ผ้าทอตัวหนังสือ

ผ้าทอตัวหนังสือ  จังหวัดปราจีนบุรี

ผ้าทอมือ ในอดีตชาวบ้านปลูกต้นหม่อน เลี้ยงไหม แล้วนำเส้นไหมมาทอเป็นผ้าไว้ใช้สอย ถ้าเหลือก็จะนำมาแลกเปลี่ยนกัน จนปัจจุบันการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมหายไปจากชุมชน ทำให้เส้นไหมไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด สมาชิกจึงได้รวมกลุ่มกันสั่งซื้อไหมประดิษฐ์ จากกรุงเทพ นำมาทอเป็นผ้าผืน ไว้ใช้ในครอบครัว ต่อมากลุ่มได้นำเทคโนโลยีสมัยมาใช้ในการออกแบบตัวหนังสือ แล้วนำมาปักบนผ้า ทำให้เป็นที่นิยมของส่วนราชการต่างๆ ที่นิยมใส่เสื้อเป็นหมู่คณะ สั่งทอผ้าแล้วปักชื่อหน่วยงาน ในจังหวัดปราจีนบุรีมีกลุ่มที่สามารถทอผ้าปักตัวหนังสือได้เพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น จึงได้มีการถ่ายทอดให้สมาชิกได้มีความรู้สืบต่อกัน

ผลิตภัณฑ์ผ้าตัวหนังสือ ของกลุ่มสตรีทอผ้า บ้านดงบัง หมู่ที่ 1 ตำบลดงบัง อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีกลุ่มทอผ้ากลุ่มใดสามารถทอผ้าตัวหนังสือได้ เนื่องจากการทอผ้าตัวหนังสือ จะต้องใช้ความชำนาญ และมีเทคนิคการทอเฉพาะตัว ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้

การทอผ้ามีมานานตั้งแต่สมัยในอดีต จนถึงปัจจุบัน แต่รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์มีการพัฒนาเรื่อยมา จากผ้าไหมจนถึงผ้าฝ้าย เนื่องจากสมัยโบราณมีการปลูกต้นหม่อน นำใบหม่อนมาเลี้ยงไหม นำเส้นไหมมาทอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือน เหลือจากใช้ก็นำมาแลกเปลี่ยนกัน ต่อมาชาวบ้านเลิกปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทำให้ไม่มีเส้นไหมสำหรับทอผ้า ชาวบ้านจึงรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มทอผ้า โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอประจันตคามและองค์การบริหารส่วนตำบลดงบังสนับสนุนกี่ทอผ้า จำนวน 60 ตัว และสนับสนุนวัสดุ (เส้นด้าย) ในการทอผ้า ทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมจากการทำนา มาทอผ้าเพื่อการค้า ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสตรีทอผ้า ได้แก่ ผ้าถุง ผ้าขาวม้า ผ้าตัดเสื้อ ผ้าโสร่ง ผ้าห่มไหมพรม

 

วัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้

  1. เส้นด้าย
  2. แบบตัวหนังสือ
  3. กี่
  4. ไน
  5. หลอดปั่นด้าย
  6. ด้ายเก็บตะขอ
  7. ฟืม
  8. ราวตั้งหลอด
  9. ม้าเดินด้าย
  10. ม้าหวีด้าย
  11. กระสวย

 

ขั้นตอนการผลิต

การทอผ้าตัวหนังสือ ใช้อุปกรณ์ในการทอเหมือนกับการทอผ้าทั่วๆ ไป เพียงแต่พอถึงช่วงทอตัวหนังสือ ผู้ทอจะมัดด้ายยืนตามแบบตัวหนังสือที่ใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบไว้แล้ว และยกตัวหนังสือโดยใช้ไม้สอด ทำให้เส้นด้ายยืนเว้นเป็นตัวหนังสือ

ใส่ความเห็น