ภูมิปัีญญาผ้าขาวม้า
ภูมิปัญญาผ้าขาวม้า 5-7 สี
ประวัติความเป็นมา
สมัยก่อนพื้นที่บ้านโคกชุมบกมีต้นงิ้วขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านใช้ต้นงิ้วทำรั้วบ้าน เมื่องิ้วออกฝักและแตกกระจายไปทั่ว ซึ่งเรียกว่า “นุ่น” จึงได้นำมาตีและปั่นเป็นด้ายสำหรับใช้ทอผ้าไว้ใช้ ซึ่งบ้างบ้านเหลือใช้ก็นำมาจำหน่ายต่อให้กับเพื่อนบ้าน แต่ต่อมาได้พัฒนาขึ้นโดยการนำด้ายดิบมาทอผ้าแทนการนำนุ่นมาปั่นเป็นด้าย
ในปี 2524 ชาวบ้านได้รวมตัวกันตั้งกลุ่มทอผ้า ซึ่งมีสมาชิกเริ่มแรก 28 คน โดยระดมทุนสร้างโรงเรือนทอผ้าชั่วคราวขึ้นและสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอตากใบได้สนับสนุนกี่กระตุก และต่อมาสำนักงานอุตสาหกรรมมาสอนวิธีทำกี่กระตุกให้จึงสามารถทำกี่กระตุกเองได้ และได้จัดหาครูมาสอนการทอผ้าขาวม้าด้วยผ้าโทเร ไม่มีลาย และต่อมาได้พัฒนาเป็นสี และลายดอก ซึ่งปัจจุบันได้ทำเป็นผ้าขาวม้า 5-7 สี เพิ่มลวดลายมากขึ้น และได้ส่งผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรรเมื่อปี 2553 ซึ่งผ่านการคัดสรรระดับ 4 ดาว
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
เป็นผ้าขาวม้าสีสดใส 5-7 สี
ริมผ้าแน่นไม่หลุดลุ่ยง่าย
สีผ้าสดใสไม่ตก
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
– เส้นด้ายสังเคราะห์ (โทเร)
– ฟันหวี
– ฟีม (ใส่ด้าย)
– กระสวย
– หลอดปั่นด้ายพุ่ง
– หลอดปั่นด้ายยืน
– ไนกรอด้าย
– ระวิง
– เส้นด้ายเบอร์ 6-9 ใช้เก็บตะกอ
– ไม้เดินด้าย
– ไม้เก็บตะกอ
– ไม้ม้วนด้าย
ขั้นตอนการผลิต
– เดินด้าย
– สอดฟันหวี
– ม้วนด้าย
– คิดลาย
– เก็บตะกอ
– ทอผ้า
เทคนิค/เคล็ดลับการผลิต
การจัดวางสีด้าย เพื่อความสวยงาม มีสีที่โดดเด่น ครบ 5-7 สี
ความประณีต ทำให้ผ้าที่ทอออกมาแน่น คงทน ใช้งานได้นาน
เนื้อผ้าขาวม้าจะหนา ริมผ้าแน่นทั้ง 2 ด้าน
ใส่ความเห็น
Comments 0