ไข่เค็มใบเตยต้มสุกเสริมไอโอดีน
ไข่เค็มใบเตยต้มสุกเสริมไอโอดีน จังหวัดพิจิตร
ประวัติความเป็นมา
สืบเนื่องจาก คุณปรานอม สุทัศน์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีตำบลกำแพงดิน ในขณะนั้น ได้มีแนวคิดที่ต้องการเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายให้กับครอบครัว โดยยึดแนวปฏิบัติตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง คือได้เริ่มทำไข่เค็มไว้บริโภค เหลือแล้วจึงนำไปจำหน่าย และอีกเหตุผลหนึ่งคือ ไข่เป็ด เป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ในชุมชน เพราะมีประชาชนเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญคือ แม่ปรานอมได้รับสูตรที่ได้รับการถ่ายทอด มาจากบรรพบุรุษ คือบิดาของแม่ปรานอมเองนั้น เป็นชาวจีนจากเมืองซัวเถา ประเทศจีน และเดินทางมาค้าขาย และมีครอบครัวในเมืองไทย จากนั้นได้ถ่ายทอดสูตรการทำไข่เค็มโดยวิธีการพอกดินเหนียว และชนิดดองน้ำเกลือ ถือได้ว่าสูตรที่ได้รับการถ่ายทอดนั้นเป็นสูตรพิเศษเฉพาะ ผนวกกับคุณปรานอมได้คิดค้นและพัฒนาปรับปรุงสูตร ให้มีรสชาดติดปากคนไทย และคัดสรรวัตถุดิบเป็นอย่างดี คือเลือกไข่เป็ดใบใหญ่ สดและใหม่ จึงทำให้ไข่เค็มของ กลุ่มนั้น มีจุดเด่นคือ อร่อย มัน ไม่เค็มจัด ไข่ใบใหญ่ ไข่แดงจะแดงสด น่ารับประทาน สามารถเพิ่มรายได้ให้กับ ครอบครัวได้พอสมควร ต่อมารัฐบาลมีโครงการที่ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนให้ เข้มแข็งพึ่งตนเองได้ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างงาน สร้างรายได้ ด้วยการนำทรัพยากร ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็น ผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพที่มีจุดเด่น และมูลค่าเพิ่มให้เป็นที่ ต้องการของตลาด และสอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของ ท้องถิ่น จึงได้จัดให้
มีโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ดังนั้น แม่ปรานอม จึงได้นำผลิตภัณฑ์นี้ เข้าคัดสรรเพื่อเป็นสุดยอด
2. ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และไข่เค็มใบเตยต้มสุกเสริมไอโอดีน ได้รับการคัดสรรให้เป็นสินค้า (OTOP) หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ของตำบลกำแพงดิน จากนั้น สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสามง่าม ได้เห็นว่า ไข่เค็มใบเตยต้มสุกเสริมไอโอโอดีน จะ สามารถสร้างรายได้และสร้างอาชีพให้กับกลุ่มสตรีผู้ว่างงาน ได้มีงานทำและเพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตและยอดจำหน่าย จึงเสนอให้จัดทำเป็นรูปแบบของกลุ่มขึ้นมาเพื่อส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มสตรีและผู้สูงอายุที่ว่างงานในตำบลกำแพงดิน พร้อมทั้งเป็นพี่เลี้ยงในการจัดตั้งกลุ่ม จึงได้มีการรวมกลุ่ม และมีสมาชิกจัดตั้งในครั้งแรก จำนวน 7 คน โดยใช้ชื่อกลุ่ม “กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารไข่เค็มและน้ำพริก แม่บ้านตำบลกำแพงดิน” จากการรวมกลุ่มทำให้มีกำลังการผลิตและ ยอดจำหน่ายเพิ่มมากขึ้น
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
วัตถุดิบที่ใช้ได้สะท้อนถึงภูมิปัญญา และการเกื้อกูลซึ่งกันและกันของคนในชุมชน เนื่องจาก วัตถุดิบหลักที่ใช้ คือไข่เป็ด หาได้ง่ายในชุมชน เพราะมี กลุ่มผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งจำนวนมาก นอกจากการผลิตไข่เค็ม ใบเตยต้มสุกเสริมไอโอดีน จะเป็นการสร้างรายได้ให้กับ คนในหมู่บ้านแล้ว การได้เลือกซื้อไข่เป็ดของเกษตรกร ในพื้นที่นั้น ยังเป็นการช่วยให้คนในพื้นที่ มีรายได้เพิ่มอีก และยังได้ไข่เป็ดที่มีคุณภาพ คือ ไข่ใบใหญ่ ใหม่ และสด ส่วนกรรมวิธีในการผลิตก็ไม่ยุ่งยาก ใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่าย ในพื้นที่ เช่น เกลือไอโอดีน และใบเตย และสามารถนำ ไข่เค็มที่ได้มาแปรรูปเป็นอาหารอื่นได้อีกหลากหลายชนิด ผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำพริกไข่เค็ม ไข่เค็มผัดพริกขิง เป็นต้น และที่สำคัญ ไข่เค็มนั้น ถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาในด้านการถนอมอาหาร ที่ดีที่ได้รับการสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
และการเกื้อกูลซึ่งกันและกันของคนในชุมชน เนื่องจาก วัตถุดิบหลักที่ใช้ คือไข่เป็ด หาได้ง่ายในชุมชน เพราะมี กลุ่มผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งจำนวนมาก นอกจากการผลิตไข่เค็ม ใบเตยต้มสุกเสริมไอโอดีน จะเป็นการสร้างรายได้ให้กับ คนในหมู่บ้านแล้ว การได้เลือกซื้อไข่เป็ดของเกษตรกร ในพื้นที่นั้น ยังเป็นการช่วยให้คนในพื้นที่ มีรายได้เพิ่มอีก และยังได้ไข่เป็ดที่มีคุณภาพ คือ ไข่ใบใหญ่ ใหม่ และสด ส่วนกรรมวิธีในการผลิตก็ไม่ยุ่งยาก ใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่าย ในพื้นที่ เช่น เกลือไอโอดีน และใบเตย และสามารถนำ ไข่เค็มที่ได้มาแปรรูปเป็นอาหารอื่นได้อีกหลากหลายชนิด ผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำพริกไข่เค็ม ไข่เค็มผัดพริกขิง เป็นต้น และที่สำคัญ ไข่เค็มนั้น ถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาในด้านการถนอมอาหาร ที่ดีที่ได้รับการสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน
ขั้นตอนการผลิต
1. การเลือกซื้อไข่เป็ดจากกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งในพื้นที่โดยวิธีธรรมชาติ จะเลือกซื้อเฉพาะ ไข่เป็ดคัดใบใหญ่ โดยต้องคำถึงความสด และใหม่ เก็บวันต่อวัน โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดจะนำไข่มาส่งให้ในช่วงเช้า ประมาณสัปดาห์ละ 3- 4 ครั้ง
2. ล้างให้ขาวสะอาด (ไข่ใหม่จะล้างดินและขี้เป็ดออกได้ง่าย)
3. ต้มน้ำสะอาดพอเดือดใส่เกลือเม็ดไอโอดีนลงไปในอัตราส่วน 3:1 คนให้ละลาย
4 นำน้ำเกลือที่ได้ทิ้งไว้ให้เย็น
5 นำใส่ภาชนะสำหรับดองใส่น้ำเกลือประมาณ ¾ ของถัง และนำไข่เป็ดที่ล้างสะอาดใส่ให้เต็มถัง พอดี แล้วปิดฝาให้สนิท ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน
6. จากนั้นนำไข่ที่ดองออกมาต้มให้สุก ประมาณ 30 นาที พร้อมบริโภคได้ทันที
ในส่วนของขั้นตอนและกระบวนการผลิตของกลุ่มฯ จะพิถีพิถันเพื่อให้ได้ไข่เค็มใบเตยต้มสุกเสริมไอโอดีน ที่มีคุณภาพและได้มีมาตรฐาน เน้นการรักษาคุณภาพให้คงเดิม แต่จะพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้หลากหลายตรงกับความ ต้องการของลูกค้า เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มฯ แล้วนั้น ในส่วนของขั้นตอนและ กระบวนการผลิตสินค้าเรายังได้ตระหนักถึงเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี ทางกลุ่มฯ จึงมีขั้นตอนและ กระบวนการผลิต ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมทุกขั้นตอน ดังนี้
