ผ้าทอมัดหมี่กี่กระตุก

ผ้าทอมัดหมี่กี่กระตุก บ้านหนองขนาก  จังหวัดนครราชสีมา

 

 ประวัติความเป็นมา

ชุมชนบ้านหนองขนาก ประกอบอาชีพหลัก คือเกษตรกรรม ครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยต่อปี ไม่เพียงพอการการครองชีพ สภาพชุมชนฐานะอยู่ในระดับปานกลาง ทุกครอบครัวให้ความสำคัญในการพัฒนาตนเองเพื่อให้ทันต่อสภาพสังคมที่เปลี่ยน แปลงไปเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไป ในชุมชนมีความรักใคร่สามัคคีดีต่อกัน การดำเนินชีวิตเป็นแบบพึ่งพาอาศัยตนเอง จากสภาพความเป็นอยู่และการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ค่าครองชีพสูงขึ้น รายได้ไม่พอต่อรายจ่าย ทำให้ผู้มีความรู้ความสามารถ จากภูมิปัญญาดั้งเดิม ที่ได้สะสมในการทอผ้าอีกทั้งยังมีทักษะ ความชำนาญพอสมควร มีความสนใจจะประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว จึงได้มีการรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งกลุ่มขึ้น เพื่อสร้างรายได้ให้กับสมาชิกผู้ที่สนใจในการทอผ้า และอีกทั้งยังมีทักษะ ความชำนาญพอสมควรมีความสนใจจะประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว จึงได้มีการรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งกลุ่มขึ้น และเสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเอง ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ให้เข้มแข็ง ยั่งยืนตลอดไป

กลุ่มทอผ้าบ้านหนองขนาก ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เริ่มต้นสมาชิกมีการรวมตัวกันในการออมกันทุกๆ เดือน และการใช้ทุนของตัวเองก่อนในการลงทุน มีกี่ในการใช้งานอยู่ 5 ตัว สมาชิก 30 คน และต่อมาทางกลุ่มได้ขอกู้จากองค์การบริหารส่วนตำบลสุขไพบูลย์ เป็นเงินโครงการเศรษฐกิจชุมชน เพื่อนำมาซื้อกี่เพิ่มมาอีกจำนวน 5 ตัว ปัจจุบันมีกี่อยู่ 22 ตัวที่ทอผ้าอยู่ โดยได้รับการช่วยเหลือ จากงบ SML ปี พ.ศ. 2548 ทางกลุ่มได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้ สมาชิกปัจจุบัน 60 คน

 

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

  • ผ้าฝ้ายมีความสวยงาม มีลวดลายประยุกต์ทันสมัย ทำตามสั่งของลูกค้าได้ โดยเฉพาะทำเป็นลายอักษรได้
  • ผ้าเนื้อนุ่มเบาสบาย ไม่ร้อน เหมาะสำหรับนำมาตัดเป็นชุดออกงาน สูทใส่ได้ทั้งสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี และนำไปตัดตกแต่ง แปรรูป เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนที่มีลวดลายตามต้องการ
  • ผ้าสีไม่ตก และมีอายุการใช้งานยาวนาน รักษาง่าย

 

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

  • ด้ายใยประดิษฐ์
  • เชือกฟาง
  • สีย้อมผ้า
  • อุปกรณ์การทอผ้า

อุปกรณ์การทอผ้า

– กี่หรือหูก เป็นอุปกรณ์ในการทอผ้า ให้เป็นผืนตามลวดลายที่ต้องการ

–  ฟันหวีหรือฟืม มีลักษณะเป็นกรอบโลหะภายในเป็นซี่ถี่ ๆ คล้ายหวี แต่ละเส้นจะใช้เส้นด้ายยืนสอด เข้าไปช่องละเส้น เรียงลำดับตามความกว้างของหน้าผ้าจัด เส้นยืนให้อยู่ห่างกนตามความละเอียดของผ้า

–  ตะกอหรือเขา มีลักษณะเป็นกรอบไม้ หรือโครงเหล็ก ภายในทำด้วยลวด หรือซี่โลหะเล็ก ๆ มีรูตรงกลางสำหรับร้อยด้ายยืน ปกติมี 2 ชุด ถ้าเพิ่มตะกอมากขึ้น จะสามารถสลับลายได้มากขึ้น

–  ไม้ไขว้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเส้นด้ายให้เป็นระเบียบ

–  ไม้ค้ำ ไม้ที่ใช้สอดด้ายเส้นยืน เพื่อทำให้เกิดลวดลายในการทอ ด้วยเทคนิคพิเศษ

–  ไม้หาบหูก ใช้ประโยชน์ในการดึงด้ายให้ตึง

–  ไม้ดาบหรือไม้หลาบ มีขนาด 2 – 3 นิ้ว ลักษณะแบนยาว ใช้สอดผ่านด้ายยืน แล้วผลิกขึ้นทำให้เกิดช่องว่างให้กระสวยพุ่งผ่าน

– ไม้แป้นกี่ ที่นั่งของผู้ทอ บางแห่งใช้ไม้แผ่น บางแห่งใช้ไม่ไผ่ สอดด้วยแผ่นไม่ที่ใช้รองนั่ง

–  เชือกเขา ใช้ดึงเขากับไม้หางหูก ให้ตึง

–  แกนม้วนผ้า เป็นแกนที่อยู่ตรงกันข้ามกับแกนม้วนด้ายยืน ใช้ม้วนผ้าที่ทอเสร็จแล้ว

 

ขั้นตอนการผลิต

กิจกรรมสาธิตการย้อมสีผ้าฝ้ายมัดหมี่เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าสินค้า

ขั้นตอนที่ 1 จับกลุ่มเส้นฝ้ายเป็นลำ ลำหนึ่งประกอบด้วยเส้นฝ้าย42-43 คู่ จากนั้นนำลำขึงที่หลักมัดหมี่ 13 หรือ 25 ลำ แล้วแต่ลายผ้า

ขั้นตอนที่ 2 วัดช่องประมาณ 1 นิ้ว เพื่อเตรียมการแต้มดอก

ขั้นตอนที่ 3 แต้มดอกตามแบบ เมื่อแต้มเสร็จแล้วใช้เชือกฟางมัดไว้

ขั้นตอนที่ 4 เมื่อมัดเสร็จแล้วจะทำการต้มเพื่อให้ไขมันจากเส้นฝ้ายสลายออก และเชือกฟางที่มัดไว้ตึง ต้มไว้ 15- 20 นาที

ขั้นตอนที่ 5 ย้อมสีโดยย้อมสีพื้นเป็นลำดับแรกประมาณ 20นาที หลังจากนั้นนำขึ้นไปล้างน้ำเย็น

ขั้นตอนที่ 6 นำถุงพลาสติกมาครอบบริเวณที่ย้อมแล้ว เหลือไว้ประมาณ1 นิ้ว จากนั้นนำไปย้อมสีที่ 2

ขั้นตอนที่ 7 นำไปตากแดดให้แห้ง

ขั้นตอนที่ 8 เมื่อแห้งแล้วนำใส่กระสวยเพื่อเตรียมไว้ทอต่อไป

 

เทคนิค/ เคล็ดลับในการผลิต

การมัดหมี่ เป็นเทคนิคการมัดเส้นพุ่งหรือเส้นยืนให้เป็นลวดลายด้วยเชือกกล้วยหรือเชือก ฟางก่อนนำไปย้อมสี แล้วกรอด้ายให้เรียงตามลวดลาย ร้อยใส่เชือกแล้วนำมาทอ จะได้ลายมัดหมี่ที่เป็นทางกว้างของผ้า เรียกว่า มัดหมี่ เส้นพุ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมในบ้านเรา

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: