ภูมิปัญญากาแฟถ้ำสิงห์

ภูมิปัญญากาแฟถ้ำสิงห์


ประวัติความเป็นมา

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ สถานที่ตั้ง 18หมู่1 ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพรก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2551 โดยคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านถ้ำสิงห์ มี นายนิคม ศิลปศร เป็นประธานกลุ่ม ได้ประชุมปรึกษาหารือกันว่าจะหาวิธีแนวทางใดที่จะสนับสนุนกลุ่มอาชีพให้มีความเข้มแข็ง มีรายได้เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะนำเงินมาชำระหนี้ให้กับกลุ่มหรือสถาบันการเงินอื่นที่สมาชิกเป็นหนี้อยู่ จึงได้ข้อสรุปว่าจะแปรรูปผลผลิตกาแฟ ซึ่งเป็นพืชที่เคยสร้างรายได้ให้กับสมาชิกและเกษตรกรตำบลถ้ำสิงห์เมื่อประมาณ 30 กว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากพื้นที่ดินตำบลถ้ำสิงห์มีความเหมาะสมต่อการปลูกกาแฟ ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภค

วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์ฯจึงได้ทำสัญญากู้เงินกับธนาคารออมสินสาขาปฐมพร จำนวน 1,000,000 บาท มาให้สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฯที่ผ่านการคัดเลือกเป็นสมาชิกนำร่องจำนวน 19 คน กู้เพื่อการลงทุนธุรกิจกาแฟ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ได้คัดเลือกคณะกรรมการสำหรับบริหารกลุ่มกาแฟขึ้นมาใหม่จำนวน 20 คน เพื่อจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน ภายใต้ชื่อว่า วิสาหกิจชุมชนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้าน ถ้ำสิงห์

วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกลุ่มฯได้ทำสัญญากับบริษัทคอฟฟี่ฟาร์มให้ผลิตกาแฟปรุงสำเร็จ ภายใต้ชื่อว่า กาแฟถ้ำสิงห์ 4in1 ผสมดอกคำฝอย วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2551 จำนวน 200 ลัง

วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 คณะกรรมการกลุ่มได้ประชุมวางแผนการดำเนินงานของกลุ่มเพื่อก่อสร้างที่ทำการกลุ่มและซื้อเครื่องคั่ว บด กาแฟ โดยใช้วัตถุดิบกาแฟของสมาชิกและเกษตรกรในท้องถิ่นมาแปรรูป ภายใต้ชื่อว่ากาแฟคั่ว บด ตราถ้ำสิงห์

วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ เพื่อให้ชื่อกลุ่มได้สอดคล้องกับกิจกรรมที่ทำคือแปรรูปผลผลิตกาแฟ และได้ทำพิธีเปิดกลุ่มอย่างเป็นทางการ

วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553 เมื่อกลุ่มพัฒนาถึงจุดที่ผลิต แปรรูป และจำหน่ายที่แน่นอน จึงเริ่มมีการรณรงค์ให้สมาชิกและเกษตรกรทั่วไปปลูกกาแฟเพิ่มขึ้น มีการอบรมให้ความรู้ตามระบบของ GAP ของสำนักงานเกษตร และกรมวิชาการเกษตร ทำให้ปัจจุบันมีเกษตรกรมาสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มเพิ่มขึ้นจำนวน 150 คน พื้นที่ปลูกกาแฟจำนวน 1,500 ไร่ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ตำบลถ้ำสิงห์เป็นพื้นที่ที่มีดินเป็นสีแดงร่วนปนดินเหนียว แร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ สภาพภูมิอากาศมีความเหมาะสมต่อการปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้า เมื่อนำมาผ่านกระบวนการเก็บเกี่ยวอย่างถูกวิธี จึงได้กาแฟที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภค ต่อมาได้มีการรวมกลุ่มกันผลิต แปรรูป และจำหน่าย จึงเป็นการสร้างกลุ่มอาชีพ สร้างโอกาส สร้างรายได้ สร้างชีวิตที่ดีให้กับสมาชิกและคนในชุมชน ประกอบกับกาแฟพันธุ์โรบัสต้า เป็นพืชที่เกษตรกรปลูกกันมากของจังหวัดชุมพร จึงจำเป็นต้องรณรงค์ให้เกษตรกรตำบลถ้ำสิงห์และใกล้เคียง หันกลับมาปลูกกาแฟให้เพิ่มขึ้น ดังคำขวัญที่ว่า “ชุมพรประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

เป็นผลิตภัณฑ์กาแฟพันธุ์โรบัสต้าที่มีอยู่ในท้องถิ่นซึ่งปลูกในพื้นที่ ที่ดินมีแร่ธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ ดินมีลักษณะเป็นดินร่วนปนเหนียวสีแดงเข้ม กาแฟที่ได้จากการเก็บเกี่ยวเมื่อนำมาผ่านกรรมวิธีการสีสดหรือสีระบบเปียกที่มีการคัดแยกเมล็ดกาแฟอย่างพิถีพิถันเมื่อนำเมล็ดกาแฟแห้งมาคั่วจึงได้กาแฟที่มีรสเข้ม หอม เกษตรกรจึงได้รวมกลุ่มกันแล้วนำมาแปรรูปเป็นกาแฟคั่ว กาแฟบด และกาแฟปรุงสำเร็จรูปผสมดอกคำฝอย ภายใต้ชื่อว่ากาแฟถ้ำสิงห์

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. กาแฟ

2. อุปกรณ์การแปรรูปกาแฟ

ขั้นตอนการผลิต

กระบวนการผลิต

1. คัดเลือกแปลงปลูกกาแฟ

2. เก็บผลกาแฟตั้งแค่สีเหลืองเข้มจนถึงสีแดง

3. นำผลกาแฟที่ได้มาลอยน้ำเพื่อแยกเมล็ดเสียออก

4. นำผลกาแฟมาสีสดหรือตากแดดบนลานซีเมนต์โดยมีผ้าหว้ารองรับเพื่อสะดวกต่อการเก็บ

5. ตากผลกาแฟจนแห้งกรอบคือเมื่อกำกาแฟแล้วเมล็ดไม่ติดมือหรือคลอนแล้วฟังเสียง หลวมของเมล็ดใน

6. เก็บเข้ากระสอบเย็บปากให้มิดชิดเก็บในห้องที่มิดชิดเพื่อป้องกันความชื้นจากภายนอกมาสัมผัสเมล็ดกาแฟ

7. เก็บกาแฟไว้นานประมาณ 6 เดือนจึงนำมาสีตามความต้องการ

8. เมื่อสีแล้วนำมาเข้าเครื่องคัดแยกขนาดเมล็ดตามเกรด และสิ่งเจือปนต่างๆออก

9. นำมาบรรจุกระสอบเพื่อรอการคั่วที่โรงงานคั่วกาแฟของถ้ำสิงห์ต่อไป

10. โรงงานคั่วกาแฟถ้ำสิงห์ได้มาตรฐานโรงงานการผลิตจาก อย.

กระบวนการคั่วกาแฟ

1. ชั่งน้ำหนักเมล็ดกาแฟจำนวน 6 กิโลกรัม

2. เทใส่เครื่องคั่วกาแฟที่เตรียมความพร้อมไว้แล้ว

3. คั่วกาแฟด้วยไฟอ่อน-ปานกลางเพื่อไล่ความชื้นในเมล็ดกาแฟ จนความร้อนอยู่ที่อุณหภูมิ 150 องศาเซนเซียส

4. เมล็ดกาแฟจะมีสีเหลือง-สีน้ำตาลแล้วเพิ่มไฟเต็มที่จนความร้อนอยู่ที่อุณหภูมิ 180-200 องศาเซนเซียส

5. เปิดฝาห้องคั่วเพื่อเทเมล็ดกาแฟลงสู่ถังระบายความร้อนเพื่อให้เมล็ดกาแฟเย็นลงเร็วที่สุด

6. เทเมล็ดกาแฟลงสู่ถุงพลาสติค ผูกปากถุงให้แน่นทิ้งไว้ 1 คืนเพื่อให้เมล็ดกาแฟคลายก๊าซในเมล็ดออกมา

7. ชั่งตวงใส่ถุงฟอยด์ตามขนาดที่ลูกค้าต้องการ

8. เมล็ดกาแฟคั่วมีอายุการเก็บ 6-12 เดือน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: