ภูมิปัญญาผ้าบาติกสำเภาทอง

ภูมิปัญญาผ้าบาติกสำเภาทอง

ประวัติความเป็นมา

          แหล่งกำเนิดของผ้าบากติกมาจากไหน ยังไม่มีข้อยุติ นักวิชาการเชื่อว่ามีในประเทศอินเดียมาก่อน แล้วแพร่เข้าไปในประเทศอินโดนิเซีย หลายคนว่ามาจากอิยิปต์ หรือเปอร์เซีย ถึงแม้ว่าจะมีการค้นพบผ้าบากติกที่มีอายุเก่าแก่ในประเทศอื่น ๆ ทั้งอียิปต์ อินเดียหรือประเทศญี่ปุ่น แต่หลายก็ยังเชื่อว่าผ้าบาติกเป็นของดั้งเดิมของชาวชวาและยังยืนยันว่าศัพท์เฉพาะที่เรียกวิธีการและขั้นตอนในการทำเป็นศัพท์ภาษาอินโดนิเซีย จากการศึกษาค้นคว้าของ N.J.Krom นักประวัติศาสตร์ชาวดัทก็ได้สรุปว่าการกระทำโสร่งปาเต๊ะเป็นวัฒนธรรมที่ดั้งเดิมของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนที่จะติดต่อค้าขายกับชาวอินเดีย คนไทยรู้จักผ้าปาเต๊ะในชื่อว่า “ผ้าบาติก”

          ในส่วนของผ้าบาติกสำเภาทอง หมู่ที่ 1 ตำบลท้ายสำเภา อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เริ่มโดยคุณนิตยา คชาผล ซึ่งมีความสนใจในการทำผ้าบาติกเนื่องจากผ้าบาติกเป็นงานศิลป์อย่างหนึ่งสามารถผลิตสินค้าที่ขายได้ ต่อมาเมื่อมีผู้สนใจมากขึ้น จึงได้รวมกลุ่มเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2546 เพื่อให้สมาชิกที่ว่างงานได้มีงานทำ สร้างรายได้ให้กับครอบครัวจนมีชื่อเสียงจนถึงปัจจุบัน

 

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกสำเภาทอง มีลักษณะเด่นดังนี้

1. ลวดลายสวยงาม

2. สีสันสดใส สีไม่ตก หรือลอก

3. ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ

4. ตัดเย็บประณีต

5. ลวดลายสามารถสั่งได้ตามความต้องการของ ลูกค้า

6. มีการตรวจสอบก่อนการส่งมอบสินค้าทุกครั้ง

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

บาติก คือศิลปะอย่างหนึ่งในการสร้างสรรค์ลวดลายให้กับผืนผ้า ซึ่งคุณสามารถทำเองได้ เพียงแต่คุณมีอุปกรณ์ที่เหมาะสม รู้ขั้นตอนการทำ ฝึกฝนฝีมือให้มากเท่านี้คุณก็สร้างสรรค์ผ้าที่มีลวดลายไม่เหมือนใครในโลกได้ด้วยมือของคุณเอง

1. ผ้าขาว

2.เทียนไข

3.พู่กัน

4.แม่สี 3 สี (แดง เหลือง น้ำเงิน)

5.โซเดียมซิลิเกต

  

ขั้นตอนการผลิต

ขั้นตอนที่ 1 เตรียมความพร้อม

1.1 นำผ้าไปซักในผงซักฟอกให้สะอาดเพื่อให้ไขมันหรือแงที่จับผ้าอยู่หลุดออกให้หมดแล้วตากให้แห้งสนิท

1.2 นำผ้ามาวาดลวดลาย อาจใช้การลอกลายจากกระดาษโดยใช้กระดาษลอกลายผ้า หรือวาดบนผืนผ้าด้วยดินสอเลยก็ได้ สำหรับมือใหม่ควรใช้ลายง่าย ๆ

1.3 ต้มเทียนไขให้ละลาย แล้วใช้แปรงจุ่มเทียนทาให้รอบกรอบไม้ด้านที่จะขึงผ้า เพื่อให้เทียนยึดผ้าไม่ให้เลื่อนหลุด

1.4 ขึงผ้าที่ละด้าน โดยวางผ้าบนไม้ดานที่ทาเทียนไว้แล้วใช้ด้ามพู่กัน (หรืออุปกรณ์อื่นแล้วแต่ถนัด) ขุดไปบนผ้า พอให้ผ้าติดกับเทียน ขึงให้เรียบไม่มีรอยย่น

1.5 ถ้าต้องการระบายบนเสื้อยืด ให้สอดกรอบไม้เข้าไปในเสื้อ ขึงด้านที่ต้องการลงสีให้ตึง แล้วสอดกระดาษหนังสือพิมพ์รองด้านหลัง เพื่อไม่ให้สีเปื้อนอีกด้านของเสื้อ

ขั้นตอนที่ 2 เขียนลายด้วยเทียน

2.1 การต้มเทียนควรใช้เตารีดไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัย เนื่องจากเทียนเป็นสารที่ติดไฟได้ง่ายแต่ถ้าหากใช้เตาแก๊สต้มเทียนควรเผ้าดูตลอดเวลา และห้ามใส่น้ำลงในเทียนร้อนเด็ดขาด

2.2 ต้มเทียนให้ได้ความร้อนพอเหมาะ คุณลองดูได้โดยการใช้ชานติ่งจุ่มเทียนขึ้นมา

2.3 ใช้กระดาษทิชชูหรือเศษผ้าร้องปลายชานติ้งไม่ให้เลอะเทอะระหว่างทางแล้วเขียนไปบนกระดาษหนังสือพิมพ์ ถ้าร้อนพอเหมาะ