1. สถานที่ผลิต โครงสร้างของโรงเรือนและตัวอาคารมีการออกแบบให้โล่ง และ โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้า เพราะไม่ต้องใช้พัดลมจำนวนมาก และแสงสว่างเพียงพอไม่ต้องเปิดไฟส่องสว่างจำนวนมาก เช่นเดียวกัน
2. การเลือกซื้อไข่เป็ด จะเลือกซื้อจากกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งในพื้นที่ โดยเลือกซื้อ เฉพาะไข่เป็ดคัดใบใหญ่ สด และใหม่ เก็บวันต่อวัน จะสะดวกต่อการนำมาล้าง คือจะสามารถล้างดิน และขี้เป็ดออกได้ง่ายกว่าไข่เป็ดที่เก็บค้างหลายวัน จึงทำให้ไม่เปลืองน้ำที่ใช้ในการล้างไข่เป็ด
3. น้ำที่ใช้ล้างไข่เป็ด น้ำที่ใช้ล้างไข่เป็ดแล้ว จะนำไปรดต้นไม้ที่ปลูกอยู่บริเวณใกล้เคียง
4. ไข่ร้าว ไข่เป็ดดิบที่ล้างสะอาดบางฟองอาจร้าว หรือแตกได้ ถ้าเรานำไข่ร้าวไปดองน้ำเกลือจะทำให้ผลผลิตของไข่เค็มที่ได้นั้นเค็มมาก ทำให้ไม่ได้คุณภาพและมาตรฐาน กลุ่มฯ จึงต้องคัดไข่ร้าวออก แต่แทนที่เราจะนำไปทิ้ง เรากลับนำไปจำหน่ายให้กับลูกค้าประจำในราคาถูก ได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป และเพื่อเป็นการคืนทุนให้กลุ่มฯ ด้วย
5. ไข่เค็มดอง หลังจากขั้นตอนการดองไข่เค็มเรียบร้อยแล้วนั้น ก่อนนำมาต้มสุก กลุ่มจะคัดไข่ที่ร้าวอีกครั้ง เพราะถ้าเรานำไปต้มจะได้ไข่เค็มที่เค็มจัดจะทำให้ไข่เค็มไม่ได้คุณภาพและมาตรฐาน และในส่วนของไข่เค็มที่ร้าวนี้ จะนำมากะเทาะเปลือกและเลือกแต่ไข่แดง ไปจำหน่ายให้กับกลุ่มที่ผลิตขนมโมจิ และขนมเปี๊ยะ
6. การต้มไข่เค็ม ไข่เค็มที่ต้มสุกแล้ว กลุ่มจะดำเนินการคัดไข่ที่ร้าวอีกครั้งหนึ่ง ในส่วนของไข่เค็ม ต้มสุกที่ร้าว กลุ่มจะนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ตัวอื่นของกลุ่มฯ ที่ได้รับความนิยม คือ น้ำพริกไข่เค็ม และไข่เค็มผัด พริกขิง
7. การแยกประเภทของขยะ กลุ่มตั้งอยู่ในเขตเทศบาลที่มีถังขยะรองรับ แต่ก่อนที่กลุ่มจะทิ้งขยะนั้น จะต้องดำเนินการแยกประเภทของขยะก่อนทุกครั้ง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ให้เกิดภาวะโลกร้อน จากการทิ้งขยะที่มากเกินไป และการแยกประเภทของขยะให้ถูกต้องนั้น ยังช่วยลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มฯส่วนขยะรีไซเคิล นอกจากจะนำกับมาใช้อีก เราจะนำไปขายและนำรายได้เข้ากลุ่มฯ
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
1. การเลือกซื้อไข่เป็ดจากกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งในพื้นที่โดยวิธีธรรมชาติ จะเลือกซื้อเฉพาะ ไข่เป็ดคัดใบใหญ่ โดยต้องคำถึงความสด และใหม่ เก็บวันต่อวัน โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดจะนำไข่มาส่งให้ในช่วงเช้า ประมาณสัปดาห์ละ 3- 4 ครั้ง
2. ล้างให้ขาวสะอาด (ไข่ใหม่จะล้างดินและขี้เป็ดออกได้ง่าย)
3. ต้มน้ำสะอาดพอเดือดใส่เกลือเม็ดไอโอดีนลงไปในอัตราส่วน 3 : 1 คนให้ละลาย
4. นำน้ำเกลือที่ได้ทิ้งไว้ให้เย็น
5. นำใส่ภาชนะสำหรับดองใส่น้ำเกลือประมาณ ¾ ของถัง และนำไข่เป็ดที่ล้างสะอาดใส่ให้เต็มถัง พอดี แล้วปิดฝาให้สนิท ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน
6. จากนั้นนำไข่ที่ดองออกมาต้มให้สุก ประมาณ 30 นาที พร้อมบริโภคได้ทันที
ใส่ความเห็น
Comments 0