ภูมิปัญญาชาชงส้มแขก

ภูมิปัญญาชาชงส้มแขก

ประวัติความเป็นมา

          ส้มแขกเป็นพืชใบสกุล Garcinia ใบวงศ์Guttijerae มีแหล่งที่มาจาก 2 แหล่ง คือ ส้มแขกที่ได้จากอินเดียมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Garcinia camboGia Desr. และที่พบบริเวณภาคใต้ของไทยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Garcinia atroviridis Grigt. ส้มแขกเป็นพืชที่มีกรดผลไม้อยู่เป็นจำนวนมากเช่น Citric acid , tartaric acid , malic acid เป็นต้น ซึ่งกรดผลไม้เหล่านี้มีรสเปรี้ยว มีคุณสมบัติช่วยถนอมอาหารและเป็น antioxdant ส่วน citric acid มีประโยชน์ทางการแพทย์ใช้แทนน้ำย่อย ส่วนเกลือของมันสามารถจับกับแคลเซียมทำให้ยับยั้งการแข็งตัวของเลือด สารที่นำมาใช้อ้างอิงว่ามีคุณสมบัติลดความอ้วน คือ alpha hydoxycitric acid (HCA) ซึ่งสารนี้จะช่วยลดสร้างไขมัน และเพิ่มสารสร้างไกลโครเจน ทำให้ลดความอยากอาหาร ส่วนสรรพคุณตามตำรายาพื้นบ้านคือ ช่วยบรรเทาปวดท้องในสตรีมีครรภ์ เป็นยาระบายอ่อนๆและมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ

ส้มแขกในพื้นที่จังหวัดยะลา มีจำนวนมากจึงได้นำมาแปรรูปในหลากหลาย เข่น ส้มแขกตากแห้ง ส้มแขกแช่อิ่ม และชาชงส้มแขก เพื่อใช้ดื่มเป็นเพื่อเป็นยาระบาย

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

          เอกลักษณ์ของชาชงส้มแขกของกลุ่มอนุรักษ์สมุนไพรบ้านปาแล ตำบลยะลา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา มีจุดเด่นคือ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เป็นผลส้มแขกที่มาจากการปลูกเองในพื้นที่ รสชาติเปรี้ยว ผลใหญ่ และผลิตจากส้มแขกที่ได้ขนาด สด

 

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. ผลส้มแขก

 

เทคนิค/เคล็ดลับการผลิต

การทำชาชงส้มแขก จะต้องใช้ผลส้มแขกที่แก่ได้ขนาด ไม่สุกงอมเกินไป ใช้ส้มแขกในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ จะมีรสจัดดี เข้มข้น การเก็บรักษาให้เก็บไว้ในที่แห้งไม่มีความชื้น จะเก็บได้นานถึง 1 ปี

ใส่ความเห็น