หน้ากากผีตาโขน

 ผีตาโขนมีที่มาจากประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ซึ่งเป็นประเพณีมาแต่โบราณของชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งจะจัดขึ้นทุกๆปี ในช่วง เดือนเจ็ด ถึงเดือนแปด (ตามจันทรคติ) เป็นประเพณีที่รวมเอาความเชื่อและศรัทธาของชาวอีสานมารวมกันไว้ คือ งานประเพณีบุญพระเวส (บุญมหาชาติชาวด่านซ้ายเรียกบุญหลวง) บุญบั้งไฟ(ชาวอีสานทั่วไปจะจัดงานบุญพระเวส ในเดือน สี่ และบุญบั้งไฟ ในเดือน หก) ซึ่งในประเพณีดังกล่าวจะมีลักษณะที่แสดงออกถึงความสนุกสนานบรรดาผีตาโขน ที่ตามเสด็จของขบวนแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง ซึ่งบรรดาผู้เข้าร่วมจะสวมหน้ากาก ทำจากหวดนึ่งข้าวและทางมะพร้าวตัดเป็นรูปหน้าและประกอบจมูกยื่นยาว ตัดรูปตาและเขียนลวดลายตามความถนัดของช่างแต่ละคน เพื่อสวมบนศีรษะและผู้ที่สวมหน้ากากจะสวมชุดที่ยาวรุ่มร่าม ขาดรุ่งริ่ง คล้ายผี เพื่อให้เกิดความน่ากลัว แต่ปัจจุบันรูปแบบได้เปลี่ยนแปลงไปบ้าง โดยเน้นที่ลวดลายความสวยงาม สามารถนำไปเก็บหรือประดับตกแต่งได้ (เดิมหน้ากากผีตาโขนเมื่อสวมใส่เสร็จพิธีงานบุญแล้วจะต้องทิ้งลงแม่น้ำเท่านั้น ถ้าผู้ใดเก็บไว้จะมีเหตุที่ไม่ดีเกิดขึ้น) โดยในตำนานที่เล่าขาน คำว่า “ผีตาโขน” มีที่มาจากหลายลักษณะ คือ บางกลุ่มก็บอกว่าผีตาโขน มาจาก คำว่า ผีตามคน(ตามขบวนพระเวสสันดร) และเพี้ยน เป็นผีตาโขน ประเด็นที่ 2 คือผีที่ใส่หน้ากากคล้ายสวมหัวโขน แต่ก็มีบางกลุ่มที่เล่าว่าที่มาของผีตาโขน เดิม เรียก ม้าตาโขน เพราะขบวนที่ตามเสด็จส่งพระเวสสันดร จะขี่ม้าซึ่งตกแต่งลวดลายบนใบหน้า คล้ายการเขียนรูปหน้ากากในปัจจุบัน

Posted on ตุลาคม 2, 2011, in ประเภทสิ่งของที่ระลึก. Bookmark the permalink. ใส่ความเห็น.

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: