เม็ดบัวอบกรอบแม่จรูญ
เม็ดบัวอบกรอบแม่จรูญ จังหวัดพิจิตร
ประวัติความเป็นมา
เริ่มแรกจากการได้มาขายของฝากและของที่ระลึกภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินหรือบึงสีไฟ จึงทำให้ตัวประธานกลุ่มซึ่งในขณะนั้นยังไม่ได้ดำรงตำแหน่ง ได้มองเห็นว่าภายในบึงสีไฟนั้นมีการทำนาบัวกันเป็นอย่างมากทั้งยังได้สัมผัสกับผู้ที่ประกอบอาชีพทำนาบัว จึงทำให้ทราบปัญหาที่ชาวนาบัวประสบกันอยู่ว่าในการเก็บขายแต่เฉพาะบัวอ่อน ใบบัว รากบัวและบัวสาย ( บัวที่เอาสายมากินได้ ) ทำให้ขายได้ไม่หมดและยังเก็บผลผลิตมาขายไม่ได้ทุกวันทำให้เกิดการเสียหายทางผลผลิต จึงทำให้เกิดปัญหาการว่างงานและคุณภาพชีวิตตกต่ำภายในชุมชนเกิดการย้ายถิ่นเพื่อเข้าไปหางานทำในเมืองใหญ่
ทางคุณ จรูญ(กาญจนา) สวัสดิกุล จึงได้หาแนวทางในการนำผลผลิตที่มีในชุมชนมาแปรรูปให้เกิดคุณค่าและมีราคามากขึ้นจึงได้ปรึกษากับทางคุณ ชูฉัตร สวัสดิกุล ซึ่งเป็นสามีและมีประสบการณ์ในการเดินทางไปในต่างจังหวัดต่างๆ ทำให้พบเห็นว่าบัวสามารถนำมาแปรรูปแทนได้ และยังได้นำองค์ความรู้ที่มีในชุมชนและประสบการณ์ของชาวนาบัวมาประยุกต์ใช้
โดยเริ่มแรกได้นำเม็ดบัวมาทำเป็นขนมก่อน แต่ก็ยังไม่พบความแปลกใหม่ในรสชาติ จึงได้ลองทำเป็นอาหาร เช่น แกงเม็ดบัว แต่ก็ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดมากนัก จนมีผู้รู้ท่านหนึ่งได้แนะนำให้นำเม็ดบัวไปลองทอดดู เพราะคนในสมัยก่อนเวลาจะกินเม็ดบัวจะนิยมนำไปทอดกัน จึงได้ทดลองทำดูก็ได้รสชาติที่ดีขึ้นแต่ยังประสบปัญหาว่า เม็ดบัวยังอมน้ำมันอยู่มากและสีของเม็ดบัวไม่สวย ( มีสีคล้ำจากการอมน้ำมัน ) จึงได้ทดลองนำไปอบดูปรากฎว่ามีรสชาติที่ดีขึ้นมาก และมีสีสันสวย
จึงได้คิดริเริ่มพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์มาโดยตลอด จนเป็นที่รู้จักในจังหวัด และเริ่มแพร่ขยายเป็นที่รู้จักกันในประเทศ โดยผ่านการคัดสรรค์ผลิตภัณฑ์ OTOP และได้ออกบูธแสดงสินค้าในงาน OTOP ทุกๆ ปี และสิ่งที่ลืมไม่ได้เลยคือ ต้องการนำลูก หลาน ตลอดจนคนในชุมชนกลับมาคืนถิ่น และช่วยสร้างงาน สร้างรายได้เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นให้ดีมากขึ้น
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
ลักษณะที่โดดเด่นของผลิตภัณฑ์เม็ดบัวอบกรอบแม่จรูญ คือ กรอบ หอม มัน อร่อย ถูกหลักอนามัย เพราะใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น ผ่านการแปรรูปที่ได้มาตรฐานการผลิต อย่างสะอาด ถูกหลักอนามัย จึงเป็นสินค้าที่ผู้คนสนใจเป็นจำนวนมาก
1. แรงงานคน
2. เม็ดบัว
3. อุปกรณ์ในการแปรรูปเม็ดบัว (เช่น กระทะ เตาแก็ส ถาด กระมัง เป็นต้น)
4 . น้ำมัน
5. บรรจุภัณฑ์
ขั้นตอนการผลิต
1.กระบวนการนำเม็ดบัวออกจากฝัก
2.ทำการคัดแยกเม็ดบัวเล็กและเสียออก
3.นำเม็ดบัวที่คัดแล้วมาทำการผ่าแยกเปลือกออก
4.นำเม็ดบัวที่คัดแล้วมาทำการผ่าแยกเปลือกออก
5.ทำการคัดแยกดีบัวออกจากเม็ด
6.นำเม็ดบัวที่ได้ไปทำการล้างด้วยน้ำสะอาด
7.นำเม็ดบัวที่ล้างน้ำแล้วไปทอดน้ำมัน 3 ถึง 5 นาที
8.นำเม็ดบัวไปเข้าเครื่องเพื่อทำการอบกรอบ
9.นำไปบรรจุพร้อมออกจำหน่าย
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
เม็ดบัวที่ใช้แปรรูปต้องเป็นเม็ดบัวที่แก่ เม็ดบัวแก่ คือ เม็ดบัวที่ผ่าออกมาแล้ว มีดีบัว (สีเขียวที่อยู่ตรงกลางเม็ดบัว) เป็นสีเขียวเข็ม เนื้อบัวจะแข็ง รสชาติบัวจะออกมันๆ เวลาทอดออกมาแล้วจะทำให้เม็ดบัวดูสวยน่ารับประทาน ที่สำคัญการใช้น้ำมันใหม่ในการทอดทำให้รสชาติของบัวหอม กรอบ อร่อย มาก และต้องทอดที่ไฟไม่แรงมากจนเกินไป เพราะจะทำให้บัวไหม้ได้
ใส่ความเห็น
Comments 0