กาแฟพื้นเมืองดอกปราดู่

ภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์กาแฟพื้นเมืองดอกปราดู่

ประวัติความเป็นมา

ในชั่วโมงเช้าตรู่ หากจะเดินหาร้านกาแฟในจังหวัดสตูลเป็นเรื่องไม่ยากเลย บางร้านก็ยังคงรูปแบบเดิมแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เพียงเล็กน้อย แต่บางร้านก็มีพัฒนาการไปจากเดิมเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่ต้องการความหลากหลายและตัวเลือกมากขึ้น ภายหลังวัฒนธรรมสมัยใหม่หลั่งไหลเข้าสู่สังคม มีความเป็นสากลมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังมีชาวบ้านในชุมชนยังนิยมชมชอบรสชาติกาแฟพื้นบ้านแบบโบราณอยู่ไม่เสื่อมคลาย และในปัจจุบันกระแสหวนกลับไปสู่การนำของพื้นบ้านมาประยุกต์มีมากขึ้น ตามกระแสการส่งเสริมสนับสนุนอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นการพึ่งพาตนเองของสังคม

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโคกประดู่ หมู่ที่ 11 ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล โดยมีประธานกลุ่มคือ นางอาหมิน๊ะ ลายงาม มีความคิดที่จะสืบทอดภูมิปัญญาดั้งเดิมนี้ จึงให้นางยาวาเรี๊ยะ หมานเหม ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการสืบทอดความรู้ในการคั่วกาแฟแบบโบราณ มาร่วมกันสืบทอดและอนุรักษ์ภูมิปัญญาอันนี้ไว้ โดยการถ่ายทอดสูตรการทำกาแฟแบบโบราณให้สมาชิกได้เรียนรู้และนำมาดำเนินการเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มออกมาจำหน่ายเพื่อเป็นการเสริมรายได้ให้กับสมาชิกกลุ่ม และได้ระดับ 3 ดาว จากการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ประจำปี 2553

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

ชาวสตูลนิยมดื่มกาแฟกันมานานโดยใช้รับประทานร่วมกับขนมต่างๆ เป็นอาหารเช้า แต่เดิม ชาวบ้านจะปลูกต้นกาแฟเอง มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ครัวเรือนเพื่อใช้ดื่มกินในครอบครัวและหมู่ญาติ ในอดีต แต่ละครัวเรือนมีการคั่วกาแฟเพื่อนำมาชงดื่มเอง มีการตากเมล็ดกาแฟ แล้วนำมาคั่ว ซึ่งขั้นตอนนี้จะมีกลิ่นหอมมากเพราะจะมีกลิ่นของน้ำตาลผสมกาแฟอบอวลไปทั่ว จากนั้นนำมาตำในครกตำข้าว คนสตูลเรียก กาแฟว่า “โกปี้” ว่ากันว่าเสียงน่าจะแผลง มาจากคำว่า “ คอฟฟี่” (coffee) ซึ่งมาจากการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมการติดต่อไปมาหาสู่ของคนในจังหวัดสตูลที่ค้าขายกับเกาะหมาก (เกาะปีนัง) ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษในสมัยนั้น ชาวมาเลเซียพื้นเมือง ออกเสียงคำว่า “คอฟฟี่” เป็น “กูปี้” ซึ่งต่อมามีการเพี้ยนคำกลายเป็น “ โกปี้”

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. เมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิกา

2. น้ำตาลทรายขาว , น้ำตาลทรายแดง

ขั้นตอนการผลิต

1. คัดเลือกเมล็ดกาแฟที่แก่จัดและได้คุณภาพ

2. นำมาล้างทำความสะอาดและตากแดดให้แห้งสนิท

3. นำเมล็ดกาแฟมาคั่วให้สุกจนมีสีน้ำตาลเข้ม

4. นำเมล็ดกาแฟคั่วแล้วมาคลุกเคล้าให้เข้ากันกับน้ำตาลทรายที่เคี่ยวละลายจนแห้งแล้วนำไปผึ่งลมให้แห้งสนิท

5. นำมาบดร่อนให้ละเอียด

6. นำมาบรรจุใส่ขวด/ถุง พร้อมปิดฉลากพร้อมจำหน่าย

เทคนิค/เคล็ดลับการผลิต

การคัดเลือกเมล็ดกาแฟที่แก่จัด และกระบวนการคั่วเมล็ดกาแฟที่ต้องใช้เวลาที่เหมาะสมไม่นานมากเกินไปและไม่เร็วเกินไป รวมทั้งการใช้ส่วนผสมของน้ำตาลที่พอเหมาะในการคั่วให้กาแฟสุกหอมได้ทีมีกลิ่นหอม ซึ่งจะต้องใช้ความชำนาญและความแม่นยำในสูตรส่วนผสม

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: