ภูมิปัญญาสบู่สมุนไพรบ้านทะเลนอก

ภูมิปัญญาสบู่สมุนไพรบ้านทะเลนอก
  ประวัติความเป็นมา
บ้านทะเลนอกหมู่บ้านดั้งเดิมตั้งอยู่ที่ “บ้านลูกสน” มีบ้านประมาณ 4 หลัง 1. ผู้ใหญ่เหม ชิดเอื้อ 2.โต๊ะโป้น นิ่มนวล 3.โต๊ะเศษเด็น มอหำหมัด 4.โต๊ะดน ภักดี อาชีพดั้งเดิม ทำแร่ ทำกุ้งเคย หาหวายแดง เย็บจาก ทำสวน/ทำนา/ทำไร่ คนสมัยก่อนมีน้ำกินน้ำใช้ โดยการขุดบ่อ เรียกว่า “บ่อต้นเดา” ใช้ตะเกียงน้ำมันก๊าด เป็นแสงสว่าง พ.ศ. 2519 ชาวบ้านได้ย้ายมาอยู่ที่ “บ้านร้าง” ุบางส่วนก็มาอยู่ที่ “บ้านทางพาน” สาเหตุที่ชาวบ้านได้เรียกว่า “บ้านร้าง” เพราะชาวบ้านได้แยกย้ายออกไปอยู่ที่อื่นกันเป็นจำนวนมาก
“บ้านทางพาน” สาเหตุที่ชาวบ้านได้เรียกเพราะจะมีต้นไทรใหญ่ 2 ต้นเชื่อมติดกัน เปรียบเสมือนคนจับมือกัน และมีห้วยน้ำไหลผ่าน ชาวบ้านเลยทำเป็นสะพานข้าม ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อว่า “บ้านทะเลนอก” สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อมาเป็นบ้านทะเลนอก เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างจากหมู่บ้านอื่น ๆ ด้านหน้าเป็นทิศตะวันออก โดยมีภูเขากั้นกลางระหว่างหมู่บ้านอื่น ด้านหลังจะเป็นทิศตะวันตกติกับทะเลอันดามัน ทางด้านคมนาคมในสมัยก่อนชาวบ้านได้ใช้เส้นทางป่าเป็นทางสัญจรได้มี 4 ทาง 1.ทางช่องคับ ไปออกหมู่ 2 บ้านนาพรุ ต.นาคา 2.ทางพัฒนา ไปออกหมู่ 8 บ้านทุ่งถั่ว ต.นาคา 3.ทางคลองกาเล็ก ไปออกหลังวัดหมู่ 4 บ้านควรไทรงาม ต.นาคา 4.ทางชายหาด ไปออกปากคลองกล้วย หมู่ 4 ต.กำพวน ทางน้ำ ใช้พาหนะ คือ เรือแจว จากหมู่บ้านไปปากคลองกล้วย พ.ศ. 2520 ได้มีโรงเรียนหลังแรกของหมู่บ้านทะเลนอก
สภาพของโรงเรียน มุงจาก กั้นจาก มีครู 1 คนชื่อ นายศักดา เชาวณเลิศ มีนักเรียน 52 คน (รวมทั้งไทยพลัดถิ่น) ชื่อ โรงเรียนบ้านภูเขาทอง (สาขาทะเลนอก) พ.ศ. 2522 มีโรงเรียนใหม่ ได้สร้างที่เดิม เป็นอาคารถาวร ชั้นเดียว หลังคามุงกระเบี้อง พ.ศ. 2523 มีทางถนนลูกรัง เข้ามาในหมู่บ้าน พ.ศ. 2533 มีไฟฟ้าเข้ามาในหมู่บ้าน พ.ศ. 2537 มีถนนลาดยางเข้ามาในหมู่บ้าน บาลาเซาะของหมู่บ้านหลังแรกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2527 สร้างบริเวณที่ของนายดล ภักดี โดยมุงเหล็ก กั้นจาก ปูไม้กระดานไม่มีโต๊ะอีหม่าม ต่อมาหลังที่ 2 ได้ย้ายมาอยู่ที่ของนายแอ นิ่มนวล มุงกระเบื้อง กั้นไม้กระดาน ปูไม้กระดานและมีแท็งค์น้ำของบาลาเซาะ มีนายแอ ปีนัง เป็นคนสอนหนังสือ หลังที่ 3 สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2537 (จนถึงปัจจุบัน) มีโต๊ะอีหม่ามชื่อนายส้าแหล้หมัน หาญจิตร ที่เป็นโต๊ะอีหม่ามคนแรกของหมู่บ้าน อนามัยของหมู่บ้านสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2542 เป็นอาคารถาวรชั้นเดียว มุงกระเบื้อง หมอคนแรกชื่อนายสมหทัย ทางทอง วันที่ 26 ธันวาคม 2547 หมู่บ้านถูกคลื่นยักษ์สึนามิ เสียหายผู้ใหญ่บ้านคนเก่าเสียชีวตกับ สึนามิ รวมทั้งลูกบ้านและเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 47 คน
หลังจากนั้น ปีพ.ศ. 2548 หลัง สึนามิ ทางภาครัฐได้ลงมาสนับสนุนในด้านต่างๆรวมทั้งการให้ชุมชนรวมกลุ่มเพื่อที่จะทำกิจกรรมร่วมกันโดยมีหลายอย่างให้เลือกหนึ่งในนั้นก็มีการทำสบู่ด้วยและสมาชิกทั้งหมดมี 20 คน ทุกคนรวมตัวกันที่จะทำสบู่เพราะเป็นของใช้ที่ต้องใช้ทุกวันและอยากรู้ว่าสบู่ทำอย่างไรจึงรวมตัวกันตั้งใจที่จะทำสบู่ กรมจัดหางานสอนการทำสบู่ 3 วัน หลังจากนั้นกลุ่มดำเนินการทำสบู่เป็นต้นมา
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
รูปทรงมีความหลากหลายการออกแบบรูปทรงซึ่งใช้วัสดุในชุมชนที่เหลือใช้มาทำเป็นที่รองสบู่ มีลักษ์ณะดังนี้
1.รูปทรงมีทั้งสี่เหลี่ยม ทรงกลม โมบาย กะลามะพร้าว
2.ทุกอย่างใช้มือทำไม่มีการใช้เครื่องจัก

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

สูตรที่ 1 สบู่สมุนไพรตะไคร้หอม
(1)โซเดียมไฮดรอกไซ 128 กรัม
(2)น้ำสะอาด 110 กรัม
(3)น้ำมันมะกอก 100 กรัม
(4)น้ำมันเมล็ดองุ่น (ถั่วเหลือง) 350 กรัม
(5)น้ำมันปาล์ม 450 กรัม
(6)น้ำหอมกลิ่นตะไคร้หอม

สูตรที่ 2 สบู่สมุนไพรอบเชย
(1)โซเดียมไฮดรอกไซ 128 กรัม
(2) นำน้ำสะอาด 110 กรัม
(3)น้ำมันมะกอก 100 กรัม
(4)น้ำมันเมล็ดองุ่น (ถั่วเหลือง) 350 กรัม
(5)น้ำมันปาล์ม 450 กรัม
(6)น้ำหอมกลิ่นอบเชย

สูตรที่ 3 สบู่สมุนไพรขิง
(1)โซเดียมไฮดรอกไซ 128 กรัม
(2)น้ำสะอาด 110 กรัม
(3)น้ำมันมะกอก 100 กรัม
(4)น้ำมันเมล็ดองุ่น (ถั่วเหลือง) 350 กรัม
(5)น้ำมันปาล์ม 450 กรัม
(6)น้ำหอมกลิ่นมะลิ

สูตรที่ 4 สบู่สมุนไพรดอกคำฝอย
(1)โซเดียมไฮดรอกไซ 128 กรัม
(2)น้ำสะอาด 110 กรัม
(3)น้ำมันมะกอก 100 กรัม
(4)น้ำมันเมล็ดองุ่น (ถั่วเหลือง) 350 กรัม
(5)น้ำมันปาล์ม 450 กรัม
(6)น้ำหอมกลิ่นดอกโมก

สูตรที่ 5 สบู่สมุนไพรงาดำ
(1)โซเดียมไฮดรอกไซ 128 กรัม
(2)น้ำสะอาด 110 กรัม
(3 )น้ำมันมะกอก 100 กรัม
(4)น้ำมันเมล็ดองุ่น (ถั่วเหลือง) 300 กรัม
(5 )น้ำมันปาล์ม 400 กรัม
(6)มันงาดำ 100 กรัม
(7)น้ำหอมกลิ่นมะลิ

สูตรที่ 6 สบู่สมุนไพรกานพลู
(1)โซเดียมไฮดรอกไซ 128 กรัม
(2)น้ำสะอาด 110 กรัม
(3)น้ำมันมะกอก 100 กรัม
(4)น้ำมันเมล็ดองุ่น (ถั่วเหลือง) 350 กรัม
(5)น้ำมันปาล์ม 450 กรัม
(6)น้ำหอมกลิ่นดอกโมก

สูตรที่ 7 สบู่สมุนไพรมะขาม
1.โซเดียมไฮดรอกไซ 128 กรัม
2.น้ำสะอาด 110 กรัม
3.น้ำมันมะกอก 100 กรัม
4.น้ำมันเมล็ดองุ่น (ถั่วเหลือง) 350 กรัม
5.น้ำมันปาล์ม 450 กรัม
6.น้ำหอมกลิ่นดอกปีป
7.วิตามินอี 3 หยด

สูตรที่ 8 สบู่สมุนไพรขมิ้นชัน
(1)โซเดียมไฮดรอกไซ 128 กรัม
(2)น้ำสะอาด 110 กรัม
(3)น้ำมันมะกอก 100 กรัม
(4)น้ำมันเมล็ดองุ่น (ถั่วเหลือง) 350 กรัม
(5)น้ำมันปาล์ม 450 กรัม
(6)น้ำหอมกลิ่นขมิ้น

ขั้นตอนการผลิต

สูตรที่ 1 สบู่สมุนไพรตะไคร้หอม
1.โซเดียมไฮดรอกไซ ที่เตรียมไว้ลงในน้ำสะอาด กวนให้เข้ากันและทิ้งไว้ให้อุณภูมิอยู่ที่50 องศา
2.น้ำมันที่ตวงไว้กวนให้เข้ากัน 3.เทโซเดียมไฮดรอกไซลงไปในน้ำมันกวนให้เข้ากันประมาณ 20 นาที
4.เทสมุนไพรตะไคร้หอมลงไปในหม้อสบู่ที่กวนไว้คนให้เข้ากัน 10 นาที
5.เทสบู่ลงในพิมพ์ที่เตรียมไว้ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง
6.แกะสบู่ออกจากพิมพ์ ทิ้งไว้ 1เดือนแล้วถึงจะนำมาใช้ได้

สูตรที่ 2 สบู่สมุนไพรอบเชย
1.โซเดียมไฮดรอกไซ ที่เตรียมไว้ลงในน้ำสะอาด กวนให้เข้ากันและทิ้งไว้ให้อุณหภูมิอยู่ที่50 องศา
2.นำน้ำมันที่ตวงไว้กวนให้เข้ากัน
3.เทโซเดียมไฮดรอกไซลงไปในน้ำมันกวนให้เข้ากันประมาณ 20 นาที
4.เทสมุนไพรตะไคร้หอมลงไปในหม้อสบู่ที่กวนไว้คนให้เข้ากัน 10 นาที
5.เทสบู่ลงในพิมพ์ที่เตรียมไว้ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง
6.แกะสบู่ออกจากพิมพ์ ทิ้งไว้ 1เดือนแล้วถึงจะนำมาใช้ได้

สูตรที่ 3 สบู่สมุนไพรขิง
1.โซเดียมไฮดรอกไซ ที่เตรียมไว้ลงในน้ำสะอาด กวนให้เข้ากันและทิ้งไว้ให้อุณภูมิอยู่ที่50 องศา
2.นำน้ำมันที่ตวงไว้กวนให้เข้ากัน
3.เทโซเดียมไฮดรอกไซลงไปในน้ำมันกวนให้เข้ากันประมาณ 20 นาที
4.เทสมุนไพรตะไคร้หอมลงไปในหม้อสบู่ที่กวนไว้คนให้เข้ากัน 10 นาที
5.เทสบู่ลงในพิมพ์ที่เตรียมไว้ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง
6.แกะสบู่ออกจากพิมพ์ ทิ้งไว้ 1เดือนแล้วถึงจะนำมาใช้ได้

สูตรที่ 4 สบู่สมุนไพรดอกคำฝอย
1.โซเดียมไฮดรอกไซ ที่เตรียมไว้ลงในน้ำสะอาด กวนให้เข้ากันและทิ้งไว้ให้อุณภูมิอยู่ที่50 องศา
2.นำน้ำมันที่ตวงไว้กวนให้เข้ากัน
3.เทโซเดียมไฮดรอกไซลงไปในน้ำมันกวนให้เข้ากันประมาณ 20 นาที
4.เทสมุนไพรตะไคร้หอมลงไปในหม้อสบู่ที่กวนไว้คนให้เข้ากัน 10 นาที
5.เทสบู่ลงในพิมพ์ที่เตรียมไว้ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง
6.แกะสบู่ออกจากพิมพ์ ทิ้งไว้ 1เดือนแล้วถึงจะนำมาใช้ได้

สูตรที่ 5 สบู่สมุนไพรงาดำ
1.โซเดียมไฮดรอกไซ ที่เตรียมไว้ลงในน้ำสะอาด กวนให้เข้ากันและทิ้งไว้ให้อุณภูมิอยู่ที่50 องศา
2.นำน้ำมันที่ตวงไว้กวนให้เข้ากัน
3.เทโซเดียมไฮดรอกไซลงไปในน้ำมันกวนให้เข้ากันประมาณ 20 นาที
4.เทสมุนไพรตะไคร้หอมลงไปในหม้อสบู่ที่กวนไว้คนให้เข้ากัน 10 นาที
5.เทสบู่ลงในพิมพ์ที่เตรียมไว้ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง
6.แกะสบู่ออกจากพิมพ์ ทิ้งไว้ 1เดือนแล้วถึงจะนำมาใช้ได้

สูตรที่ 6 สบู่สมุนไพรกานพลู
1.โซเดียมไฮดรอกไซ ที่เตรียมไว้ลงในน้ำสะอาด กวนให้เข้ากันและทิ้งไว้ให้อุณภูมิอยู่ที่50 องศา
2.นำน้ำมันที่ตวงไว้กวนให้เข้ากัน
3.เทโซเดียมไฮดรอกไซลงไปในน้ำมันกวนให้เข้ากันประมาณ 20 นาที
4.เทสมุนไพรตะไคร้หอมลงไปในหม้อสบู่ที่กวนไว้คนให้เข้ากัน 10 นาที
5.เทสบู่ลงในพิมพ์ที่เตรียมไว้ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง
6.แกะสบู่ออกจากพิมพ์ ทิ้งไว้ 1เดือนแล้วถึงจะนำมาใช้ได้

สูตรที่ 7 สบู่สมุนไพรมะขาม
1.โซเดียมไฮดรอกไซ ที่เตรียมไว้ลงในน้ำสะอาด กวนให้เข้ากันและทิ้งไว้ให้อุณภูมิอยู่ที่50 องศา
2.นำน้ำมันที่ตวงไว้กวนให้เข้ากัน
3.เทโซเดียมไฮดรอกไซลงไปในน้ำมันกวนให้เข้ากันประมาณ 20 นาที
4.เทสมุนไพรตะไคร้หอมลงไปในหม้อสบู่ที่กวนไว้คนให้เข้ากัน 10 นาที
5.เทสบู่ลงในพิมพ์ที่เตรียมไว้ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง
6.แกะสบู่ออกจากพิมพ์ ทิ้งไว้ 1เดือนแล้วถึงจะนำมาใช้ได้

สูตรที่ 8 สบู่สมุนไพรขมิ้นชัน
1.โซเดียมไฮดรอกไซ ที่เตรียมไว้ลงในน้ำสะอาด กวนให้เข้ากันและทิ้งไว้ให้อุณภูมิอยู่ที่50 องศา
2.นำน้ำมันที่ตวงไว้กวนให้เข้ากัน
3.เทโซเดียมไฮดรอกไซลงไปในน้ำมันกวนให้เข้ากันประมาณ 20 นาที
4.เทสมุนไพรตะไคร้หอมลงไปในหม้อสบู่ที่กวนไว้คนให้เข้ากัน 10 นาที
5.เทสบู่ลงในพิมพ์ที่เตรียมไว้ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง
6.แกะสบู่ออกจากพิมพ์ ทิ้งไว้ 1เดือนแล้วถึงจะนำมาใช้ได้

เทคนิค/เคล็ดลับการผลิต
การทำสบู่แต่ละครั้งเราจะมีการควบคุมการใส่วัตถุดิบทุกชนิดและทุกครั้งที่กวนสบู่โดยการจดบันทึกวันที่ทำสูตรที่ทำทุกครั้ง ควบคุมในการกวนสบู่เพื่อให้สบู่ออกมาในรูปแบบที่คงตัวอยู่สม่ำเสมอ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: