ภูมิปัญญากรงดักนกคุ่ม
ภูมิปัญญากรงดักนกคุ่ม
ประวัติความเป็นมา
กลุ่มจักสานย่านลิเภา เป็นกลุ่มศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนารถ ทำจักสานกระเป๋าย่านลิเภา ส่งให้สำนักพระราชวังต่อมากลุ่มสานย่านลิเภาขุนละหาร ได้ทำผลิตภัณฑ์กรงนกคุ่มออกจำหน่าย สืบเนื่องจาก นายรัศมินทร์ นิติธรรม ได้ไปเห็นกรงดักนกคุ่มในร้านขายกรงนก มีความสวยงาม เมื่อกลุ่มได้มีโอกาสเข้าร่วมในงานแสดงวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่กรุงเทพมหานคร ได้นำกรงดักนกคุ่มไปตั้งแสดงในงาน และได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก นายพินิจ จารสมบัติ อดีตรัฐมนตรี ได้มาเห็นและชอบจึงขอซื้อ และแนะนำให้กลุ่มทำออกจำหน่าย โดยแนะนำให้ทำทั้งที่เป็นกรงดักนกขนาดที่ใช้ดักนกจริง และกรงดักนกขนาดจำลองเป็นของที่ระลึก กลุ่มจึงได้เชิญนายมะหามะปาริค หะยีนิยิ ซึ่งเป็นอาจารย์สอนทำกรงนก มาสอนให้กับสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกกลุ่มได้สืบสานภูมิปัญญา และเพื่อจำหน่ายเป็นของฝากของที่ระลึก และสร้างรายได้ให้สมาชิกเพิ่มขึ้น
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
เป็นการนำภูมิปัญญาการจักรสานย่านลิเภา กับการแกะสลักลวดลายพื้นเมือง และตามจินตนาการเข้ามาผสมผสานด้วยกันให้เกิดความสวยงาม
เป็นการสืบสานศิลปะการทำกรงนกของเจ้าเมืองโบราณในวังระแงะ ซึ่งสืบต่อมาเป็น 100 กว่าปี
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
– ลวดทองแดง เบอร์ 12, 15 ,18
– เชือกไนล่อนสีดำ เบอร์ 14
– ย่านลิเภา
– ไม้กระดานแผ่นเพื่อแกะลาย
– ตะกั่วถ่วงนำหนัก
– ไม้ไผ่เหลาเป็นซี่เล็กๆ
– เมทิลแอลกอฮอร์
– แชลแลคขาว
ขั้นตอนการผลิต
– นำไม้กระดานมาแกะสลักลวดลาย เพื่อตกแต่งหน้ากรงนกให้สวยงาม
– ขึ้นโครงกรงดักนก
– ใช้ย่านลิเพาดำสอดตามรูที่เจาะไว้
– ขึ้นกระดูกปลาไหล ด้วยเชือกไนล่อน
– ใช้ย่านลิเภาสด ผ่าครึ่งนำมาสานให้เป็นลวดลาย
– นำมาประกอบเป็นกรงดักนกคุ่ม
– ทาแชลแลคขาว ใส่ตะกั่วถ่วงฝาปิดกรง
เทคนิค/เคล็ดลับการผลิต
ใช้ศิลปะลวดลายที่เป็นลายพื้นบ้านดั้งเดิม
ใช้ย่านลิเภาสานเป็นลวดลาย
ใส่ความเห็น
Comments 0