2.4 เทียนจะซึมลงไปด้านใต้กระดาษในเหมือนกับทาด้วยน้ำมัน ถ้าร้อนไม่พอเทียนจะเกาะบนผิวหนังสือพิมพ์เป็นสีขาว ถ้าร้อนเกินไปเทียนจะแตกเป็นเส้นใหญ่ ๆ ควรรอให้เย็นลงหน่อยจึงลองใหม่

2.5 จุ่มชานติ้งในเทียนร้อนสักครู่ แล้วตักเทียนขึ้นมาวาดบนลายที่เขียนไว้บนผ้า การจับชานติ้งควรให้เหมาะสม สำหรับมือใหม่ที่ไม่คุ้นเคย ปลายชานติ้งอาจไปสะดุดกับเนื้อผ้าทำให้เทียนหกเลอะ

ข้อควรระวัง: ในการเขียนเทียนควรเขียนให้เป็นเส้นบรรจบปิดทุกลาย โดยไม่ให้มีช่องว่างระหว่างแต่ละลาย มิฉะนั้นเวลาลงสีสีจะซึมเลอะเข้าหากัน

ขั้นที่ 3 มาทำความเข้าใจเรื่องแม่สี

ในการซื้อสีเพื่อมาทำผ้าบาติกเราอาจซื้อทุกสีที่ต้องการมาใช้ แต่อาจเป็นการสิ้นเปลืองเงินมากเกินไป คุณอาจซื้อเฉพาะแม่สีแล้วนำมาผสมสีตามต้องการให้ แม่สีได้แก่ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน ซึ่งสามารถผสมได้สีดังนี้

แดง+น้ำเงิน = ม่วง

น้ำเงิน + เหลือง = เขียว

เหลือง + แดง = ส้ม

ควรผสมสีทีละน้อยแล้วทดลองระบายบนกระดาษขาวถ้าไม่พอใจจึงค่อย ๆ เพิ่มเติมสี เช่น หากเราต้องการสีม่วงอมแดง เราก็ค่อย ๆ ผสมสีแดงเข้าไปในสีม่วง แล้วดูว่ามันจะออกมาเป็นสีม่วงที่เราพอใจแล้วหรือยัง นอกจากนั้นเราสามารถใช้สีดำเพื่อเพิ่มความเข้มให้กับสีได้ สีบาติกยังไม่ได้ละลายน้ำควรเก็บไว้ในที่แห้งและไม่ตากแดด

ขั้นที่ 4 การลงสี

ช่วงการลงสีคือช่วงที่น่าสนุก ซึ่งเราสามารถลงสีได้ตามที่เราต้องการ ละลายสีจำนวนเล็กน้อยในปริมาณพอเหมาะในกระปุกที่มีฝาปิด เราสามารถเก็บสีที่เหลือไว้ใช้ในครั้งต่อไปได้ แต่ไม่ควรเก็บสีที่ละลายน้ำแล้วไว้นานเกินกว่า 2 สัปดาห์ เพราะสีจะเสื่อมสภาพก่อนลงสีให้ใช้น้ำเปล่าระบายบนผืนผ้าให้หมาดๆ แล้วจึงลงสีใส่ให้มีความเข้ม/จาง หรือจะไล่จากสีหนึ่งไปยังอีกสีหนึ่ง (ดูจากตารางแม่สี) เช่น จากสีน้ำตาลไปผสมกับสีเหลือง ตรงจุดที่สีทั้งสองบรรจบกันจะกลายเป็นสีเขียวควรลงสีให้เข้มไว้ก่อน โดยลงสีซ้ำขณะที่สีเดิมยังหมาดๆ ไม่ควรรอให้สีแห้งสนิท เพราะสีจะด่าง ควรจำไว้ว่า หลังการต้มเทียนออกแล้ว สีจะจางลงอีก 30% เมื่อลงสีเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องถือหรือวางกรอบไว้ในแนวนอนเสมอ มิฉะนั้นสีจะไหลลงด้านล่าง นำไปผึ่งแดดให้สีแห้งสนิท

ขั้นที่ 5 ลงน้ำยาคงสภาพสี

โซเดียมซิลิเกต คือ น้ำยาคงสภาพสี มีลักษณะเหนียวข้น โซเดียมซิลิเกตไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง แต่ไม่ควรให้โดนบาดแผล หรือเนื้อไม้ รีบล้างออกทันที ใช้แปรงหน้ากว้างทาโซเดียมซิลิเกตให้ทั่วผ้าบริเวณที่ลงสี ดูให้แน่ใจว่าลงสีได้ทุกซอกมุม โดยที่อยู่ตรงขอบเขียนส่วนที่ทาโซเดียมซิลิเกตจะมีสีเข้มขึ้นแต่จะหายเป็นปกติเมื่อล้างออก ทิ้งไว้ประมาณ 3-6 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น

ขั้นที่ 6 ต้มเทียนออก

ลอกผ้าออกจากกรอบไม้ ล้างโซเดียมซิลิเกตออกด้วยน้ำเปล่า ให้แช่ผ้าในน้ำตลอดเวลา จนกว่าต้มเทียนออก มิฉะนั้นสีจะตกเลอะ ต้มน้ำใส่ผงซักฟอกให้เดือด ระวังว่าผสมผงซักฟอกเมื่อเดือดจะมีฟองล้นออกมาอย่างรวดเร็ว ควรเฝ้าดูตลอดเวลา ใส่ผ้าลงไปใช้ไม้คนให้ทั่วเพื่อให้เทียนหลุดออก แล้วซักให้สะอาด ตากให้แห้ง นำไปเย็บตามที่ต้องการ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: