จักสานกระจูด

ภูมิปัญญาจักสานกระจูด ( บ้านห้วยลึก ) จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 ประวัติความเป็นมา

กระจูดเป็นพืชพวกกก มีเหง้าไต้ดิน ซึ่งเป็นกกกอใหญ่ทั่วไปในพื้นป่าพรุ ลำต้นทรงกลมเรียวยาว 50-120 เซนติเมตร หนา 2-7 มิลิเมตร ภายในกลวง มีแผ่นยางกั้นเป็นระยะ โคนลำต้นหุ้มด้วยกาบ มรดอกใกล้ปลายยอดหรือยอด รูปรีสี่น้ำตาล ภาษาถิ่นภาคใต้เรียกกระจูดว่า “จูด” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์: Leparine articulate(aitg) Doming ชื่อวงศ์: cyperaceae

เนื่องจากในท้องถิ่นตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีทุ่งกระจูดตามธรรมชาติ เนื้อที่ 600 ไร่ เกษตรกรซึ่งมีเวลาว่างจากการทำสวนยางพารา จึงได้นำต้นกระจูดมาจักรสานเป็นสื่อสำหรับรองนั่ง/นอน เสือตากข้าวเปลือก จักสานของใช้ในครัวเรือน เป็นภูมิปัญญาเริ่มแรกของชาวบ้านที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษในการนำกระจูดมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เริ่มจากสมัย “นายจรัส เศรษฐ์เชื้อ” กำนันตำบลท่าสะท้อน โดยนางอุไรวรรณ เศรษฐ์เชื้อ ภรรยากำนัน ได้ส่งผลิตภัณฑ์ “ ” ที่ชาวบ้านจักสานไว้สำหรับใส่หมาก พลูของผู้สูงอายุ ไปประกวดที่นราธิวาส และได้รับรางวัลจากเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ปี 2526 หลังจากนั้นชาวบ้านจึงให้ความสำคัญมากขึ้นและได้มีการรวมกลุ่มขึ้นมา

 

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

1. เป็นวัสดุจากธรรมชาติและมีอยู่ในท้องถิ่น

2. รูปแบบทันสมัย ทั้งที่เป็นงานหัตถกรรม ประดิษฐ์โดยฝีมือชาวบ้าน

3. มีการนำเอาภูมิปัญญาดังเดิมมาปรับปรุงให้เข้ากับยุกต์สมัย ทำให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ

4. ฝีมือประณีต สีและลวดลายทันสมัย

  

 วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. กระจูด

2. สี

3. ถังต้มสี

4. กระดาษบาง-หนา

5. กาวลาเท็กซ์

6. กาวเหลือง

7. น้ำยาเคลือบเงา

8. ด้าย

9. ผ้า

10. ซิป

11. ห่วง

12. สายหนัง

13. กะดุม

 

ขั้นตอนการผลิต

1. การอบต้นกระจูด เป็นขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ คือ ต้นกระจูดขนาดต่าง ๆ ซึ่งชาวบ้านจะเตรียมที่ทุ่งกระจูด การกอบนิยมกอบที่ละ 2.3 ต้น รับหนึ่งจะกอบประมาณ 10-15 กำฝ่า มัดกระจูด ที่มัดมาจากแหล่งกระจูด เรียก 1 กำฝ่า ใหญ่ขนาดเท่าต้นตาลโตนด 1 กำฝ่า นำมาแยกเป็นกำฝืนได้ประมาณ 4-5 กำฝืน( 1 กำฝืน สานเพื่อผู้นั่งใส่ 1 ผืน)

2. การคลุกโคนต้นกระจูด เพื่อเมความเหนียวให้ทับเส้นใย ชาวบ้านจะใช้น้ำโคลนขาว คลุกกระจูดให้เปียกทั่วก่อนนำไปตากแดด ช่วยให้กระจูดเข็งตัว ไม่แห้งกรอบ เพียงปิดจบใช้งานไม่ได้

– นำน้ำมาผสมกับดินเหนียวขาวจะได้นำโคลนสีขาว

– การผสมน้ำกับโคลน ต้องไม่เหลวหรือข้นจนเกินไป ทดสอบโดยจุ่มมือลงไปให้น้ำโคลนเกาะนิ้วมือ

3. การนำไปผึ่งแดด

– นำไปตากแดด แบบกระจายเรียงเส้น เพื่อกระจุดจะได้แห้งเร็วและทั่วลำต้น

– ถ้าแดดจัดตากประมาณ 2-3 วัน ให้สังเกตที่ทับกระจูดตรงโคนต้น ถ้าทับแยกออกแสดงว่าต้นกระจูดนั้นแห่งแล้วให้ทำการถอดทับกระจูดออก

4. คัดเลือกต้นกระจูด แยกขนาดเล็กใหญ่มัดไว้เป็นกำ

5. นำกระจูดไปรีดให้แบบ ซึ่งการรีดมี 2 วิธี

– ใช้เครื่องจักรรีด

– ใช้ลูกกลิ้งรีด ลูกกลิ้งทำจากวัสดุทรงกลม ที่มีน้ำหนักพอเหมาะ เช่น ท่อซิเมนต์ ท่อเหล็กกลม

วิธีการรีด นำกระจูดมัดเป็นกำพอประมาณ วางบนพื้นราบใช้ลูกกลิ้งทับไปทับมาจนแบบเรียบตามต้องการ

ข้อแตกต่างระหว่างเครื่องรัดกับลูกกลิ้ง

การใช้ลูกกลิ้งรีดต้นกระจูดจะนิ่มเหมือนตำด้วยสาก จักสานง่าย ส่วนการใช้เครื่องรีด ต้นจะแบบเรียบเหมือนกันแต่ไม่นิ่ม ทำให้จักสานยาก

6. การย่อมสี(สีเคมี)

– แบ่งกระจูดออกเป็นมัด มัดละ 20-25 เส้น แล้วนำสายยางมัดที่ปลายกระจูดเพื่อไม่ให้เส้นกระจายออกเวลานำไปย้อมสี

– นำกระจูดไปจุ่มน้ำให้ชุ่ม

– นำไปย้อมสีตามที่ต้องการ ในถังต้มสี ซึ่งนี้เดือดได้ที่แล้วประมาณ 15-20 นาที

– นำกระจูดขึ้นจากถังสี แล้วนำไปล้างน้ำสะอาด เพื่อล้างสีส่วนเกินออก

– นำกระจูดไปตากที่ราว ผึ่งลมให้แห้ง

– นำเส้นกระจูดที่แห้งแล้วมัดรวมกันเพื่อนำไปรีดใหม่อีกครั้งให้เส้นใยนิ่มและเรียบ

7. การจักสาน

ใช้สถานที่ภายในบ้าน ชานบ้านหรือลานบ้านที่มีพื้นที่เรียบ การสานนำต้นกระจูดที่เตรียมไว้มาจักสานเป็นลวดลายต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้สาน และตามความต้องการของลูกค้า โดยปกติสายพื้นฐาน คือ สายสอง ถ้าสานเสื่อจะเริ่มต้นจากริม คือ ตั้งต้นสายจากปลายด้านใดด้านหนึ่งไปจนสุดปลายอีก้านหนึ่ง เช่น ถ้าเป็นภาชนะ เช่น กระบุง จะเริ่มต้นจากกึ่งกลางงาน มิฉะนั้นจะทำให้เสียรูปได้ เพราะขนาดต้นกระจูดส่วน

โคนจะใหญ่กว่าส่วนปลาย การสานเสื่อจะมีลายต่าง ๆ เช่น ลายสาม ลายสี่ ลายดอกจันทร์ ลายดอกพิกุล ลาย ลูกแก้ว ลายดอกไม้ ลายที่นิยมมากที่สุดคือ ลายสอง ผลิตภัณฑ์ที่สามารถจักสานได้หลากหลาย เช่น เสื่อ หมอน กระเป๋า กระบุง ที่รองแก้ว ที่รองจาน ผู้ที่จักสานในกลุ่มส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 35 ปีขึ้นไป

8. การตกแต่งส่วนประกอบอื่น ๆ

งานสานเสื่อกระจูดเป็นงานเกือบจะพูดได้ว่า ทำเสร็จเรียบร้อยในคราวเดียว มีการตกแต่งต่อเติมเพียงเล็กน้อย คือ การเก็บริมหรือพับริม และการ ซึ่งเหมาะสำหรับใช้เป็นเสื่อผู้นั่ง แต่หากต้องการนำเสื่อที่สานเสร็จแล้ว(แต่ไม่ต้องเก็บริม) ไปตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่,หรือกระเป๋าที่สานเสร็จเรียบร้อยแล้ว(แต่ยังไม่สามารถใช้งานได้ เรียกว่า กระเป๋าตัวดิบ) ซึ่งต้องมีอุปกรณ์ประกอบเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถใช้งานได้ คงทน และเพื่อความสวยงามให้กับผลิตภัณฑ์

อุปกรณ์ กระจูด กระดาษบาง-หนา กาวลาเท็กซ์ กาวเหลือง น้ำยาเคลือบเงา ด้าย ผ้า ซิป ห่วง สายหนัง กระดุมยึด โครงพลาสติก แผ่น เป็นต้น

9. การดูแลรักษา

ควรเก็บผลิตภัณฑ์กระจูดในที่แห้ง ไม่ควรเก็บในที่ชื้นและเปียกชื้น เพราะจะทำให้เกิดเชื้อรา และใช้งานไม่ได้นาน แต่หากหลีกเลียงไม่ได้ ควรนำออกตากแดดให้แห้งสนิท ก็จะสามารถใช้งานได้เหมือนเดิม

 

เทคนิค/เคล็ดลับการผลิต

กระจูดมีอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 6 ตำบลท่าสะท้อน และเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ในการถอนต้นกระจูดนิยมถอน ครั้งละ 2-5 เพื่อไม่ให้ต้นกระจูดหัก และนำไปคลุกโคลน เพื่อเพิ่มความเหนียวให้กับเสนใย แล้วนำไปตากแดดเพื่อให้กระจูดแข็งตัว ไม่ให้แห้งกรอบ และการรีกระจูดใช้ลูกกลิ้งรีดจะทำให้กระจูดนิ่ม สามารถจักสานได้สะดวก

ใส่ความเห็น