ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของ “ของที่ระลึก” นั้น เป็นสิ่งที่ยากแก่การสืบค้นหาหลักฐาน ทั้งนี้เนื่องจากการให้วัตถุสิ่งของในลักษณะของที่ระลึกจริงๆ นั้น มิได้มีบันทึกหรือหลักฐานใดๆ ที่กล่าวไว้ดดยตรง แต่ถ้าจะกำหนดเพื่อยึดจากพฤติกรรมการประดิษฐ์สร้างสรรค์ของมนุษย์ โดยถือเอาสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์สร้างขึ้นมานั้นเป็น “ของ” และพฤติกรรมการให้ การเผื่อแผ่แบ่งปัน เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้รับเกิด “การระลึก นึกถึง หรือคิดถึง” ผู้ให้แล้วก็พอที่จะสันนิษฐานสรุปกล่าวได้ว่า “ของที่ระลึกนั้นมีการมอบให้แก่กันมานับตั้งแต่มนุษย์พวกแรกที่เกิดขึ้นมาบนโลกแล้ว” และสิ่งของหรือวัตถุที่ให้แก่กันนั้นย่อมก่อให้เกิดความพึงพอใจร่วมกันในระหว่างผุ้ให้กับผู้รับ อันอาจนับเป็น “วัตถุแห่งความยินดี ” ที่นำไปสู่ความคิดถึงหรือนึกถึงต่อกัน หากกำหนดยึดพฤติกรรมการให้ในสิ่งหรือของแก่กัน โดยถือสิ่งของนั้นเป้นของที่จะนำมาซึ่งการระลึกถึงดังนี้ ก็พอจะกำหนดลำดับรูปแบบของของที่ระลึกได้ดังต่อไปนี้
สิ่งที่หรือวัตถุที่มอบให้แก่กันในช่วงแรกสุด น่าจะเป้นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิต นั้นคือ “อาหาร” อันได้แก่ เนื้อสัตว์ที่ได้มาจากการล่า เพราะมนุษย์ในยุคชุมชนบุพกาลแรกเริ่มสุด มีสภาพความเป็นอยู่คล้ายสัตว์ ดำรงชีวิตอยู่ในยุคน้ำแข็ง ซึ่งมีบรรยากาศอันหนาวเย็น อาศัยอยู่ตามถ้ำ ยังชีพด้วยการล่าสัตว์ การออกล่าสัตว์ร่วมกัน และแบ่งปันกันหลังจากที่ล่าได้ ในอัตตราส่วนที่เพียงพอแก่การบริโภค ที่เหลือก็นำไปเผื่อแผ่แก่พวกพ้อง หรือผุ้ใกล้ชิด ก่อให้เกิดความพึงพอใจ และสร้างความยินดีแก่ผู้รับ สิ่งที่ให้อาจจัดอยู่ในลักษณะ “ของขวัญ” หรือ “ของกำนัล” และผลพลอยได้จ่ากการล่าสัตว์เป้นอาหาร ส่วนต่างๆ ของสัตว์ มนุษย์ได้นำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยทำเครื่องนุ่งห่ม กระดูก เขี้ยว เล็บ งา เขา ก็นำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้ไม้สอย เครื่องประดับและอื่นๆ เช่น เก้าอี้โยกทำจากเขาวัว หัวควายป่าเป็นเครื่องประดับ เป็นต้น นอกจากสิ่งที่จะพึงให้แก่กันนอกจากอาหารแล้ว ก็น่าจะอยู่ในลักษณะของเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับและวัตถุทางศิลปะที่เกิดขึ้นโดยการเอาสิ่งที่ได้จากธรรมชาติมาใช้ เช่น หิน เปลือกหอย กระดูก ไม้ น้ำเต้า ฯลฯ ครั้นต่อมาเมื่อมนุษย์มีพัฒนาการทางด้านความเป็นอยู่ และวิวัฒนาการทางด้านสังคมมากขึ้น สิ่งที่ประดิษฐ์สร้างสรรค์ได้พัฒนามากขึ้น รูปแบบเพิ่มมากขึ้น เช่น มีการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทอเครื่องนุ่งห่ม ทำภาชนะดินเผา สร้างสิ่งสัญลักษณ์และศิลปะวัตถุ เหล่านี้คือสิ่งที่กล่าวได้ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสิ่งที่จะมอบให้แก่กันอีกระดับหนึ่ง คือแทนที่จะใช้สิ่งธรรมชาติดังตอนต้นๆ ก็มีการสร้างสิ่งใหม่ขึ้น เช่น เครื่องนุ่งห่มที่เกิดจากการทอ ภาชนะเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น และที่สำคัญคือ มีระบบการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้น เป็นการนำเอาผลผลิตของกลุ่มแรงงานที่ต่างกันมาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เช่น พวกเพาะปลูก นำผลผลิตของตนมาแลกกับพวกล่าสัตว์ เป็นต้น ระบบการแลกเปลี่ยนเป็นผลสืบเนื่องมาจาก การที่ชุมชนขยายมากขึ้น กระทั่งมีการแบ่งกลุ่มแรงงานเพื่อพัฒนาผลผลิตแต่ละประเภทของตน ระบบการแลกเปลี่ยนนอกจากจะกระทำกันภายในชุมชนเดียวกันแล้ว ยังมีการแลกเปลี่ยนกับสังคมวงนอก ทำให้เกิดการพัฒนามาเป้นการค้าขายกันในที่สุด ซึ่งเมื่อเกิดระบบการแลกเปลี่ยนและค้าขายแล้ว การรับอิทธิพลทางด้านรูปแบบผลผลิตจากกันและกัน ก็ทำให้รูปแบบผลผลิตการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา รวมทั้งการพัฒนาค้นพบวัสดุที่จะนำมาใช้ในการสร้างสิ่งต่างๆ อีกมากมายจนถึงปัจจุบัน
การพิจารณาตีความรูปลักษณะของที่ระลึกโดยกำหนดสันนิษฐานว่า “อาหาร เครื่องนุ่งห่ม เครื่องมือเครื่องใช้” อันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต เป้นรูปลักษณะของของที่ระลึกในยุคแรกๆ ตามที่ลำดับแสดงมา โดยพิจารณาจากพฤติกรรมการให้หรือแบ่งปันเป็นเกณฑ์ แต่ถ้ามองกันที่จุดประสงค์ของการสร้างและการนำไปใช้แล้ว อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องมือเครื่องใช้ ก็อาจไม่ใช่ของที่ระลึก ทั้งนี้เพราะอาหารเป็นเครื่องยังชีพ การแบ่งปันกันก็เพื่อกิน เมื่อกินหมดแล้วก็ไม่มีอนุสรณ์ใดให้ระลึกถึง ส่วนเครื่องมือเครื่องใช้ก็เป็นเครื่องช่วยแก่การยังชีพซึ่งการมองในแง่มุมนี้ก็กล่าวได้ว่า สิ่งที่ถูกสร้างมาด้วยจุดประสงค์อื่นที่มิใช้เป็นเครื่องเน้นย้ำ หรือกระตุ้นเตือนความทรงจำ สิ่งนั้นไม่ใช่ของที่ระลึก แต่ในทางกลับกันหากพิจารณาดูที่จุดประสงค์ของการให้ และจุดมุ่งหมายของการรับ ก็อาจนับเอาสิ่งใดที่ถูกสร้างด้วยจุดประสงค์ใดก็ได้ เข้าอยู่ในลักษณะของของที่ระลึกได้ เช่น การสร้างอาวุธขึ้นเพื่อใช้ในการล่าสัตว์ แต่ผู้ให้ต้องการให้ไว้เพื่อเป็นเครื่องเตือนความจำ ผุ้รับก็นำไปประดับไว้ในที่อาศัย อาวุธดังกล่าวก็นับได้ว่าเป็นของที่ระลึก และเมื่อเกิดระบบแลกเปลี่ยนซื้อขายขึ้น ก็ยิ่งเป้นการยากที่จะชี้ชัดลงไปได้ว่า ของที่แลกเปลี่ยนซื้อขายชิ้นใด ลักษณะใด ประเภทใด เป็นของที่ระลึกหรือไม่ใช่ของที่ระลึก เพราะถ้าดูลักษณะระบบ จุดมุ่งหมายคือการ “แลกเปลี่ยน” และการ “ซื้อขาย” ส่วนในทางกลับกัน หากวัตถุหรือสิ่งของที่สร้างขึ้น เพื่อขาย แลกเปลี่ยนเป็นของที่ระลึก หรือจุดประสงค์ของการซื้อหรือแลกเปลี่ยนเพื่อนำไปเป็นของที่ระลึก สิ่งนั้นก็เป็นของที่ระลึกได้
ทำนองของที่ระลึกอาจแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้ แต่ของที่แลกเปลี่ยนซื้อขายไม่จำเป็นจำต้องเป็นของที่ระลึกเสมอไป ดังนั้น การมองวัตถุสิ่งของใดว่าเป็นของที่ระลึกหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขประกอบหลายประการ ทั้งจุดประสงค์ของผู้สร้างหรือจุดประสงค์ของการสร้างสิ่งๆ นั้น จุดมุ่งหมายของผู้นำไปให้ ผู้นำไปขายหรือนำไปแลกเปลี่ยน รูปลักษณะของวัตถุสิ่งของนั้นๆ กับความรู้สึกนึกคิดหรือจิตเจตนาของผุ้รับ ผุ้ซื้อ หรือผู้แลกเปลี่ยน ซึ่งเงื่อนไขประกอบทั้งสามส่วนนี้บางทีก็ไม่สอดคล้องกันก็มี ดังนั้น การพิจารณายอมรับว่าวัตถุหรือสิ่งของใด เป็นของที่ระลึกหรือไม่ ก็สุดแล้วแต่ใครจะพิจารณาด้วยเหตุผลบนจุดยืนใด ซึ่งบางทีก็ไม่สามารถตัดสินด้วยคำว่า “ผิด” หรือ “ถูก” ได้
ถ้าไม่มีการจำกัดของเขตการร่วมกันพิจารณามาก่อน คำตอบที่ออกมาจะได้เพียง “เห็นด้วย” หรือ “ไม่เห็นด้วย” เท่านั้น
ใส่ความเห็น
Comments 0