เครื่องถม

           ถม กระบวนการอย่างหนึ่งในวิชาช่างของไทยที่ใช้เพื่อสร้างความสวยสะดุดตา ให้กับภาชนะเงินหรือทอง การถมคือการทับหรือถมรอย โดยมีหัวใจสำคัญเป็นน้ำยาถมที่ผสมผสานกันระหว่าง เงิน ทองแดง ตะกั่ว และกำมะถัน เมื่อหลอมละลายรวมกันเป็นแท่งถมสีดำ นำมาละเลงบนลวดลายแกะสลักไม่ว่าจะเป็นภาชนะหรือ เครื่องประดับ เราเรียกสิ่งของนั้นว่า เครื่องถม

             นับเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน เครื่องถมเป็นที่รู้จักกันในฐานะศิลปาชีพชั้นสูงที่เก่าแก่สีดำสนิทของน้ำยา ถมที่ซึมแทรกอยู่บนร่องริ้วอันอ่อนช้อยงดงามของลวดลายไทย ส่งให้ภาชนะเนื้อเงินเนื้อทองดูโดดเด่นสูงค่าขึ้น ยิ่งนัก ความวิจิตรบรรจงที่ยากจะหาศิลปกรรมใดเสมอเหมือนทำให้เครื่องถมเป็นหัตถศิลป์ชิ้นเอกอีกชิ้นหนึ่งที่ ควรคู่กับการดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทยให้คงอยู่สืบไปนานเท่านาน
          แม้ปัจจุบันยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ว่าเครื่องถมของไทยได้รับอิทธิพลหรือความรู้มาจากที่ใด หากแต่ในประวิติศาสตร์ของไทยพบว่าเครื่องถมมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ดังปรากฎเป็นหลักฐานในกฎ มนเทียรบาลที่ตราขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถว่า “ขุนนางศักดินา ๑๐, ๐๐๐ กินเมือง กินเจียดเงิน ถมยาดำรองตะลุ่ม” ซึ่งแสดงว่าคนไทยในสมัยนั้นทำเครื่องถมใช้กันแล้ว จนมีกฎให้ใช้เป็นเครื่องยศของขุนนาง ชั้นสูง และตามพระราชพงศาวดารก็ได้กล่าวถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงส่งเครื่องบรรณาการ ถวายพระ เจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งประเทศฝรั่งเศส เป็นเครื่องถมลายอรหันต์ นอกจากนั้นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ยังได้ส่ง บรรณาการกางเขนถม ซึ่งเป็นฝีมือช่างชาวนครศรีธรรมราชถวายต่อสันตปาปา ณ กรุงโรมอีกด้วย
          ช่างถมที่ถือกันว่าฝีมือดีที่สุดคือช่างถมเมืองนครศรีธรรมราช เราจึงมักได้ยินชื่อเสียงของเครื่องถมใน นาม ถมนคร ด้วยชาวนครเป็นผู้ที่มีพรสวรรค์และจินตนาการในด้ารการผลิตเครื่องถมจนมีชื่อลือเลื่องไปทั่งเมือง ไทย ขณะนั้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงทรงโปรดรับสั่งให้ช่างถมที่มีฝีมือดีเข้าไปถวายงานประจำในเมือง หลวง เครื่องถมทั้งหลายที่เป็นเครื่องราชูปโภครวมถึงของใช้ชั้นสูงจึงล้วนมาจากฝีมือช่างเมืองนครทั้งสิ้น หลัง จากนั้นประวัติของเครื่องถมก็เริ่มเลือนลาง จนในสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตน โกสินทร์ ได้มีการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและหัตถกรรมของไทยเครื่องถมจึงกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง และมีการถ่าย ทอดกันเรื่อยมาจนถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ก็ทรงพระราชทานเครื่องถมแด่แขกบ้านแขก เมืองของพระองค์เช่นกัน
          เมื่อเวลาผ่านไปช่างเก่าแก่ต่างก็ค่อย ๆ ล้มหายตายจาก ที่ฝีมือดีก็เหลือน้อยลงไปทุกที ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ พระรัตนธัธมุนีเจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงได้จัดตั้งโรงเรียนช่างถมขึ้น เพื่ออนุรักษ์ ศิลปหัตถกรรมแขนงนี้ไว้ โดยนำช่างฝีมือดีที่มีชีวิตอยู่มาเป็นครูสอน ในระยะเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัย ศิลปหัตถกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดสอนสาขาวิชาเครื่องถมมาจนถึงทุกวันนี้
          เครื่องถมที่ถูกถ่ายทอดมาจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง เป็นพลังสำคัญที่เสริมให้หัตถศิลป์ชิ้นเอกยังคงเป็นศิลป กรรมที่ทรงคุณค่าอยู่มาจนชนรุ่นหลังได้เห็นและรู้จัก กว่าช่างหนึ่งคนจะเสกสรรปั้นแต่งเครื่องถมให้มีลักษณะดัง กล่าวต้องใช้ความปราณีตในการแกะสลักลวดลาย และความชำนาญในการถมน้ำยา ซึ่งน้ำยาถมที่ดีนั้นต้องติด แน่นกับเนื้องานที่แกะสลัก พื้นดำจากสีของน้ำยาถมตามความนิยมทั่วไปต้องไม่มีตามดคือผิวเรียบเนียนไม่มีรู พรุน
          เครื่องถมแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท ถมดำหรือถมเงิน ถมตะทอง และถมทอง ถมดำหรือถมเงินเป็นถม ที่เก่าแก่ที่สุด มีลวดลายเป็นสีขาวหรือสีของเนื้อเงิน ถมตะทองเป็นคำเรียกของช่างถมตะทอง ในที่นี้หมายถึงวิธี การระบายทองหรือแต้มทองเป็นแห่ง ๆ บนลวดลายที่ต้องการ ไม่ระบายหมดเช่นถมทองที่ผิวภาชนะเนื้อเงิน เปลี่ยนเป็นสีทองแทนทั้งหมด
          กรรมวิธีในการผลิตเครื่องถมนั้นต้องอาศัยความละเอียดอ่อนและความพยายามเป็นอย่างมาก ดังนั้นช่าง ที่ดีจึงต้องมีลักษณะพิเศษในตัวเอง คือนอกจากจะมีพรสวรรค์แล้ว ยังต้องเป็นคนอารมณ์เย็น และใจสู้ จึงจะ สามารถจับเครื่องมือแต่ละชิ้นขึ้นมาสร้างสรรค์เป็นลวดลายบนเครื่องถมได้ ช่างทำเครื่องถมที่ดีโบราณท่านว่า ควรมีความเป็นสหช่าง คือมีช่างสาขาต่าง ๆ รวมอยู่อย่างน้อย ๓ สาขา ซึ่งประกอบไปด้วย ช่างขึ้นรูป ช่างแขนงนี้ มาจากช่างเงิน ช่างทอง ที่จะทำรูปทรงภาชนะหรือเครื่องประดับต่าง ๆ ให้ได้สัดส่วน ช่างแกะสลัก คือผู้บรรจง สลักเสลา ลวดลายให้อ่อนช้อยงดงามตามแบบนิยม และช่างถม ซึ่งเป็นช่างที่ต้องใช้ความชำนาญในการผสมและ ลงยาถมบนพื้นที่ซึ่งแกะสลักลวดลายไว้แล้ว
          เมื่อช่างพร้อม อุปกรณ์เครื่องมือทุกอย่างพร้อม การออกแบบจึงเป็นขั้นตอนแรกของการทำเครื่องถมเงิน ถมทอง โดยช่างจะกำหนดขนาดและรูปทรง ตลอดจนลวดลายต่าง ๆ ที่จะทำ จากนั้นนำเนื้อเงินบริสุทธิ์มาผสมกับ ทองแดงเพื่อให้เนื้อเงินมีความยืดหยุ่นเมื่อได้รับความร้อน เทลงบนรางรองรับปล่อยทิ้งไว้จนโลหะเย็นตัว หาก ผสมเนื้อเงินกับทองแดงไม่ได้สัดส่วนอาจทำให้รูปทรงเสียง่ายเวลาตีขึ้นรูปหรือเมื่อถูกกระทบกระแทก เพราะ ฉะนั้นช่างถมจึงต้องผสมให้ได้เนื้อเงิน ๙๕ เปอร์เซ็น ซึ่งการผสมจะตรงตามหลักหรือไม่อย่างไรนั้นไม่มีสูตรผสม ที่ตายตัว ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับฝีมือและความชำนาญในการผสมของช่างแต่ละคน

           เมื่อได้แท่งเงินบริสุทธิ์ช่างขึ้นรูปจะเริ่มตีแผ่ขึ้นรูปตามแบบและขนาดที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งขณะตีแผ่อยู่นั้น ช่างจะต้องตีสลับไปกับการให้ความร้อน เนื้อโลหะจะได้อ่อนตัวลงไม่แตกง่าย ประการสำคัญเมื่อเนื้อเงินอ่อนตัว ลง การตีแผ่ขึ้นรูปจะง่ายโดยที่ช่างไม่ต้องเสียพลังแรงกายไปมากกว่าที่ควรเลย ช่างขึ้นรูปที่มีฝีมือดีจะต้องรู้จักใช้ เครื่องมือขึ้นรูปทุกชนิดและใช้ให้เป็น เพราะหากไม่รู้จักจังหวะหรือน้ำหนักของเครื่องมือแต่ละชิ้นอาจทำให้รูป ทรงของภาชนะหรือเครื่องประดับผิดเพี้ยนไปได้

           ช่างแกะสลักคือผู้สานต่อชิ้นงาน เนื่องด้วยภาชนะยังมีลักษณะเกลี้ยงเกลาไม่สวยงาม การเพิ่มลวดลายลง ไปจะทำให้ภาชนะเหล่านั้นดูสวยโดดเด่นขึ้นมาได้ โดยช่างจะเริ่มเขียนแบบลอกลายลงบนผิวภาชนะ หากเป็นช่าง โบราณที่มีฝีมือดีและชำนาญจะใช้วิธีการเขียนสด คือเขียนลายได้โดยไม่ต้องดูแบบหรือลอกลาย สำหรับลายที่ นิยมกันมาก ได้แก่ ลายไทย ลายใบเทศหรือใบพุฒตาล เป็นต้น ความสัมพันธ์กลมกลืนของลายที่เขียนควรสอด คล้องกับรูปแบบของภาชนะเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพื่อความสวยงาม เมื่อเขียนลายเสร็จช่างจะเริ่มใช้สิ่วแกะสลักไปตาม ลวดลายที่เขียนไว้
          เอกลักษณ์อีกประการหนึ่งของเครื่องถมไทย คือ เมื่อแกะสลักลายแล้ว ผิวด้านในภาชนะจะมองเห็นเป็น รอยร่องของเครื่องมือที่ใช้แกะสลัก ดูช่างเป็นศิลปะที่น่าชื่นชมยิ่งนัก ดังนั้นในการสลักลายน้ำหนักมือในการตอก สิ่วจึงควรสม่ำเสมอ เพราะหากหนักมือเกินไปอาจทำให้รอยสลักเป็นร่องลึกหรืออาจทะลุได้ ซึ่งถ้าเกิดกรณีเช่นนี้ จะถือว่าเสียแล้วเสียเลยไม่สามารถนำภาชนะนั้นมาทำต่อได้ความละเอียดรอบคอบและสมาธิขจึงเป็นสิ่งสำคัญใน การแกะสลักลวดลายภาชนะที่สลักลายเสร็จแล้ว จะนำไปแช่น้ำกรด เนื่องด้วยคุณสมบัติของน้ำกรดจะกัดสิ่ง สกปรกที่ติดผิวภาชนะอยู่ออกให้หมด จากนั้นนำมาขัดด้วยแปรงทองเหลืองอีกครั้งก่อนจะนำไปลงยาถม
          ขั้นตอนสำคัญต่อไปที่จะขาดเสียมิได้ในกระบวนการผลิตเครื่องถมก็คือการลงยาถม แท่งยาถมสีดำที่ เป็นส่วนผสมของเงิน ทองแดง ตะกั่วและกำมะถัน เมื่อได้รับความร้อนสูงจะละลายไหลอาบไปทั้วทุกร่องลึกของ ลวดลายที่ได้สลักไว้บนภาชนะ เกลี่ยน้ำยาถมให้เสมอกันทุกส่วน ทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นช่างจะใช้ตะไบถูหรือขัดยา ถมที่ติดผิวภาชนะที่ไม่ต้องการออกให้หมด แล้วจึงนำไปขัดกระดาษทรายหยาบ ละเอียด ตามลำดับจนเห็นลวด ลายเด่นชัดขึ้นมา
          เมื่อขัดผิวเครื่องถมเรียบร้อยแล้ว ภาชนะบางชิ้นอาจมีรูปทรงที่บิดเบี้ยวไป ทั้งนี้เพราะการโดนความ ร้อนบ่อยครั้งและเป็นเวลานาน อาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลง ช่างจะต้องทำการปรับแต่งรูบทรงให้คงเดิม จากนั้น จะถึงกระบวนการสำคัญอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนสุดยอดของไทยที่ไม่มีศิลปะชาติใดเสมอเหมือน อาจ เรียกได้ว่าเป็นปราการด่านสุดท้ายของศิลปะไทยที่ช่างทุกคนต้องคำนึงถึงและให้ความใส่ใจเป็นพิเศษนั่นคือการ เพลาลาย วิธีการนี้ช่างจะต้องแต่งลวดลายที่กระด้างให้ดูพลิ้วไหวมีชีวิตชีวา โดยใช้สิ่วแกะรายละเอียดส่วนต่าง ๆ ของลวดลายให้ปรากฏชัดขึ้น
          ช่างจะนำเครื่องถมที่สำเร็จทุกกระบวนการแล้วมาทำความสะอาด ขัดแต่งให้ดูมันเงาด้วยน้ำเปล่าผสม ลูกประคำดีควาย ใช้ลูกปัดที่เรียงร้อยกันเป็นเส้นยาว ๆ ขัดถูตัวภาชนะและเช็ดภาชนะที่ขัดเงาแล้วด้วยผ้านุ่ม เป็น อันเสร็จการผลิตเครื่องถมหนึ่งชิ้น
          ถมตะทองและถมทองใช้กรรมวิธีการผลิตเดียวกัน หากแต่มีความแตกต่างกันบ้างในบางขั้นตอน ถมตะ ทองต้องใช้ทองคำละลายผสมในน้ำปรอทหรือน้ำประสานทองก่อน จากนั้นนำภาชนะที่ต้องการทาทองมาล้าง ด้วยน้ำมะนาวเพื่อขจัดใขมันหรือฝ้าต่าง ๆ บนผิวภาชนะเงินให้หมดไป เพราะหากมีฝ้าหรือไขมันติดอยู่เนื้อทอง จะจับผิวเงินไม่สนิท นำน้ำทองมาแต้มตามจุดต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดสีทอง การแต้มหรือระบายทองลงบนเครื่อง ถมดำนี้เป็นการเน้นลวดลายให้เห็นเด่นชัดขึ้น เครื่องถมตะทองจึงเป็นภาชนะอีกชิ้นหนึ่งที่นิยมและหายากมากใน สมัยกรุงศรีอยุธยา
          สำหรับเครื่องถมทองใช้น้ำประสานทองผสมทองคำเช่นเดียวกับเครื่องถมตะทองหากแต่การระบายผิด กัน ถมทองจะใช้น้ำทองเขียนทับลงบนเส้นเงินให้ทั่ว เมื่อใช้ความร้อนไล่น้ำประสานทองออกไป ทองจะติดแน่น อยู่บนภาชนะที่เขียนด้วยน้ำทอง ลวดลายกระจ่างชัดเจน ความสว่างไสวของทองคำที่ส่องประกายยิ่งเป็นสิ่งสำคัญ ในการเพิ่มคุณค่าให้กับเครื่องถมชนิดนี้ได้เป็น อย่างดี

            ปัจจุบันผู้คนเริ่มหันมาสนใจและสะสมเครื่องถมเก่าอันเป็นศิลปกรรมของชาติกันมากขึ้น ซึ่งขัดกันกับ ช่างทำเครื่องถมที่นับวันจะสูญสิ้นไป สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของ งานหัตถศิลป์ชิ้นนี้ จึงทรงโปรดให้ครูช่างถมจากเมืองนครศรีธรรมราชมาทำการสอนวิชาเครื่องถมแก่นักเรียนใน ศูนย์ศิลปาชีพพิเศษศูนย์จิตรลดา ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณครั้งนี้นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมงานเครื่อง ถมแล้ว ยังทำให้คนทั่วไปได้รู้จักและรับรู้ว่าคนไทยมีอารยธรรมที่แสนงดงามเป็นของตัวเอง สิ่งนี้เป็นเสมือนแรง บันดาลใจให้ช่างถมของไทยมีพลังสร้างสรรค์ผลงานอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้คงอยู่คู่แผ่นดินสยามสืบไป

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: