ลวดลายที่เชื่อมโยงกับความเชื่อพื้นบ้านของคนไทย

ลวดลายและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในศิลปะผ้าทอไทยนั้นเชื่อกันว่ามีความเชื่อมโยงกับคติความเชื่อของคนไทยที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เราอาจศึกษาเปรียบเทียบลวดลายสัญลักษณ์เหล่านี้กับสัญลักษณ์อย่างเดียวกันที่ปรากฏอยู่ในศิลปะประเภทอื่น ๆ เช่น ในจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และแม้แต่ในตำนานพื้นบ้านที่เล่าขานสืบต่อกันมา หรือในวรรณกรรมต่าง ๆ ลวดลายที่เชื่อมโยงกับความเชื่อพื้นบ้านไทยอย่างเห็นได้ชัด มีดังนี้

ลวดลายพญานาคบนผ้าทอ

สัญลักษณ์งูหรือนาค งูหรือนาคปรากฏอยู่ในลายผ้าพื้นเมืองของคนไทยกลุ่มต่างๆ เกือบทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะในล้านนาและในอีสาน นอกจากนี้ยังพบในศิลปะของกลุ่มคนที่พูดภาษาตระกูลไท ที่อาศัยอยู่นอกดินแดนของไทยในปัจจุบัน เช่น ในสิบสองปันนา ในลาว อีกด้วย

ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง คนไทยและคนลาวต่างมีความเชื่อสืบทอดกันมา เรื่องพญานาค ซึ่งอาศัยอยู่ที่เมืองบาดาลใต้แม่น้ำโขง จนกระทั่ง ทุกวันนี้ผู้คนในแถบนั้นก็ยังเชื่อว่าเวลามีงานบุญประเพณี เช่น งานไหลเรือไฟ พญานาคก็จะขึ้นมาเล่นลูกไฟด้วย ดังที่มีผู้เห็นลูกไฟขึ้น จากลำน้ำในช่วงเทศกาลงานไหลเรือไฟเป็นประจำเกือบทุกปี

ผ้าทอที่มีลายนก

สัญลักษณ์นกหรือห่านหรือหงส์ นกหรือหงส์เป็นสัญลักษณ์สำคัญที่ปรากฏอยู่ในศิลปะผ้าทอพื้นบ้านในภาคเหนือของไทยเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ก็มีปรากฏมากในผ้าทอมือของลาวสิบสองปันนา และในหมู่พวกคนไทในเวียดนามในสถาปัตยกรรมล้านนาและล้านช้างจะพบนกหรือหงส์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประดับอยู่บนหลังคาโบสถ์ คู่กับสัญลักษณ์นาค หรือบางแห่งก็มีแต่หงส์ประดับอยู่ตามจุดต่าง ๆ ในวัดในสิบสองปันนา สัญลักษณ์นกหรือหงส์หรือนกยูง จะปรากฏอยู่ทั่วไปทั้งในจิตรกรรม สถาปัตยกรรม และบนผืนผ้า นกยูงเป็นสัญลักษณ์ที่ รัฐบาลจีนปัจจุบัน ได้นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของยูนาน และได้มีการประดิษฐ์นาฏลีลาสมัยใหม่ซึ่งใช้แสดงเป็นสัญลักษณ์ของชาวไทลื้อในสิบสอบปันนา เรียกว่า ระบำนกยูง


ผ้าทอลายขิด

การทอลายขิด คือ ผ้าที่ทอเก็บแบบขิด หรือเก็บดอก เหมือนผ้าที่มีการปักดอกด้วยฝีมือประณีต ซึ่งชาวอีสานถือว่ากระบวนการทอผ้าพื้นบ้านด้วยกันแล้ว การทอผ้าขิดต้องใช้ความชำนาญ และมีเชิงชั้นด้านฝีมือสูงกว่าการทอผ้าอย่างอื่นเพราะทอยาก การทอผ้าขิดต้องใช้ไม้เก็บขิดเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทอตลอดเวลา ไม้เก็บขิดทำด้วยไม้ไผ่เหลาเล็กๆกลมยาว ขนาดความกว้างของผ้าทอประมาณ2ศอกใช้ไม้เก็บขิดประมาณ 2030 อัน ไม้เก็บขิดจะเป็นสิ่งบังคับให้เกิดลวดลายต่างๆบนเนื้อผ้าซึ่งผู้ทอสอดใส่ไว้ในขณะที่ทอไปก็เก็บไม้ทอขึ้นไปดูคล้ายๆกับการทอเสื่อยกสองข่มสาม ยกสองไล่ไปจนสุดฟืมเรื่อยไป จนกว่าจะเป็นลวดลายขึ้นมา ซึ่งจะมีรูปทรงแบบลาเรขาคณิต ลายทอซ้ำกันตลอดผืนขนาดเล็กใหญ่ตามประโยชน์ใช้สอย ลายขิดต่างๆได้มาจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่ได้พบเห็น และมีความหมายในการใช้งานเช่น ขิดดอกแก้ว ได้มาจากดอกไม้ชนิดหนึ่ง มีกลิ่นหอม เป็นลายที่ใช้สำหรับไหว้ผู้ใหญ่ ขิดแมงเงาได้มาจากแมงมีพิษชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายแมลงป่อง แต่ตัวเล็กกว่าเป็นลายที่ใช้สำหรับรับแขกที่บ้าน ขิดขันกระหย่องได้ลายมาจากขันชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านใช้สำหรับใส่ดอกไม้บูชาพระ ลายนี้เก็บไว้บนแท่นบูชาเดิมทีชาวอีสานถือว่าผ้าขิดเป็นของสูงจึงทอสำหรับทเป็นหมอนขิดเพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือเท่านั้น ต่อมาได้ดัดแปลงให้เป็นประโยชน์ใช้สอยอื่นๆ เช่นเสื้อผ้าเครื่อแต่งกาย ผ้าม่านผ้าคลุมเตียง กระเป๋าถือ ดคมไฟ ซองแว่นตาฯลฯท้องถิ่นที่มีการทอผ้าขิดมีอยู่ทั่วไปในภาคอีสานโดยเฉพาะท้องถิ่นที่มีเชื้อสายภูไทอยู่อาศัยเพราะชาวภูไทมีฝีมือในการทอผ้าขิดมาช้านาน ที่เป็นแหล่งทอผ้าขิดใหญ่ๆ เช่น บ้านนาข่า อำเภอเมือง อุดรธานีบ้านสีฐานอำเภอป่าติ้วยโสธรบ้านหนองเขื่องช้างอำเภอโกสุมพิสัยมหาสารคามบ้านท่าพระอำเภอเมืองขอนแก่นเป็นต้น

ผ้าทอลายยก

การยก เป็นเทคนิคการทอยกลายให้เห็นเด่นชัด มีลักษณะคล้ายกับการทอลายขิด แต่ใช้เส้นพุ่งพิเศษ เช่น ไหม ดิ้นเงิน ดิ้นทอง มีชายมีเชิง ซึ่งขั้นตอนยุ่งยากกว่าผ้าทอลายขิดมาก


ผ้าทอลายจก

การจก เป็นเทคนิคการทอลวดลายบนผืนผ้า ด้วยวิธีการเพิ่มด้ายพุ่งพิเศษเข้าไปขณะที่ทอเป็นช่วง ๆ ไม่ติดต่อกันตลอดหน้ากว้างของผ้ากระทำโดยใช้ไม้หรือขนเม่นหรือนิ้วมือ ยกหรือจกด้วยเส้นยืนขึ้น แล้วสอดเส้นพุ่งพิเศษต่อไปตามจังหวะของลวดลาย สามารถสลับสีได้หลากหลายสี


ผ้าทอลายน้ำไหล

การทอลายน้ำไหล เป็นเทคนิคการทอแบบลายขัดธรรมดา แต่ใช้ด้ายหลากสีพุ่งเกาะเกี่ยวกันเป็นช่วง ๆ ให้เกิดจังหวะของลายน้ำไหล เป็นลักษณะเฉพาะของชาวเมืองน่าน เรียกกรรมวิธีการทอนี้ว่า “ล้วง” แต่ชาวไทลื้อ อำเภอเชียงของ และเชียงคำ จังหวัดเชียงราย เรียกว่า “เกาะ” เทคนิคนี้อาจดัดแปลงพัฒนาเป็นลายอื่น ๆ เรียกว่าลายผักแว่น ลายจรวด ฯลฯ เป็นต้น


ผ้าทอลายยกมุกสลับสี

ผ้าทอลายยกมุก 

การยกมุก เป็นเทคนิคการทอ โดยใช้เส้นยืนพิเศษเพิ่มบนกี่ทอผ้าลายยกบนผ้าเกิดจากการใช้ตะกอลอยยกด้ายยืนพิเศษ ลวดลายที่เกิดจากเทคนิคนี้คล้ายกันมากกับลวดลายที่เกิดจากเทคนิค ขิต จก แทบจะแยกไม่ได้เลยสำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องเทคนิคการทอผ้าที่ลึกซึ้ง ชาวไทยพวนที่ตำบลหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย และที่ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้เทคนิคนี้ในการทอส่วนที่เป็นตัวซิ่น บางครั้งอาจจะนำเชิงซิ่นมาต่อเป็นตีนจกเรียกว่า ซิ่นมุก

Posted on ตุลาคม 2, 2011, in ประเภทสิ่งของที่ระลึก. Bookmark the permalink. ใส่ความเห็น.

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: