กลุ่มอาชีพทำเครื่องเงิน
ภูมิปัญญากลุ่มอาชีพทำเครื่องถมเงิน จังหวัดพังงา
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของการทำเครื่องถมเงินบ้านบางหว้า หมู่ที่ 9 ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เดิมที่การทำเครื่องถมเงินนั้น เกิดขึ้นในหมู่บ้านที่มีชื่อว่า “หมู่บ้านคันธง” จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งการก่อตั้งกลุ่มอาชีพทำเครื่องถมเงินบ้านบางหว้าเกิดขึ้นโดยนางบุหงา วาดวงศ์พักตร์ ประธานกลุ่มฯ เดิมเป็นคนในพื้นที่หมู่บ้านคันธงและได้ย้ายภูมิลำเนามาอยู่ที่บ้านบางหว้า ก็ได้นำเครื่องถมมาทำเป็นอาชีพหารายได้ในครอบครัว ต่อมากลุ่มแม่บ้าน/คนในหมู่บ้านที่สนใจที่จะทำเป็นอาชีพเสริม
หลังจากเสร็จงานในบ้าน ได้มารวมตัวจัดตั้งกลุ่มฯ ขึ้น ปัจจุบันกลุ่มอาชีพทำเครื่องถมเงินบ้านบางหว้า ได้ขึ้นทะเบียนเป็นกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ OTOP ของอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นสนองต่อความต้องการของลูกค้ากลุ่มฯ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ/จังหวัด หน่วยงานราชการต่าง ๆ โดยการแนะนำ ส่งเสริม สนับสนุน ในด้านต่างๆ เช่น การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การ แสดง/จำหน่ายสินค้าในงานเทศกาลต่างๆ
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเงิน มีการออกแบบเส้นลวดลายอันอ่อนช้อยสวยงาม มีความประณีตและทำด้วยเงินแท้ เป็นเอกลักษณ์จำเพาะ ภูมิปัญญา ทั้งในรูปแบบเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ รวมไปถึงการประยุกต์ลวดลายและเติมดีไซน์ให้เหมาะกับยุค เพื่อให้เกิดความทันสมัยมากยิ่งขึ้นกับปัจจุบัน และสามารถประยุกต์เข้ากับแฟชั่นต่างๆ ได้อย่างลงตัวและสวยงามตามยุคสมัยใหม่ได้ ลักษณะเด่นอย่างเห็นได้ชัดจะออกแบบลวดลายคล้ายกับ ดอกพิกุล ซึ่งแบบลายนี้จะไม่ซ้ำและเหมือนกับที่อื่น เป็นลายเฉพาะที่คิดค้นขึ้นมาเอง และเป็นที่นิยมของลูกค้าทั้งในและนอกประเทศเป็นอย่างมาก
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1. เนื้อเงิน
2. ทองเหลือง
3. ทองแดง
4. น้ำประสาน
5. น้ำยาถม
ขั้นตอนการผลิต
นำเม็ดเงินมาหลอมละลายเป็นแท่ง เสร็จแล้วก็นำไปรีดกับเครื่องรีด ให้ได้ขนาดและแบบงาน ที่เราคิดและออกแบบไว้ พร้อมที่จะขึ้นเป็นตัวเรือนลักษณะที่ออกมาจะเป็นเส้นลวดก่อน เมื่อได้เงินเส้นลวดแล้วนำมาม้วนเป็นขนาดต่าง ๆ แล้วตัดออกมาเป็นชิ้น มาประกอบเป็นรูปทรงต่าง ๆ ของแต่ละแบบเช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ต่างหู ฯลฯ
เมื่อได้เป็นรูปงานต่าง ๆ เสร็จแล้วก็นำมาต้มกับสารส้มและเข้าเครื่องล้างให้ขาวแวว และเมื่อเอาออกจากเครื่องล้างก็นำมาเป่าให้แห้งตกแต่งให้สะอาดก็เป็นการเสร็จสิ้น สามารถนำใส่กล่องบรรจุภัณฑ์พร้อมที่จำหน่ายต่อไป
1. การหลอมเงิน
2. ก้อนเงินที่หลอมเสร็จแล้ว
3. นำเงินเข้าเครื่องรีด
4. เงินที่รีดเสร็จจะออก
5. นำเส้นลวดมาม้วนเป็น
6. นำเงินที่ม้วนเสร็จแล้วมาตัดเป็นเส้นลวดขนาดต่างๆเป็นรูปต่างๆเพื่อนำมาประกอบ
7. นำมาเชื่อมประกอบ
8. เมื่อได้รูปแบบที่ต้องการ
9.หลังจากออกจาก
10. เมื่อล้างเสร็จเป็นตัวเรือนเข้าเครื่องล้างเครื่องล้างทำให้แห้งเพื่อให้เครื่องเงินนำเครื่องเงินโดยเครื่องเป่าผมเกิดความแวววาว มาล้างกับน้ำยาอีกครั้งหนึ่ง
เทคนิค/เคล็ดลับการผลิต
เนื้อเงินจะผสมทองแดงในปริมาณที่พอเหมาะ (2%) ซึ่งถ้าผสมในสัดส่วนที่มากเกินไปจะทำให้ก้อนเงินที่ออกมาจะมีลักษณะแข็ง และจะทำให้ม้วนดอกออกแบบลวดลายยากและจะไม่ได้เป็นรูปที่อ่อนช้อยงดงาม พร้อมทั้งในขณะเชื่อมเป็นตัวเรือนจะเปิดใช้ไฟเชื่อมที่อ่อนไม่แรงจนเกินไปเพราะจะทำให้เข้ารูปขณะออกแบบได้ง่าย ถ้าไฟแรงเกินไปยากต่อการออกแบบ
ใส่ความเห็น
Comments 0