เครื่องหิน


              วัสดุธรรมชาติอีกชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านนำมาทำหัตถกรรมก็คือ หิน ซึ่งมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น หินแกรนิตและหินทราย ซึ่งมีสีต่างๆ คือ สีเทา สีเหลือง  และสีน้ำตาล หินแกรนิตนั้นเป็นหินที่มีคุณภาพดี ได้มาจากภูเขาในจังหวัดตากและจังหวัดเลย หินทรายได้มาจากจังหวัดนครราชสีมา ชาวบ้านจะนำหินมาแกะสลักเพื่อนำมาใช้ประโยชน์หลายประการด้วยกัน เช่น ทำเกี๊ยบ สำหรับประดับตกแต่งฮวงซุ้ยหรือที่ฝังศพ รูปสิงโตนั่งซึ่งส่วนมากใช้ประดับไว้ตรงประตูทางเข้าไป ในโบสถ์หรือวิหารต่างๆ ครกและโม่สำหรับตำและบดอาหาร ลูกนิมิตและใบเสมา ซึ่งใช้สำหรับปักเขตพระอุโบสถในวัดหรือใช้สำหรับกำหนดเขตวัดหรือที่ของสงฆ์ ลูกนิมิตนั้นมีลักษณะกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 60 เซนติเมตร ใช้ฝังอยู่ใต้ฐานเสมาโดยรอบ เข้าใจว่าจะเป็นประเพณีทำมาแต่สมัยอยุธยาตอนปลายลงมา (พ.ศ. 2300) การใช้หินมาทำใบเสมานั้น ก็เพราะมีความคงทนกว่าไม้ ซึ่งผุพังได้ง่าย ส่วนเหล็กและทองแดงนั้นเป็นวัสดุที่มีค่าอาจถูกนำไปหลอมเป็นอย่างอื่นได้ หินที่นิยมใช้ทำกันคือ หินชนวน หินอ่อน และหินทรายขาว ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ใช้หินครกและหินที่ส่งมาจากเมืองจีน ใบเสมาของแต่ละสมัยจะมีขนาดไม่เหมือนกัน ความสำคัญพิเศษของใบเสมาก็คือ ลวดลายที่จำหลักลงไป ซึ่งแสดงถึงความคิดและรสนิยมของคนในแต่ละสมัย
           การแกะสลักหินนั้นจะเริ่มต้นด้วยการสลักหินจากภูเขาตามขนาดที่ต้องการ จะไม่ใช้วิธีระเบิด เพราะจะทำให้หินแตกร้าว นำมาแกะสลักไม่ได้ ต่อจากนั้นจะแต่งผิวหน้าให้เป็นรูปทรงตามต้องการด้วยการสับแต่ง ซึ่งมีอยู่ 2  ขั้นด้วยกันคือ สับหยาบและสับละเอียด แล้วจึงจะแต่งผิวหุ่น ในกรณีที่ต้องการลวดลายเพิ่มเติมจึงจะลอกลายลงไปในหน้าหินแล้วสกัดด้วยเครื่องมือ ซึ่งมีลักษณะปลายแบนเหมือนขวาน เป็นลวดลายต่อไป สำหรับลูกนิมิตนั้น หุ่นเดิมเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือทรงกลม แต่ยังไม่ดีพอต้องนำมาทำให้กลมขึ้นอีก ช่างแกะสลักหินหัดใหม่นิยมหัดจากการทำลูกนิมิตก่อน ซึ่งต้องใช้เวลาฝึกฝนประมาณ 8 เดือน ถึง 1 ปี เมื่อมีฝีมือดีขึ้นแล้วจึงจะสามารถแกะสลักงานที่มีลวดลายละเอียดได้

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: