ภูมิปัญญาแปรรูปลูกจันทน์เทศ

ภูมิปัญญาแปรรูปลูกจันทน์เทศ


ประวัติความเป็นมา

จันทน์เทศ เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย สำหรับประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีการปลูกกันตั้งแต่สมัยใด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะมีการนำต้นจันทน์เทศ มาจากประเทศอินโดนีเซียพร้อม ๆ กับต้นกระวานซึ่งเป็นเครื่องเทศอีกชนิดหนึ่ง โดยนำปลูกครั้งแรกในพื้นที่ส่วนหนึ่งของหมู่ที่ 2 ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านเรียกชื่อบ้านบริเวณนี้ว่า “บ้านสวนจันทน์”

ในปี พ.ศ.2529 มีการจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านรวมตัวกันทำขนมต่าง ๆ จำหน่ายเพื่อหารายได้เสริมให้กับครอบครัวแต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากการทำขนมต้องซื้อวัตถุดิบเกือบทั้งหมด ต้นทุนการผลิตสูง ไม่มีกำไร กิจกรรมกลุ่มหยุดชะงักไประยะหนึ่ง

ต่อมาในปี 2533 นางวันดี อินทนุพัตร ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานกลุ่มคนใหม่ จึงได้คิดหากิจกรรมเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิก โดยกลับมามองกิจกรรมที่มีวัตถุดิบเป็นหลักในหมู่บ้าน ประกอบกับนางวันดี เป็นผู้มีความรู้ในเรื่องการถนอมอาหาร การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรมาก่อน จึงได้ทดลองนำเนื้อของผลจันทน์เทศ ซึ่งไม่เคยมีการใช้ประโยชน์ทางการค้ามาก่อนมาทดลองแปรรูปเป็นจันทน์เส้น ทดลองแบ่งกันกินในหมู่สมาชิก ปรับปรุงและพัฒนาตลอดเวลาจนเป็นที่รู้จักแพร่หลาย จึงนำออกจำหน่ายสู่ตลาดภายนอกชุมชน จนเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่วไป

ปัจจุบันกลุ่มได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น มีทั้งน้ำลูกจันทน์ จันทน์ชิ้น จันทน์แช่อิ่ม จันทน์กวน จันทน์สามรส จันทน์หยี ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เนื่องจากลูกจันทน์เทศรับประทานแล้ว ทำให้ชุ่มคำ ขับเสมหะ ขับลม บำรุงโลหิต แก้ร้อนใน จุกเสียด กระหายน้ำ และรกลูกจันทน์สามารถนำมาเป็นเครื่องเทศแต่งกลิ่นอาหารได้ เช่นใส่แกงคั่ว แกงมัสมั่น แกงกะหรี่ และผลิตผลิตภัณฑ์ลูกจันทน์สามารถส่งขายตลาดทั้งภายในจังหวัด ต่างจังหวัด และประเทศมาเลเซีย

 

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

เนื่องจากตำบลร่อนพิบูลย์ มีการปลูกต้นจันทน์เทศในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 ตำบลร่อนพิบูลย์เท่านั้น ผลิตภัณฑ์จึงไม่ซ้ำกับอำเภออื่น ๆ ในจังหวัด และจากการที่จันทน์เทศมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคด้วย จึงมีผู้นิยมบริโภคทั่วไป ชาวบ้านในหมู่ที่ 2 ตำบลร่อนพิบูลย์ ยืนยันว่าผลจันทน์เทศสดที่ผลิตได้ในพื้นที่มีคุณภาพดีว่าในจังหวัดอื่น กล่าวคือ มีเนื้อหนา กรอบ มีรสเปรี้ยวอมฝาดและเผ็ด เปรียบเทียบกับผลจันทน์สดในจังหวัดอื่นที่มีเนื้อบาง และมีรสขมด้วย เมื่อนำมาแปรรูป จึงให้รสชาติที่อร่อยมากกว่า ประกอบกับมีต้นจันทน์เทศมีโรคและศัตรูพืชน้อย ไม่ต้องใช้สารเคมีในการผลิต ให้ผลผลิต ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี เป็นผลให้มีผลิตภัณฑ์แปรรูปป้อนตลาดต่อเนื่องได้ตลอดเวลา ซึ่งสรุปได้ดังนี้

1. มีความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ มีการปลูกต้นจันทน์เทศเฉพาะพื้นที่ หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 ตำบลร่อนพิบูลย์ ไม่มีการปลูกในตำบลอื่น หรืออำเภออื่น ๆ ในจังหวัด

2. การมีสรรพคุณทางยางรักษาโรค

3. คุณภาพของผลผลิตดีกว่าจังหวัดอื่นที่มีการปลูก ผลจันทน์สดในพื้นที่มีเนื้อหนา กรอบ และไม่มีรสขม เมื่อนำมาแปรรูปทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีสชาดดีกว่า

4. ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน เนื่องจากเป็นพืชที่ไม่มีโรคและศัตรูพืช จึงไม่ต้องใช้สารเคมีในการปลูกและบำรุงรักษา

5. มีผลิตภัณฑ์ส่งจำหน่ายตลอดทั้งปี เนื่องจากจันทน์เทศให้ผลผลิตตลอดปี ทำให้มีวัตถุดิบมาแปรรูปได้ตลอดเวลา

 

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. ลูกจันทน์ 5 กก.

2. น้ำตาลทราย 3 กก.

3. เกลือ ½ กก.

 

ขั้นตอนการผลิต

นำลูกจันทน์มาปอกเปลือกแช่ในน้ำเกลือ 1 – 2 คืน แล้วนำมาหั่นเป็นเส้นเล็ก ๆ ล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำมาคลุกเคล้ากับน้ำตาลแล้วตากแดด 5 – 7 ชั่วโมง คอยคนกับน้ำตาลทุก 15 นาที จนแห้งและกรอบ แล้วบรรจุถุง

เทคนิค/เคล็ดลับการผลิต

เคล็ดลับในการผลิตอยู่ที่การคัดเลือกวัตถุดิบคือผลลูกจัทน์เทศที่ต้องได้คุณภาพคือต้องได้ผลที่แก่ จัดสีผิวเหลืองนวล และการปอกเปลือกที่ผิวจะต้องไม่คล้ำดำเพราะต้องรีบแช่ในน้ำเกลือบริสุทธิ์ทันที

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: