น้ำหมากเม่าไอคำ
น้ำหมากเม่าไอคำ จังหวัดสกลนคร
ประวัติความเป็นมา
หมากเม่า เป็นไม้ยืนต้นสูงของไทย เกิดในป่าตามธรรมชาติ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดสกลนคร เทือกเขาภูพาน ปัจจุบันมีการขยายพันธุ์ และปรับปรุงสายพันธุ์ให้มีลูกดกและมีเนื้อมาก ลูกโต
หมากเม่า เป็นผลไม้ที่อุดมด้วยคุณค่าทางอาหาร แร่ธาตุ วิตามินเช่น โปรตีน ใยอาหาร คาร์โบไฮเดรต แคลเซี่ยม เหล็ก วิตามิน บี 1 บี 2 ปริมาณสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้อายุยืน สุขภาพแข็งแรง ลดความเสี่ยงจากมะเร็ง (จากนิตยสารใกล้หมอ) มีกรดอะมิโนซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย
หมากเม่า จะมีผลสีเขียวเมือเริ่มเป็นลูก แล้วจะเปลี่ยนเป็นผลสีแดงเมื่อใกล้สุก แต่จะมีรสเปรี๊ยว ต่อจากนั้นเมื่อผลสุกเต็มที่จะมีสีดำจะมีรสหวานอมเปรี๊ยว และฝาดเล็กน้อย
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
เอกลักษณ์หรือจุดเด่นของกลุ่มคือการใช้ดินจอมปลวกหรือดินโพนปลวก ที่อยู่ตามชายป่า ดินจอมปลวกนี้จะเป็นดินที่ตัวปลวกไปนำมาทำรัง ซึ่งตัวปลวกมีขนาดเล็กการที่จะแบกเอาดินชิ้นใหญ่ๆ คงเป็นไปไม่ได้ ส่วนหนึ่งดินที่มาจากจอมปลวกจะมีสารไอโอดีนผสมอยู่เพราะปลวกจะใช้น้ำลายเชื่อมดินให้เกาะติดกัน และอีกอย่างรสชาติของไข่เค็มมีรสชาติที่ไม่เค็มมาก เรารักษารสชาดอาหารให้คงที่โดยการควบคุมอัตราส่วนและวันเวลาหมักไข่
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1. ผลเม่าสด(ผลที่สุกแล้ว)
2. น้ำตาล
3. น้ำ
4. เกลือไอโอดีน
ขั้นตอนการผลิต
- นำผลเม่ามาล้างน้ำให้สะอาด โดยคัดเอาผลที่สุกแล้ว(สีดำ)นำมาล้างน้ำให้สะอาด
- นำผลเม่าที่ล้างน้ำสะอาดมาบดให้แตกพอ ประมาณ นำเม่าที่บดมาเติมน้ำ 30 ลิตร ต้มอุณหภูมิ 70 องศาเซนเซียล นาน 30 นาที กรองด้วยผ้าขาวบาง 3 – 4 เที่ยว
- เติมน้ำตาลทรายให้หวานได้ 13 บริค โดยใช้เครื่องวัดความหวาน และวัดกรดด่าง ได้ระหว่าง 4.5-5 เติมเกลือไอโอดีนแล้วนำไปต้มในอุณหภูมิ 100 องศาเซนเซียล นาน 10 นาที
- นำไปบรรจุขวดในขณะที่น้ำเม่ากำลังร้อนอยู่ (ให้ใช้ขวดแก้วในการบรรจุ) พร้อมปิดฝาให้แน่ ขวดที่ใช้จะต้องนำไปนึ่งฆ่าเชื้อก่อนนำมาบรรจุขวด
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
การต้มน้ำเม่าควรใช้ความร้อนอุณหภูมิที่ไม่ร้อนมากจนเกินไป คือไม่ให้เดือดแรง เพราะจะทำให้น้ำเม่าไม่มีกลิ่นหอม และขวดที่ใช้จะต้องเป็นขวดแก้ว เนื่องจากสามารถฆ่าเชื้อได้ทั้งก่อนบรรจุ และบรรจุน้ำเม่าในขณะที่ร้อนทำให้น้ำเม่าไม่เสียง่ายเก็บได้เป็นเวลาถึง 1 ปี โดยไม่ใส่วัตถุกันเสีย
ใส่ความเห็น
Comments 0