คุณค่าของของที่ระลึก

มีคุณลักษณะที่อาจสังเกตได้ดังนี้

1. เป็นวัสดุท้องถิ่น ลักษณะเด่นของของที่ระลึกที่นับว่ามีความสำคัญอย่างหนึ่งคือ เรื่องวัสดุที่นำมาใช้ผลิต อาจจะเป็นเพราะความจำเป็นและเพื่อความสะดวก ทำให้ชาวบ้านต้องใช้วัสดุต่างๆ ที่มีอยู่โดยรอบตัวตามธรรมชาติ โดยปกติตามท้องถิ่นต่างๆ ก็มีวัสดุจำนวนมากมายตามธรรมชาติให้เลือกใช้วัสดุนั้น มีทั้งคุณภาพดีและเลว และในบางท้องถิ่นก็จะมีวัสดุบางอย่างที่ดีเป็นพิเศษกว่าท้องถิ่นอื่นด้วยเหตุนี้จึงพบว่าสิ่งของอย่างเดียวกันคุณภาพอาจจะแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น บางท้องถิ่นมีชื่อเสีงมากเป็นพิเศษ เพราะตั้งอยู่ในแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีและบางท้องถิ่นอาจจะไม่มีผลิตเลย เนื่องจากขาดวัสดุชนิดนั้น แต่กลับไปมีวัสดุชนิดอื่น จึงได้ผลิตงานออกมาต่างแบบกันออกไป กล่าวอีกอย่างหนึ่งวัสดุในท้องถิ่นเป็นตัวกำหนดรูปแบบ วิธีการและชนิดศิลปกรรมพื้นบ้าน เพราะโดยทั่วไปศิลปกรรมพื้นบ้านจะแตกต่างกันไปตามถิ่นกำเนิด เอกลักษณ์ของของที่ระลึกจึงมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวเป็นไปตามถิ่นกำเนิด แม้จะเป็นของสิ่งเดียวกัน เช่น เครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักรสาน ในแต่ละภาคจะมีรูปลักษณะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดในด้านลวดลาย รูปทรง สิ่งของเครื่องใช้บางอย่างก็เป็นของเฉพาะถิ่นทำขึ้นเท่านั้น เช่น

– ภาคเหนือทำเครื่องเขิน ทำร่ม การทำกระดาษสา การปักผ้า การแกะสลัก

– ภาคใต้ทำเครื่องถม การจักรสานด้วยย่านลิเภา

– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำแคน ทอผ้าไหมมัดหมี่ การทอผ้าขิด ปั้นเครื่องปั้นดินเผาที่ยังไม่เคลืบ – ภาคกลางทำกระถาง โอ่งมังกร มีออรัญญิก บาตรพระ หล่อพระ หม่อตาล ภาชนะดินเผา เป็นต้น

ศิลปะเหล่านี้ ท้องถิ่นอื่นไม่มีทำหรือถ้ามีก็มีน้อยและไม่มีชื่อเสีงเท่า ทั้งนี้เนื่องจากวัสดุที่นำมาผลิตในท้องถิ่นนั้นมีจำนวนมาก คุณภาพดี สะดวกหาง่ายและราคาถูก เช่นการทำร่มด้วยกระดาษสา เป็นของพื้นบ้านที่ขึ้นชื่อของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพื้นที่และภูมิอากาศเหมาะแก่การปลูกต้นหม่อนสำหรับการเลี้ยงไหมและเครื่องปั้นดินเผาที่ด่านเกวียน จ. นครราชสีมา ก็เช่นเดียวกัน พื้นที่แถบนั้นมีดินที่เหมาะแก่การนำมาปั้นเครื่องใช้ เครื่องประดับ เครื่องจักรสานที่สานด้วยย่านลิเภาในภาคใต้ก็เช่นเดียวกัน ย่านลิเภาเป้นพืชที่ชอบอากาศชื้นและฝนตกชุก เป้นพืชที่งอกงามดีในภาคใต้เท่านั้น ชาวบ้านภาคใต้โดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช  จึงได้นำมาใช้ประโยชน์โดยการผูกมัดของ ต่อมาก็นำจักรสานทำเป้นเครื่องใช้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นตะกร้า กระบุง กระเป๋า หมวก ฯลฯ สำหรับในภาคกลางชาวบ้านได้ใช้วัสดุในท้องถิ่นผลิตงานศิลปะพื้นบ้านหรือของพื้นบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรสาน การปั้นโอ่งและกระถางลายมังกร หม้อตาล ภาชนะดินเผา นับได้ว่าวัดุในท้องถิ่นเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่สำคัญอย่างยิ่ง

 

2. ไม่รู้มากในกฎเกณฑ์ ไม่ว่าจะเป้นทางความรู้ทางศิลปะมาเป้นการช่วยให้ชาวบ้านกล้าแสดงออก  คือ แสดงความต้องการแท้ๆ ออกมาอย่างเปิดเผย แสดงอุปนิสัยใจคออันแท้จริงของผู้กระทำ และมาจากสังคมวัฒนะรรมที่ไม่มีในตำราเรียนของตนมาแต่กำเนิด หากชาวบ้านใช้ประสบการณ์การสังเกตุเป็นครูสอนแล้วแก้ไขให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ดังนั้นชาวบ้านจะทำสิ่งนั้นๆ ออกมาตามความรู้สึกนึกคิดอย่างง่ายๆ และถือเป็นการสืบทอดตามธรรมชาติ

 

3. มีความสวยงาม เมื่อสร้างสรรค์งานสิ่งใดย่อมต้องการทำให้งานชิ้นนั้นมีความเรียบร้อย มีความน่าดู มีความสวยงามเท่าที่จะทำได้อย่างชาวบ้านตามที่ทุกอย่างจะอำนวย เป้นที่รู้กันว่าชาวบ้านผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้นมีข้อจำกัดอยุ่หลายอย่าง เช่น  เรื่องวัสดุเครื่องมือ อุปกรณ์ ความรู้ ทุนรอน สิ่งสนับสนุน ประโยชนืใช้สอย สภาพแวดล้อมและปัจจัยอื่นซิ่งเป้นเรื่องจำเป็นบังคับที่ต้องให้ศิลปินชาวบ้านสร้างผลงานต่างๆ ขึ้น โดยไม่ได้คำนึงถึงความสวยงาม ไม่คำนึงนึงประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ แต่ทว่างานที่สร้างสรรค์ออกมาก็มีความสวยงามอย่างไม่ได้ตั้งใจแฝงอยู่ในตัวเอง ที่เป็นดังนี้เพราะว่าช่างศิลปะชาวบ้านมีสุนทรียภาพสูง เป็นผู้รักสวยรักงาม รักความเป้นระเบียบเรียบร้อยภายในจิตใจ

 

4. มีราคาถูก นอกจากมุ่งที่ความจำเป็นและประโยชน์ใช้สอยแล้ว ยังต้องมีราคาถูกพอที่จะทำให้ผู้คนสามารถซื้อใช้ได้ด้วย ของที่ระลึกราคาถูกนั้นไม่ได้หมายความว่าด้อยคุณค่า แต่เป็นไปตามลักษณะสภาพชีวิตที่เรียบง่าย เป็นไปตามความสะดวก วัตถุดิบหาง่ายราคาต่ำ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: