กระเป๋าเสื่อกก
กระเป๋าเสื่อกก จังหวัดมหาสารคาม
ประวัติความเป็นมา
การทอเสื่อกก เกิดขึ้นประมาณ 60 ปีแล้ว ส่วนใหญ่ทอเสื่อเพื่อใช้สอยในครัวเรือนสำหรับแลกเปลี่ยนกับสิ่งของเครื่องใช้ภายในครัวเรือนกันเองในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงโดยเริ่มต้นทอกกสามเหลี่ยม (ต้นผือ)ต่อมาพระที่วัดได้นำพันธุ์กกกระจูด ( ต้นไหล ) มาจากจังหวัดร้อยเอ็ดมาทดลองปลูกที่ริมบึงแพง ผลปรากฏว่าเป็นพืชที่ปลูกได้ผลดี เจริญเติบโตเร็ว จึงมีราษฏรในเขตหมู่บ้านแพงนำมาปลูกซึ่งต้นกกกระจูดมีคุณสมบัติที่เหนียว เมื่อทอเป็นผืนใช้งานได้ดี มีความคงทนถาวรมากกว่าการทอจากต้นกกสามเหลี่ยม( ต้นผือ ) ต่อมามีการจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพทอเสื่อกกขึ้น ปี 2546 โดยมีนางสัมฤทธิ์ ชาญศึก เป็นประธานกลุ่ม ในปี 2547 สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโกสุมพิสัย ได้มาฝึกทำกระเป๋าจากกก และได้ทำควบคู่กับเสื่อกกลายมัดหมี่ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเสื่อกก จากเสื่อกกราคาผืนละ 150 บาท เมื่อนำมาแปรรูปเป็นกระเป๋า จะทำกระเป๋าได้อย่างน้อย 3 ใบ ราคาใบละอย่างต่ำ 300 บาท และขายได้สูงสุดใบละ 1,000 บาท
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1. เสื่อกกลายมัดหมี่
2. กระดาษแข็งทำแบบ
3. ซิป
4. กาวเคมี
5. ดินสอ
6. ผ้าคอตตอน
7. ไม้บรรทัด
ขั้นตอนการผลิต
ขั้นตอนที่ 1 เลือกเสื่อกกลายที่ต้องการทำกระเป๋า
ขั้นตอนที่ 2 นำมาตัดแบบ
ขั้นตอนที่ 3 นำแบบมาทาบกับเสื่อกก ทากาวทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้กาวแข็งตัว
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
วิธีที่เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกกนั้น ควรเก็บไว้ในห้องที่เก็บควรไม่มีอากาศชื้น เมื่อขึ้นราควรเช็ดและขัด แล้วผึ่งแดดให้แห้ง ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปแล้วควรมีถุงพลาสติกห่อหุ้มเพื่อไม่ให้อากาศเข้า
ใส่ความเห็น
Comments 0