ของที่ระลึกกับบุคคลผู้ออกแบบ

นับตั้งแต่อดีต  ของที่ระลึกถูกออกแบบและสร้างสรรค์ขึ้นโดยบุคคลเป็นจำนวนมาก  ซึ่งบุคคลผู้เกี่ยวข้องเหล่านั้นได้ออกแบบสร้างสรรค์ขึ้นด้วยพฤติกรรม  สาเหตุและจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน  จากพฤติกรรมจากการออกแบบสร้างสรรค์  เราอาจกำหนดแบ่งบุคคลผู้ออกแบบเหล่านั้นได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. บุคคลผู้ออกแบบสมัครเล่น  จัดว่าเป็นบุคคลกลุ่มใหญ่ที่มีอยู่โดยทั่วไป  ลักษณะพฤติกรรมการสร้างสรรค์ผลงานเป็นการสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการเป็นครั้งคราว  ไมได้มุ่งหวังไปถึงการสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อจัดจำหน่ายหรือยึดถือเป็นอาชีพหลัก  ส่วนใหญ่อาศัยเวลาว่างประดิษฐ์ดัดแปลง  สร้างสรรค์ผลงานขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้กับบุคคลผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น
  2. นักออกแบบประเภทช่างฝีมือ  ช่างฝีมือส่วนหนึ่งพัฒนามาจากนักออกแบบสมัครเล่นที่มีทักษะและความชำนาญ  และอีกส่วนหนึ่งมาจากการฝึกฝนทางด้านการฝีมือโดยตรง  ของที่ระลึกเดิมที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันนั้นส่วนมากมาจากช่างฝีมือ  ซึ่งต่างก็คิดประดิษฐ์ทำกันขึ้นมาเอง  โดยคิดหรือเห็นว่าแบบไหนสวยก็ลงมือทำขึ้นมาชขาย  ไม่ได้มีการคิดในเรื่องทฤษฎีหรือเหตุผลอื่นๆ ดังนั้นรูปแบบของที่ระลึกที่ถูกสร้างขึ้นโดยช่างฝีมือมักจะเป็นงานหัตถกรรมที่มีรูปแบบที่เคยทำอย่างไรก็ทำกันตลอด  ไม่ค่อยมีการประดิษฐ์คิดค้นหาแบบใหม่ๆ ออกมา  เป็นแบบธรรมดาที่มีอยู่ทั่วไปตามท้องตลาด  ที่เป็นเช่นนี้ผู้ผลิตไม่รู้ถึงความสำคัญของการออกแบบด้วยขาดการศึกษาอบรม  ขาดความชำนาญที่จะดัดแปลงสิ่งใหม่ๆ  ทั้งยังขาดการศึกษาค้นคว้าในตลาด  และไม่คำนึงถึงรสนิยมของประชาชนทั่วๆ ไป
  3. นักออกแบบประเภทศิลปิน  ศิลปินมักจะออกแบบสร้างสรรค์ผลงานในลักษณะศิลปะบริสุทธิ์  โดยไม่ได้มุ่งหมายที่จะขายเพราะผลผลิตนั้นเป็นเครื่องมือในการแสดงออกส่วนตัว (self-expression) มากกว่าผลิตสร้างขึ้นเพื่อการมุ่งขายแลกเปลี่ยน  ดังนั้นผุ้ใดจะซื้อหรือไม่  งานนั้นจะนำใช้ประโยชน์ได้อย่างไรหรือไม่นั้น  ศิลปินย่อมจะไม่คำนึงถึง  เพราะออกแบบสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อนำความพึงพอใจและความสุขสู่ตนมาเป็นประการสำคัญ  ดังนั้น  งานของที่ระลึกประเภทงานศิลปกรรมจึงมักไม่ค่อยมีปรากฏในท้องตลาด  ถ้ามีผลงานนั้นๆ ก็อาจมีราคาที่แพง
  4. นักออกแบบอุตสาหกรรม  นักออกแบบประเภทนี้เป็นบุคคลที่สามารถออกแบบอย่างสร้างสรรค์  สร้างสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของผุ้บริโภคส่วนมากได้  โดยดำเนินขั้นตอนอยู่ในกระบวนการผลิตระบบอุตสาหกรรม  มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุใหม่ๆ ฯลฯ  ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างสรรค์งานที่ยาก  เพราะนักออกแบบไม่ได้ลงมือทำผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง  งานการผลิตเป็นเรื่องของบุคคลอื่นที่อาจจะอยู่ห่างกัน  ซึ่งนักออกแบบจะต้องรู้ปัญหาในเรื่องการผลิตอันเป็นขีดจำกัดของเครื่องจักร  หรือผู้ผลิตมีความรู้ความสามารถแค่ไหน  สามารถรับช่วงนำแบบไปผลิตสร้างเป็นรูปร่างขึ้นได้ตามที่ออกแบบเพียงใด  เครื่องมือเครื่องจักรสามารถทำงานได้ละเอียดมากน้อยแค่ไหน  เป็นต้น  ซึ่งการเป้นนักออกแบบอุตสาหกรรมมิใช่เป็นกันได้ง่ายๆ  ช่างฝีมืออาศัยทักษะและความชำนาญก็อาจสามารถเป็นช่างฝีมือได้โดยไม่ยาก  ศิลปินมักจะอาศัยความสามารถในการสร้างสรรค์  ที่เป้นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดให้ปรากฏเป็นรูปทรงอย่างวิจิตรสวยงามได้  เป้นบันไดก้าวขึ้นสู่ความเป็นศิลปิน  แต่การเป็นนักออกแบบอุตสาหกรรมนอกจากจะต้องรู้และเข้าใจในงานช่างฝีมือ  และลักษณะสุนทรีย์อันเป็นอารมณ์ละเอียดอ่อนของศิลปินแล้ว  ยังต้องรู้เทคโนโลยีการผลิต  จิตวิทยาเกี่ยวกับผู้บริโภคหรือลูกค้า  รู้ด้านการตลาด  รู้ด้านพาณิชยศิลป์ ฯลฯ และที่สำคัญคือรู้รับผิดชอบต่อแบบของตน  ที่อาจบันดาลให้ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวกับโรงงานและร้านค้า  เกี่ยวกับนักออกแบบอุตสาหกรรม  นายเจมส์ เอฟ วอร์เรน  ผู้เชี่ยจวชาญด้านการออกแบบและการตลาด  ได้ให้แนวคิดที่จะช่วยในการดำเนินงานให้เป็นไปได้ด้วยดี  โดยแบ่งออกเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
    1. การผลิต  ก่อนที่โรงงานจะรับแบบเพื่อทำการผลิตจะต้องคำนึงว่าผลิตภัณฑ์นี้จะขายได้จำนวนมากหรือไม่  และจะผลิตสินค้าชนิดนี้ในราคาต่ำพอสมควรได้หรือไม่
    2. วัตถุดิบ  วัตถุดิบชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะมาจากสัตว์หรือพืช  หรือสินแร่  ต่างก็มีคุณภาพแตกต่างกันออกไป  เมื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการผลิต  วัตถุดิบบางชนิด  เช่น เหล็กมีความแข็งแรงมาก  ดินเปียกมีความอ่อนนุ่มมาก  เงินทำเป็นแผ่นบางๆ และแบนได้  ไม้ไผ่เป็นเสี้ยนไปตามทางยาวเดียวกัน  โลหะบางชนิดมีการยืดและหดตัว  ทำให้ติดกันได้โดยความร้อนหรือการบัดกรี  วัตถุบางชนิดเช่น  เงิน  อาจทำให้รูปร่างละเอียดประณีตได้  ดินเหนียวต้องการรูปร่างที่ห้อหุ้มเข้าด้วยกันเพื่อป้องกันการแตกง่าย  แก้วมีความสะท้อนแสงและแตกง่าย  ดังนั้น  นักออกแบบอุตสาหกรรมจะต้องมีความคุ้นเคยกับวัตถุต่างๆ ซึ่งกำลังทำการออกแบบโดยการทดลองทำด้วยตนเอง  และทำแบบจำลองหรือผลิตภัณฑ์ตัวอย่างด้วยตนเองทุกชิ้น  นักออกแบบจึงจะเข้าใจกับปัญหาต่างๆ ของผู้ผลิต
    3. กรรมวิธีการผลิต  ตามปกติโรงงานทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นโรงงานใหญ่หรือเล็ก  จะต้องมีเครื่องผ่อนแรงที่ใช้ในการผลิต  อุปกรณ์เหล่านี้มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับวัตถุดิบที่จะใช้ในการผลิต เช่น  กี่ทอผ้า  สิ่วแกะไม้ แป้นหมุนสำหรับใช้ในการทำเครื่องปั้นดินเผา  เหล็กจารใช้สำหรับตกแต่งเครื่องเงินและเครื่องมืออื่นๆ ที่ใช้สำหรับจับยึดวัตถุดิบ  หรือเคลื่อนย้ายในขณะที่ทำการผลิต  เครื่องมือเหล่านี้ต่างมีหน้าที่จำกัดในการใช้งาน  ซึ่งเป็นหน้าที่ของนักออกแบบที่จะต้องเข้าใจและนำมาคิดเมื่อเวลาออกแบบด้วย  ดรงงานก้มีความจำกัดในการดำเนินงานเช่นเดียวกัน  อาจไม่มีเครื่องมือหรือเครื่องจักรที่จะทำงานละเอียดได้  นักออกแบบจึงจำเป้นต้องคิดค้นหาทางออกที่แน่นอนว่า  จะต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์อะไรบ้าง  แบบที่ออกแบบไปจึงจะประสบความสำเร็จได้  และเมื่อทำการออกแบบในทุกๆ มุมของผลิตภัณฑ์  นักออกแบบก็ควรจะถามตัวเองเสียก่อนว่า  แน่ใจแล้วหรือว่าส่วนนั้น ส่วนนี้ของแบบกระทำขึ้นได้  หรือส่วนนี้ของแบบจะต่อส่วนกันได้สนิท  หรือส่วนนี้จะตกแต่งขั้นสุดท้ายอย่างไร
    4. งานฝีมือในโรงงานทุกแห่ง  งานของพวกคนงานเป็นส่วนหนึ่งของการผลิต  และหากว่างานนั้นเป็นไปในรูปที่คนงานลงมือด้วยมือของตนเอง  งานเหล่านั้นก็คือ  การทำแทนมือของนักออกแบบนั่นเอง  ดังนั้น  นักออกแบบอุตสาหกรรมจำเป้นต้องรู้ถึงฝีมือของคนงานเหล่านั้นว่ามีเพียงใด  แล้วออกแบบให้ง่ายขึ้น  ทำให้คนงานสามารถทำให้เสร็จได้ในเวลาอันควรและได้งานที่สวยงามด้วย  ดังนั้นนักออกแบบทุกคนจึงต้องคำนึงถึงเวลาที่ทำการผลิตงานนั้นๆ ด้วย
    5. การบรรจุหีบห่อ  หากนักออกแบบผลิตภัณฑืจะเป็นผู้ออกแบบหีบห่อด้วยก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งคือ  ช่วยให้นักออกแบบใช้สีหรือวัตถุ  จะทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นมีความยั่ยยุต่อสายตาของผุ้ซื้อได้  เมื่อต้องการขายผลิตภัณฑ์นั้นที่ร้าน
    6. แบบโฆษณา  แบบที่ใช้โฆษณาต่างๆ นั้นโดยทั่วไปเป็นหน้าที่ของผู้ทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ  แต่ในบางกรณีนักออกแบบอุตสาหกรรมก็อาจจำเป็นที่จะต้องทำงานประเภทนี้ด้วย  ซึ่งสามารถที่จะช่วยในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น
    7. การตกแต่งหน้าร้าน  นักออกแบบอุตสาหกรรมต้องมีความสามารถ  ที่จะช่วยในการตกแต่งหน้าร้าน  ตู้โชว์สินค้าภายในร้าน  หรือในงานแสดงสินค้าต่างๆ เพราะนักออกแบบย่อมมีความรู้ด้านผลิตภัณฑ์เหล่านั้นอย่างใกล้ชิด  สามารถทำงานด้านนี้ดีกว่าบุคคลอื่น
    8. การค้นคว้าเกี่ยวกับตลาด  ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบไปแล้วกำลังทำการขายอยู่นั้น  นักออกแบบอุตสาหกรรมจะต้องทำการศึกษาต่อไป  ในด้านความเป็นไปของกิจการ  ในตลาดของผลิตภัณฑ์นั้นๆ  โดยสืบถามผู้ขายและผู้ซื้อว่าผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นดีหรือไม่  เพียงใด  เพื่อจะได้นำข้อมูลเหล่านั้นมาพิจารณาแก้ไขในครั้งต่อไป
    9. ลูกค้า  ปัญหาที่สำคัญของการผลิตผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันนี้ก็คือ  ผลิตภัณฑ์นั้นขายไม่ออกหรือไม่เป็นที่พอใจของลูกค้า  ดังนั้นนักออกแบบผลิตภัณฑ์จะต้องพยายามออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นๆ ให้เหมาะสมกับกาลเทศะและสิ่งแวดล้อม
    10. ความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์  ผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งๆ จะต้องมีความแข็งแรงให้สมกับราคาที่จะต้องเสียไปเมื่อซื้อหามา  นักออกแบบจะต้องคิดอย่างลึกซึ้งถึงการที่จะถูกนำเอาไปใช้สอย  วิธีการในการใช้วัตถุดิบและการออกแบบในเรื่องรอยต่อหรือมุมต่างๆ ซึ่งก้มีส่วนช่วยให้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ คงถาวร
    11. การบำรุงรักษา  บางครั้งผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งอาจจะมีความสวยงามและเป็นที่ถูกใจของผุ้ใช้  แต่เมื่อใช้ไปในระยะเวลาหนึ่ง  สีอาจเริ่มมัวซัว  มีลักษณะอันบ่งบอกถึงระยะเวลา  อาจเป็นที่ไม่พอใจของผู้ใช้ต่อไป  ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาจะต้องได้รับการออกแบบให้สะดวกในการทำความสะอาด  ไม่ควรมีซอกมุมอะไรมากนัก  ส่วนที่ต้องการความเคลื่อนไหว  เช่น  ที่ฝากล่อง  หรือที่เป็นแป้นหมุน  จะต้องออกแบบให้ใช้ได้สะดวก  ไม่สะดุด  ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาที่สีหมองหรือมัวซัวไปหรือความหมองมัวเกิดขึ้น
    12. ประโยชน์ใช้สอย  การออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น  ผุ้ออกแบบจำเป้นต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่ใช้ในชีวิตเป็นสำคัญ  ผลิตภัณฑ์บางชนิดเช่น  เครื่องประดับของสตรี  ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้และทะนุถนอม  และผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดก็ย่อมถูกออกแบบด้วยความมุ่งหมายที่จะใช้ประโยชน์ต่างๆ ตลอดไป  เช่น  กาน้ำชา  ใช้สำหรับใส่น้ำชาและรินออก  เก้าอี้จะต้องทำให้นั่งสบาย  แจกันจะต้องใช้ใส่ดอกไม้และน้ำโดยไม่ให้รั่วไหลออกมา  ถาดใส่ผลไม้จะต้องให้ใส่ผลไม้ไม่ให้กลิ้งตกลงมาข้างนอกได้ง่ายๆ และที่เขี่ยบุหรี่ก็จะต้องมีที่วางบุหรี่ได้ดี ไม่ให้หล่นลงมาได้โดยง่าย  เป็นต้น  ดังนั้น  นักออกแบบอุตสาหกรรมจึงจำเป็นต้องทำการทดลอง  โดยทำเป็นตัวอย่างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์อย่างหนัก  ลองจับต้องและใช้อย่างจริงจัง  เพื่อความแน่ใจว่าสามารถจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างจริงจังเสียก่อน
    13. ปัญหาเกี่ยวกับความรู้สึกต่างๆ ของผู้บริโภค  ลูกค้าก็เป้นเหมือนนักออกแบบย่อมมีความรู้สึกทางตา หู จมูก  การจับต้อง และรสนิยม  เขาใช้ความรู้สึกเหล่านี้เวลาซื้อและการใช้ผลิตภัณฑ์นักออกแบบจะต้องใช้ความรู้สึกเหล่านี้ในการทำให้ผู้ซื้อพอใจหรือไม่พอใจ  นึกออกแบบที่ชำนาญมักจะรู้สึกมีความผิดเมื่อออกแบบที่แลดูขัดตา  แต่นักออกแบบส่วนมากมักมองข้ามความรู้สึกบางอย่างไปเสมอ  ตัวอย่างที่เรามี  เช่น  เก้าอี้ที่พนักพิงสบาย  โต๊ะที่ต่ำเกินไป  ถ้วยชามที่มีหูแคบล้วนจับไม่ถนัด  โคมไฟที่ให้แสงไม่พอหรือมุมที่คมจนบาดผิวหนัง  สิ่งเหล่านี้นักออกแบบจะป้องกันได้โดยการวิเคราะห์แยกแยะให้ถี่ถ้วนเสียก่อน  และนึกถึงผลิตภัณฑ์ที่เคยออกแบบมาแล้ว  เพื่อนำมาแก้ไขและให้ประโยชน์ในการออกแบบปัจจุบัน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: