ภูมิปัญญากล้วยหินฉาบ

ภูมิปัญญากล้วยหินฉาบ

ประวัติความเป็นมา

กล้วยหิน เดิมเป็นพืชเก่าแก่คู่ 2 ฝั่งแม่น้ำปัตตานี โดยเฉพาะในเขตตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา มีกล้วยหินขึ้นหนาแน่นเป็นดง จนคนมักจะเข้าใจว่าเป็นกล้วยป่าที่ งอกขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่มีคุณค่าประโยชน์อันใด แท้ที่จริงแล้วกล้วยหินเป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่น ของอำเภอบันนังสตา เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกกล้วยหินมากผลผลิตมีไม่เพียงพอกับความต้องการ ของตลาด จนทำให้ราคาผลผลิตสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากหวีละ 2 – 3 บาท เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ปัจจุบัน ราคาสูงขึ้นเป็นหวีละ 30-50 บาท

ทั้งนี้เพราะกล้วยหินใช้เป็นอาหารคนและอาหารนก โดยเฉพาะ นกปรอทหรือนกกรงหัวจุก ซึ่งชาวไทยมุสลิมในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส นิยมเลี้ยงนกกันมาก ในส่วนการนำกล้วยหินมาทำเป็นอาหารนั้นทำได้หลากหลาย เช่น นำส่วนที่เป็นแกนของลำต้น หรือที่ เรียกกว่า “หยวกกล้วย” นำมาประกอบอาหารประเภทแกง หรือใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก เช่นเดียวกับหัวปลี นอกจากใช้จิ้มน้ำพริกแล้ว ยังนำมาทำเป็นยำหัวปลี ส่วนผลของกล้วยหินใช้รับประทานสดก็ได้ หรือจะต้ม หรือปิ้งก่อนก็ได้รสชาติหวานหอม กล้วยหินทอดหรือกล้วยหินยังนำมาเชื่อม ฉาบ โดยเฉพาะกล้วยหินฉาบเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปที่รู้จักกันโดยทั่วไป รสชาติกรอบอร่อยกว่ากล้วยอื่น ๆ

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

1. ผลกล้วยหิน มีเปลือกหนา เป็นเหลี่ยม ไม่ค่อยเป็นโรค

2. ผลแก่เก็บไว้ได้นาน 7 – 8 วัน โดยไม่เน่าเสีย

3. ผลการวิจัยสารอาหารในกล้วยหิน พบว่ามีสารเบตา-คาร์โรทีน ในปริมาณสูง

4. การแปรรูปเป็นกล้วยหินฉาบ จะมีรสชาติอร่อย กรอบ

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. กล้วยหินดิบ

2. น้ำมันพืช

3. น้ำตาลทราบ

4. เนย

5. ต้นหอม ผักชี

ขั้นตอนการผลิต

1. นำกล้วยล้างและปอกเปลือก

2. สไลด์ให้เป็นแผ่นบาง ๆ

3. ทอดให้พอสุกพอประมาณ (ห้ามให้กรอบยกเว้นทอดกรอบเค็ม)

4. แช่ในน้ำเชื่อมแล้วทอดให้กรอบ

5. ใส่ถุงและปิดปากถุงให้สนิท

เทคนิค/เคล็ดลับการผลิต

การสไลด์กล้วยแผ่นต้องบางไม่หนาเกินไป น้ำมันที่ทอดต้องพอประมาณ และที่สำคัญ ไฟต้องไม่แรงจนเกินไป จะทำให้กล้วยกรอบ 

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: