ดอกไม้ประดิษฐ์/งานปั้นจากดินไทยและญี่ปุ่น
ดอกไม้ประดิษฐ์/งานปั้นจากดินไทยและญี่ปุ่น จังหวัดปทุมธานี
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากดอกไม้ประดิษฐ์
ผลิตภัณฑ์งานปั้นจากดินไทยและญี่ปุ่น
ปัจจุบันนี้ศิลปะไทยกำลังเป็นที่สนใจ และยอมรับกันอย่างกว้างขวางในระดับสากล เอกลักษณ์ที่เป็นจุดเด่นคือ ความวิจิตร งดงาม ดูอ่อนช้อย สวยงามสะดุดตากว่าศิลปะของหลายชาติ ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรมภาพสีตามฝาผนังวัด ประติมากรรมปูนปั้นตามโบราณสถาน และงานแกะสลักไม้ตามประตูประตูโบสถ์ งานเครื่องปั้นดินเผา งานปั้นตุ๊กตาชาววัง
ศิลปกรรมเหล่านี้ล้วนถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยภูมิปัญญาของบรรพบุรุษผสมผสานกับความละเอียดอ่อนตามลักษณะนิสัยแบบไทยๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญต่อการสืบสาน และถ่ายทอดศิลปะไทยให้คงอยู่มาจนถึงวันนี้
ศิลปะการปั้นดินไทยก็เช่นเดียว ได้ถูกยึดเป็นหลักของงานศิลปประยุกต์ และได้พัฒนาจากศิลปะด้านอื่นจากหลายแขนง เพื่อสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่า มีความสวยงาม อ่อนช้อย เหมือนจริงตามธรรมชาติ
ตุ๊กตาชาววังเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งบอกถึงความมีวัฒนธรรมของคนไทย บ่งบอกถึงภูมิปัญญาของคนไทย จากก้อนดินเหนียวท้องนาสีขุ่นมัว ขุดขึ้นมาปั้นแต่งระบายสีให้เป็นตุ๊กตาที่มีใบหน้าคมงาม ท่วงท่าลีลาอ่อนช้อย สวมใส่เสื้อผ้าสวยประณีตด้วยปลายพู่กัน บ่งบอกถึงคุณค่าแห่งศิลปวัฒนธรรมไทย หลากหลายเรื่องราวอันมีที่มาแต่โบราณกาล
จุดเริ่มต้นของดินที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เริ่มมาจากประเทศในทวีปยุโรป(ไม่แน่ว่าประเทศไหน เพราะไม่มีการบันทึกไว้) แต่เริ่มที่ยุโรปสักประมาณ 50-60 ปีที่ผ่านมา (ค.ศ.1940-1950) จะเอาแป้งที่เหลือใช้ เอามาปั้นเป็นสิ่งของต่างๆ เช่น ตุ๊กตา ตัวสัตว์ และดอกไม้ จากนั้นก็ได้มีการคิดพัฒนามาเรื่อยๆ ก็ปรับปรุงสูตรมากันมาเรื่อยๆ ตามลำดับ
ต่อมาเมื่อประมาณสักปี ค.ศ.1970 หรือประมาณ 30 ปีที่แล้ว เกิดมีชาวญี่ปุ่นเห็นชาวยุโรปปั้นเป็นรูปร่างต่างๆ ก็กลับมาคิดพัฒนา เป็นแป้งปั้นของญี่ปุ่นบ้าง ที่เรียกว่า เคลย์(Clay) ส่วนยี่ห้อที่เรารู้กันดีก็คือ ดิน LUNA CLAY หลังจากนั้น ดินญี่ปุ่นก็เริ่มเข้ามาในประเทศไทย ประมาณปี พ.ศ.2530 เกิดการนำดินญี่ปุ่นมาปั้นเป็นดอกไม้ เป็นตุ๊กตา โดยผู้สอนเป็นชาวญี่ปุ่น ในตอนนั้นมีคนไทยสนใจเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังไม่แพร่หลาย ทำกันเฉพาะกลุ่ม โดยส่วนจะเป็นการทำเพื่อเป็นอดิเรกมากกว่า ไม่ได้ทำเพื่อจำหน่าย
สำหรับคนไทยที่รักเรื่องงานฝีมือก็คิด สูตรดินไทยโดยแป้งข้าวเหนียวผสมกับกาวมาปั้นเป็นดอกไม้บ้าง เป็นรูปสัตว์ ฯลฯ หรือบางกลุ่มใช้ดินสอพองมาผสมกับกาวขึ้นมาและปั้นงานมากมาย แต่สูตรดินเหล่านี้ยัง ไม่ได้พัฒนา จึงมีข้อเสียมากมาย เช่น งานออกมาแข็งกระด้างไม้สวยงาม เปราะและแตกหักง่าย เป็นเชื้อราบ้าง เป็นอาหารของแมลงสาปและหนู ก็เกิดจากแป้งเหมือนในทุกๆประเทศที่เริ่มคิดสูตร
สำหรับงานประดิษฐ์ของ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านชมฟ้า ” ก็เป็นอีกผลงานหนึ่ง ได้นำดินไทยและดินญี่ปุ่นมาสร้างสรรค์เพื่อเสนอผลงานที่เสมือนจริงตามธรรมชาติ ทั้งสีสันและรูปแบบที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งผลงานบางชนิดยังไม่มีใครสามารถทำได้ ก็สามารถนำออกมาให้ผู้ที่สนใจได้ชมกัน อย่างเช่น ต้นขนุน ดอกสาละ ฯลฯ
นอกจากงานประดิษฐ์ต้นไม้และดอกไม้เป็นงานที่ใช้ตกแต่งบ้าน ร้านค้า บริษัท ฯลฯ อีกสิ่งหนึ่งที่ได้คือการมีส่วนร่วมกันช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่ง สามารถใช้ทดแทนของจริงจากแหล่งธรรมชาติ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่แสวงหามาไว้ประดับบ้าน
ลักษณะที่โดดเด่นของงานประดิษฐ์ของดินไทย คือ สามารถนำดินไทยมาประดิษฐ์ได้เหมือนธรรมชาติมากที่สุด อีกทั้งการออกแบบที่ไม่เหมือนใคร สร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์
วัตถุดิบที่ใช้
1. ดินไทย
2. กาวใส หรือ กาว TOA
3. ครีมบำรุงผิวยี่ห้อพอนด์
4. สีนำมัน
5. ลวด
6. ฟรอร่าเทป
7. กระถางใส่ต้นไม้
อุปกรณ์และเครื่องมือ
- เครื่องรีดดิน
- เหล็กตุ้มคลึงชนิดปลายกลม
- คีมหลายลักษณะ
- เหล็กแหลมสำหรับคลึงกลีบดอกและใบ
- พิมพ์ตัดดอกและใบ
- พิมพ์กดลายดอกและใบ
- .ปืนยิงกาว
- พู่กันทาสี
ขั้นตอนในการทำ
1. เตรียมดิน /สีน้ำมัน
2. ผสมสีน้ำน้ำมันลงในดินที่เตรียมไว้ นวดดินและสีให้เข้ากัน
3. รีดดินที่ผสมสีเรียบร้อยแล้วให้เป็นแผ่นบางๆ โดยใช้เครื่องรีด
4. ขึ้นรูปกลีบดอกและใบโดยใช้ แม่พิมพ์
5. ทำลวดลายบนกลีบดอกและใบโดยใช้แม่พิมพ์กด
6. ผึ่งชิ้นงานให้แห้ง
7. คลึงกลีบดอกและใบให้บางลงโดยใช้ เข็มคลึงงาน
8. ประกอบดอกและลำต้น
9. ใส่ลงกระถาง
10. บรรจุลงกล่อง
เทคนิคการเพ้นท์สี หรือการระบายสี จะต้องรู้ถึงระบายสี การไล่เฉดสีให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติจริง ซึ่งจุดนี้สำคัญมากสำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับดอกไม้ประดิษฐ์ ถ้าระบายสีเลอะเทอะชิ้นงานก็ออกมาไม่สวย
เทคนิคการนวดดินและผสมสีก็เป็นเคล็ดลับสำหรับมืออาชีพ ซึ่งถ้าเป็นมือใหม่ไม่รู้เทคนิคก็จะผลิตงานออกมาไม่สวยสำหับการผสมสี บางครั้งสีบางตัวไม่มีในท้องตลาด จึงต้องรู้เทคนิคการผสมสีเพื่อให้ได้งานที่สวยงาม อีกทั้งเมื่องานเสร็จแล้วต้องนำมา
ใส่ความเห็น
Comments 0