น้ำส้มควันไม้

น้ำส้มควันไม้  จังหวัดอุบลราชธานี

ตามแนวทางการดำเนินชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงมีการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการลดสารเคมีในการทำการเกษตร ทำให้พ่อครูบัญชา ตั้งวงษ์ไชย กรรมการที่ปรึกษาได้แนะนำให้ชุมชนมีการเผาถ่านแบบธรรมชาติ จึงทำให้มีการจัดตั้งกลุ่มพลังงานธรรมชาติและนำคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มไปศึกษาดูงานในพื้นที่ต่างๆ ในเรื่องการเผาถ่าน การทำน้ำส้มควันไม้จากการศึกษาดูงานจึงได้มีการประชุมกลุ่มว่าจะดำเนินการแบบไหนและจะจัดการกลุ่มในรูปแบบใด เมื่อไปดูมาแล้วเราจะไม่เลียนแบบเขา เราจะมาพัฒนาการทำให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม และจะต้องไม้ซ้ำแบบใคร เมื่อมีการประชุมกลุ่มแล้วก็ดูเรื่องวัตถุดิบว่าในพื้นที่ของเรามีวัตถุดิบอะไรบ้างที่มีจำนวนมาก มีวัตถุดิบมาก ปานกลาง น้อย เมื่อรู้แล้วจึงได้ดำเนินการในการสร้างเตาเผาแบบของเราเอง คือ ทุกอย่างจะต้องเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม เมื่อได้น้ำส้มมาแล้วก็ให้คณะทำงานส่งน้ำส้มควันไม้ไปวิจัยว่าคุณสมบัติของน้ำส้มควันไม้ที่ได้มีประโยชน์อะไรบ้าง และเราจะสร้างงานให้ชุมชน สังคม นโยบายคือสร้างงานให้ชุมชนมีส่วนร่วมและให้เป็นแบบอย่างให้กับชุมชนอื่น สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างความสามัคคีให้ชุมชน ทำให้ชุมชนอยู่ดีมีสุข และใช้วัสดุหรือวัตถุดิบในพื้นที่จากวัสดุที่ไม่มีค่า มีราคาให้มีคุณค่า

 

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

1.บรรจุภัณฑ์เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

2.คุณสมบัติการใช้งานมีการบอกวิธีการใช้งานอย่างชัดเจน

3.จุดขายเป็นสินค้าที่ผลิตจากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมีเจือปน ประโยชน์และคุณค่า คือ

1. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 100 %

2. วัตถุดิบจากธรรมชาติ 100 %

3. ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ 100 %

4. ใช้ไล่แมลงไม่ได้ฆ่าแมลง

5. ใช้ในราคาเกษตรกรรม

 

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. วัตถุดิบ

– ไม้ยูคาลิปตัส ไม้ไผ่ ไม้อื่นๆ (ในพื้นที่)

2. ส่วนประกอบ

– เตาเผาถ่าน เช่น เตาที่ทำด้วยอิฐบล็อกประสาน เตาหลุม เตาดินอบ มีปล่องไฟ

– ถานบด

3. ส่วนผสม

– ภาชนะรองน้ำส้มควันไม้

– ถังกรองน้ำส้มควันไม้

– ถังเก็บกักน้ำส้มควันไม้

– ถ่านบดละเอียด

– แกลนลอนบรรจุภัณฑ์

 

ขั้นตอนการผลิต

1. ตัดไม้เป็นท่อนๆ ยาวตามขนาดที่ต้องการประมาณ 90 ซม. ประมาณ 1,500 กก./เตา

2. นำไม้ไปเรียงวางเป็นแนวตั้งหรือแนวนอนในเตาเผาอิฐบล็อกที่รองด้วยตะแกรงเหล็ก (ขนาด 2*3 เมตร)อีกชั้นหนึ่ง

3. ปิดฝาเหล็กครอบเตาด้านบน

4. นำดินทรายมากลบปิดฝาเหล็กอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้ความร้อนอยู่ในเตาไม่ให้ความร้อนรั่วไหลออกไปข้างนอก

5. ก่อไฟหน้าเตาให้ความร้อนดูดผ่านเข้าไปด้านในเตา

-การสังเกต ถ้าควันเปลี่ยนสีจากดำเป็นขาวแสดงว่าไฟด้านในเตาติด

-ให้ควันไหลไปตามปล่องควันแล้วควันจะเกิดปฏิกิริยาจากไอร้อนกลายเป็นหยดน้ำไหลลงสู่ภาชนะเก็บ

6. นำภาชนะ เช่น ถังน้ำ มารองรับเอาน้ำส้มควันไม้

7. เมื่อน้ำส้มควันไม้เต็มภาชนะแล้วนำมาเทใส่ถังเก็บเพื่อให้ตกตะกอนรอใส่ถังกรอง

8. น้ำส้มควันไม้ที่เก็บไว้ในถังเก็บนำมาใส่ถังกรองซึ่งข้างในถังกรองจะมีถ่านบดเพื่อกรองน้ำส้มควันไม้ให้ใส ประมาณ 3 เดือน นำมาบรรจุใส่แกลลอนเป็นบรรจุภัณฑ์นำออกจำหน่าย

9. เตาเผาทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน ให้ควันหมดแล้วปิดหน้าเตาและหลังเตา ประมาณ 7 วันเอาถ่านออกนำไปแปรรูปสร้างมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่น เช่น ถ่านหอม ถ่านใบชา ถ่านบาร์บีคิว ซึ่งทำให้กลุ่มมีรายได้เพิ่มอีกช่องทางหนึ่ง

 

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

1. เทคนิค

– การกรองน้ำส้มควันไม้ต้องกรองแบบธรรมชาติ โดยไม่ใช้เทคโนโลยี

2. เคล็ดลับ

– การกรองต้องใช้ถ่านบดละเอียดผสมน้ำส้มควันไม้ เพราะในตัวของถ่านเอ็งจะเป็นกรดจะกรองเอาของหนักลงสู่ก้นถัง

3. ภูมิปัญญา

– ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ในการผลิตการทำเตาเผาถ่านทำแบบใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มพลังงานธรรมชาติ คือ เตาอิฐบล็อกประสานสี่เหลี่ยม กว้าง 2 เมตร* 3 เมตร มีฝาปิดเป็นเหล็กแผ่นหรือสังกะสีปิดด้านบนเตาแล้วเอาทรายปิดทับด้านบนอีกที เพื่อป้องกันควันไม้ให้ออกมาทั่วไป ให้ควันออกได้เฉพาะปล่องควัน ซึ่งเตาเผาถ่านแบบนี้มีที่กลุ่มพลังงานธรรมชาติแห่งเดียวในโลก(เตาเศรษฐกิจ) นอกจากนี้ชุมชนยังผลิตเตาที่ทำจากภูมิปัญญาชาวบ้านอีก เช่น เตาหลุม เตาดินอบที่ใช้ในครัวเรือน

4. การควบคุมคุณภาพ

– อุณหภูมิในการเผาถ่านใช้ความร้อน ประมาณ 1,000 องศาเซลเซียส

ใส่ความเห็น