ภูมิปัญญาทอหางอวน

ภูมิปัญญาทอหางอวน( บ้านบางตง )

ประวัติความเป็นมา

        ตำบลท่าศาลา เป็นตำบลที่หมู่บ้านส่วนใหญ่อยู่ติดชายฝั่งทะเล ประชาชน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการประมง โดยเฉพาะประชาชนในหมู่ที่ 14 และหมู่ที่ 15 คนในชุมชนส่วนมากเป็นคนไทยมุสลิม ประกอบอาชีพประมงมาตั้งแต่ดั้งเดิม ได้ใช้ยอดลานที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำเป็นเส้น แล้วตากแห้งจากนั้นก็นำมาทอเพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการหาปลา โดยใช้ติดที่ปลายอวนในแต่ละหลัง และนำมาใช้เย็บเป็นถุงเพื่อใช้ดักกุ้งตัวเล็กๆ ที่นำมาทำกะปิ ซึ่งเรียกกันว่า “กุ้งเคย” ต่อมาวัตถุ ประสงค์ในการใช้งานเปลี่ยนไป เนื่องจากชาวประมงนำไนลอนมาใช้ในการทำอวน แต่ยังมีการทอใบลานอยู่ โดยมีชาวจีนนำใบลานที่ทอเป็นผืน ซึ่งเรียกทั่วไปว่า “หางอวน” มาตัดเป็นเสื้อผ้าเพื่อใช้สำหรับแห่ศพของคนจีน

ปี พ.ศ. 2517 ได้มีหน่วยงานของราชการ มาแนะนำให้มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์หางอวนเป็นกระเป๋า กล่องกระดาษทิชชู และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย มีสมาชิกกลุ่ม 20 คนมาฝึกทำ แต่หลังจากสอนเสร็จก็ต้องหยุดเพราะผลิตภัณฑ์ที่จัดทำขึ้นไม่สามารถจำหน่ายได้ แต่การทอหางอวนยังคงดำเนินการต่อไป โดยมีสมาชิกจำนวน 9 คน ยังคงทอเป็นผืนจำหน่ายเป็นม้วน สำหรับนำไปแปรรูปเป็นเสื้อจีนและในปี 2537 อุตสาหกรรมจังหวัด มาติดต่อนางนวยนาถร ยีเกษม ให้รวมกลุ่มสมาชิกที่มีความสนใจในการแปรรูปผลิตภัณฑ์หางอวนขึ้นมาใหม่ มีสมาชิกเข้าร่วม 23 คน อุตสาหกรรมได้แนะนำ ในเรื่องวิธีการย้อมสี การทอที่ละเอียด การทำหมวก กระเป๋าสะพาย แฟ้มเอกสาร กล่องใส่กระดาษทิชชู เป็นเวลา 1 เดือน และอุตสาหกรรม รวมทั้งบริษัทในกรุงเทพฯ ก็จะรับซื้อ โดยส่วนใหญ่จะรับซื้อในรูปแบบของผืนทอม้วนการดำเนินงานได้เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 จนถึงปัจจุบัน ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานเกษตรอำเภอ ศูนย์บริการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ได้ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ ในเรื่องของระบบการผลิตการบริหารจัดการ การตลาด และจัดอบรมให้ความรู้เพิ่มเติม ทำให้ผลิตภัณฑ์ได้รับความสนใจจากตลาด ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น

– ทำให้ประชาชนมีงานทำ โดยการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมและหัตถกรรมในครัวเรือน

– มีรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนเพิ่มขึ้น

– ลดอัตราการเคลื่อนย้ายแรงงานออกนอกท้องถิ่น

– สร้างความเจริญให้กับหมู่บ้านและชุมชน

 

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

            ผลิตภัณฑ์หางอวน เกิดมาจากชาวบ้านที่มีอาชีพการประมง ได้ร่วมกันคิดค้นหาเครื่องมือมาใช้ในการประกอบอาชีพที่ทำมาตั้งแต่ดั้งเดิม เพื่อจับสัตว์น้ำ โดยเฉพาะจับกุ้งเคย ที่นำมาใช้ในการทำกะปิ และต่อมาเมื่อมีเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพสะดวกกว่า คือ ไนล่อน ชาวบ้านจึงนำ หางอวนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ

ผลิตภัณฑ์หางอวนเป็นของแปลก น้ำหนักเบา เป็นหัตกรรมพื้นบ้านทำด้วยมือ มีความคงทน เก็บรักษาง่ายไม่ขึ้นรา

 

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

            การทำผ้ามัดย้อมบ้านนากุน โดยมีวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ และกระบวนการผลิต ดังนี้

 

วัตถุดิบประกอบด้วย

1. ใบลาน

2. กี่ทอ

3. สีย้อม

 

ขั้นตอนการผลิต

1. เตรียมยอดลาน

2. ฉีกยอดลานแยกเป็นใบๆ

3. เอาก้านใบออกแยกเป็นมัดๆ

4. นำไปแช่น้ำ 2 คืน

5. นำมาลอกเป็น 2 หน้าๆ หนึ่งทิ้ง

6. นำหวีมาสางให้เป็นเส้นเล็กๆ

7. นำไปแช่น้ำ 2 คืน

8. ตากแดดให้แห้งลูบให้เป็นเส้นกลม

9. นำมาต่อให้เป็นเส้นยาว ย้อมสี ตากให้แห้ง

10. ค้นให้ม้วนยาวประมาณ 3.5 เมตร

11. เข้ากี่ทอเป็นผืนๆ ม้วนเก็บ

12. นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง

 

เทคนิค/เคล็ดลับการผลิต

            เทคโนโลยี ที่นำมาใช้ในการผลิตหางอวนมีลักษณะเป็นแบบง่ายๆ ระดับพื้นบ้านซึ่งประชาชนในท้องถิ่นยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ตลอดจนการพัฒนาปรับปรุงขึ้นมาใหม่เหมาะสมกับงานในครอบครัวและสภาพท้องถิ่น

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: