินไปเพราะต้นอ่อนเมื่อนำมารีดเป็นตอกกระจูดจะแตกทำให้ได้ตอกที่ไม่สวยงามเมื่อนำมาจักสานเป็นผลิตภัณฑ์จะให้ลวดลายที่ไม่สวย

ใส่ความเห็น