ดอกไม้ประดิษฐ์เกล็ดปลา

ภูมิปัญญากลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์เกล็ดปลา

ประวัติความเป็นมา

เนื่องจากอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง อยู่ห่างจากอำเภอเมืองตรังประมาณ 30 กม. เป็นถิ่นฐานที่ตั้งอยู่ชายฝังทะเลอันดามัน ประชาชนส่วนมากมีอาชีพทำสวนยาง และ อาชีพประมง มีการจับปลามาก วิถีชีวิตการบริโภคของชาวตรังที่ชื่นชอบการรับประทานอาหารอยู่แล้ว เมื่อชาวประมงหาปลาได้นำมาขายตามท้องตลาด โดยเฉพาะปลาที่คนนิยมกินได้แก่ปลากะพง แม่ค้าที่ขายปลาจะบริการขูดเกล็ดปลา ล้วงไส้ออก ทำปลาเป็นชิ้นๆ ให้ เพื่อความสะดวกในการที่ผู้ซื้อสามารถนำไปล้างและปรุงอาหารได้เลย ดังนั้นในตลาดจะมีเกล็ดปลาที่แม่ค้าทิ้งเป็นจำนวนมากเป็นสิ่งของที่ไร้คุณค่า

      

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

ลักษณะที่โดดเด่นของดอกไม้เกล็ดปลา คือ มีความใสวาว สวยงาม เป็นวัสดุเหลือใช้ เป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ซึ่งอยู่ใกล้ทะเล มีปลามากมายตัวโตๆ เมื่อขอดเกล็ดออกโดยทั่วไปจะทิ้ง มีผู้นำมาล้างจนสะอาดและนำมาประกอบเป็นของใช้ได้หลายอย่าง เช่น ดอกไม้ ตุ้มหู

 

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. เกล็ดปลา

2. อุปกรณ์การทำดอกไม้

3. สีย้อมผ้า

 

ขั้นตอนการผลิต

ขั้นตอนการล้างเกล็ดปลา

ขั้นตอนที่ 1 นำเกล็ดปลามาแช่น้ำเปล่า 1 คืน (เพื่อให้เศษหนังปลาหลุดออกง่าย)

ขั้นตอนที่ 2 นำน้ำยาล้างจานเทลงไปพอสมควรแล้วคนให้ทั่ว เพื่อล้างความสกปรกและความเหม็นคาวออกไป เทน้ำเก่าทิ้ง เปลี่ยนน้ำใหม่

ขั้นตอนที่ 3 ล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีก 2-3 ครั้ง จนเห็นว่าเกล็ดปลาขาวสะอาดดี

ขั้นตอนที่ 4 นำมาผึ่งลมให้แห้งเมื่อเกล็ดปลาแห้งสนิทแล้ว เกล็ดจะหดตัวเล็กน้อยไปทางด้านมัน

ขั้นตอนที่ 5 คัดเลือกเกล็ดปลาตามขนาดเกล็ดเล็ก กลาง ใหญ่ และใหญ่สุด แยกประเภท จัดใส่ถุงไว้ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน

เทคนิคพิเศษ อย่านำเกล็ดปลาไปตากกับแดด เพราะจะทำให้เกล็ดปลางอมากเกินไป และการอบแห้งแข็ง

ขั้นตอนการย้อมสีเกล็ดปลา

ขั้นตอนที่ 1 นำเกล็ดปลามาใส่ภาชนะ เติมน้ำลงไปให้ท่วมเกล็ดปลา แช่ไว้ประมาณ 30 นาที เพื่อจะให้น้ำซึมทั่วแผ่นของเกล็ดปลา

ขั้นตอนที่ 2 นำสีย้อมผ้า มาผสมกับน้ำร้อน 1 ถ้วย แล้วคนให้ทั่วเพื่อสีจะได้ละลายกับน้ำร้อนได้ดีไม่เป็นเม็ด

ขั้นตอนที่ 3 นำเกล็ดปลา ที่แช่น้ำขึ้นมาใส่ตะแกรง เพื่อให้สะเด็ดน้ำ

ขั้นตอนที่ 4 เทน้ำเย็นลงไปในภาชนะ แล้วผสมกับสีที่ละลายน้ำร้อนคนให้ทั่ว นำเกล็ดปลามาเทใส่น้ำที่ผสมสีเรียบร้อยแล้ว คนให้ทั่ว แซ่น้ำทิ้งไว้ 3 ชั่วโมง นำขึ้นมาผึ่งลมตากให้แห้ง

ทคนิคพิเศษ วิธีการย้อมสีแบบนี้ จะทำให้เกล็ดปลาติดสีอย่างสม่ำเสมอ เกล็ดปลาไม่ด่างเป็นจุดสีขาว

3. ขั้นตอนการทำ

ขั้นตอนที่ 1 เลือกเกล็ดปลาสีชมพูขนาดใหญ่ 2 เกล็ด แล้วพับทับเป็นเส้นทแยงมุม

ขั้นตอนที่ 2 ทากาวมุมบนของเกล็ดปลาทั้ง 2 เกล็ด ประกอบเข้าข้างในบีบหัวให้ปลายแหลม

ขั้นตอนที่ 3 ตัดปลายกรวยด้านล่างให้เสมอกัน

ขั้นตอนที่ 4 เลือกเกล็ดปลาขนาด 1 เกล็ดทากาวด้านมันด้านล่าง

ขั้นตอนที่ 5 นำมาประกอบกรวยสามเหลี่ยมให้ปลายด้านบนเสมอกัน

ขั้นตอนที่ 6 นำมาประกอบอีก 1 เกล็ด

ขั้นตอนที่ 7 เลือกเกล็ดปลา ขนาดกลาง 3 เกล็ด ตัดแต่งปลายเกล็ดให้มน

ขั้นตอนที่ 8 นำมาประกบโดยรอบเกล็ดปลาชั้นแรก วางเกล็ดปลาเกยกันเล็กน้อย

ขั้นตอนที่ 9 วางเรียงให้กลีบบานออกเล็กน้อย

ขั้นตอนที่ 10 นำเกล็ดปลา ขนาดใหญ่ 14 เกล็ด ตัดปลายส่วนล่างเข้าหากัน เป็นรูปสามเหลี่ยมคางหมู แล้วทากาวด้านมันส่วนล่าง

ขั้นตอนที่ 11 ทากาวแล้ววางเกล็ดให้ซ้อนกัน โดยให้ปลายด้านบนสูงกว่าชั้นแรกเล็กน้อย

ขั้นตอนที่ 12 ทุกครั้งเมื่อทากาวเสร็จให้ซ้อนกัน ควรใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้กดปลายข้างล่างเท่านั้น เพื่อให้ส่วนข้างบนได้บานออก และตัดปลายข้างล่างให้เสมอกัน

ขั้นตอนที่ 13 เรียงเกล็ดปลาให้เกยกันทุกเกล็ด

ขั้นตอนที่ 14 ชั้นสุดท้ายใส่เกล็ดปลาใหญ่ จัดทรงกลีบดอกให้บานสวยงาม

ขั้นตอนที่ 15 เตรียมดอกที่ทำแล้ว พร้อมใบ 2 ใบ แป้นที่ติดเสื้อ เพื่อเข้าช่อดอก

ขั้นตอนที่ 16 นำเกล็ดปลา ขนาดใหญ่สุด สีเดียวกับกลีบดอกไม้ จำนวน 1 เกล็ด ทากาวโดยรอบเกล็ดทั้งชิ้น มาติดด้านหลังและติดเกล็ดปลาสีเขียว จำนวน 1 ชั้น ทากาวติดโดยให้ปลายแหลมอยู่ด้านซ้ายของคอกกุหลาบ ติดใบ 2 ใบ

ขั้นตอนที่ 17 นำเข็มกลัดติดเสื้อ จำนวน 1 ชิ้น มาทากาวติดด้านหลังตรงข้ามกับเกล็ดปลาสีเขียว และติดให้สูงประมาณ 1/3 เพื่อความสมดุลของดอกกุหลาบ เวลาติดหน้าใบไม่คว่ำ

 

เทคนิค/เคล็ดลับการผลิต

ลักษณะของเกล็ดปลาจะมีด้านเงาและด้านขุ่น เวลาทำดอก กุหลาบช่วงตูมจะทากาวด้านมัน ช่วงดอกบาน จะทากาวด้านขุ่น และเกล็ดปลาด้านบนจะเป็นส่วนที่นิ่มกว่าเกล็ดปลาด้านล่าง

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: