ภูมิปัญญาข้าวกล้องงอก กระดังงา

ภูมิปัญญาข้าวกล้องงอกกระดังงา     

ประวัติความเป็นมา

ในงานเกษตรแฟร์ จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2551 กลุ่มนารีสามัคคีธรรม ได้นำข้าวซ้อมมือของกลุ่มซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 5 ดาว ไปร่วมแสดงและจำหน่าย การนำผลิตภัณฑ์ข้าวซ้อมมือไปร่วมจำหน่ายในครั้งนั้น ประสบภาวะขาดทุน ประมาฯ 10,000 กว่าบาท ในระหว่างการร่วมจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มในงาน มีเจ้าหน้าที่เกษตรของจังหวัดอุบลาชธานี มาเยี่ยมชมร้าน เห็นสภาวะการจำหน่ายของกลุ่ม จึงให้คำแนะนำ ตลอดจนวิธีการ กระบวนการ ทำข้าวกล้องงอกให้กลุ่ม จึงนำแนวทางที่ได้รับกลับมาทดลอง ในปี 2552 โดยคาดว่าจะได้รับการตอบรับที่ดี ได้ทดลอง ลองผิดลองถูกประมาณ 1 ปี เห็นว่าพันธุ์ข้าวกระดังงานำมาแปรรูปเป็นข้าวกล้องงอกดีที่สุด จากประสบการณ์ของกลุ่มของตนเอง ได้นำผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกร่วมออกจำหน่ายในงานที่กระทรวงพาณิชย์จัดแสดงและจำหน่ายสินค้า ปรากฎว่าผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกของกลุ่มได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ในการไปร่วมงานในครั้งนั้นขายได้ประมาณ 1,000 กิโลกรัม และได้มีใบสั่งซื้อสั่งเข้ามาเป็นจำนวนมาก กลุ่มจึงพิจารณาใบสั่งซื้อที่สามารถจะผลิตให้ได้เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายในภายหลัง ในปี 2553 ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 5 ดาว

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

          เป็นข้าวกล้องงอกพันธุ์หอมกระดังงา ซึ่งเป็นข้าวพื้นบ้านมีลักษณะนุ่มหอม เป็นพันธุ์ข้าวเฉพาะท้องถิ่น โดยเฉพาะในพื้นที่ทำนา ของอำเภอตากใบ ในสมัยก่อนๆ ข้าวหอมกระดังงาจะหุงเพื่อถวายพระและชนชั้นสูงบริโภค เท่านั้น

มีคุณค่าทางโภชนาการสูง รับประทานได้ทุกเพศทุกวัยมีสาร GABA ในเมล็ดข้าว มีวิตามินE B1B2 B6 มี FIBER ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ท้องผูก แก้ความอ่อนเพลีย ช่วยให้สมองผ่อนคลาย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ โรคมะเร็งลำไส้ ลดความดันโลหิต ช่วยให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดี ช่วยให้นอนหลับสบาย บำรุงระบบประสาท

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

–                   ข้าวเปลือกพันธุ์กระดังงา

–                   กระด้ง

–                   ตะแกรง

–                   กระสอบข้าวสาร

–                   โอ่ง

–                   เครื่องกะเทาะ

–                   ภาชนะใส่ข้าวกล้องงอก

–                   เครื่องซีนถุง

–                   ถุงบรรจุผลิตภัณฑ์

–                   สติกเกอร์

ขั้นตอนการผลิต

นำข้าวเปลือกพันธุ์กระดังงา แช่น้ำประมาณ 2 วัน นำขึ้นสงให้สะเด็ดน้ำใส่กระสอบพักไว้ 2 วัน ตากแดดประมาณ 3 วัน หรือนานกวานั้น นำมากะเทาะเปลือกคัดแยกกากข้าวสาร และบรรจุถุงเพื่อจำหน่าย

เทคนิค/เคล็ดลับการผลิต

ดูแลความสะอาด ควบคุมคุณภาพ

คัดเลือกเมล็ดข้าวที่สมบูรณ์

ใช้พันธุ์ข้าวหอมกระดังงา 

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: