ผ้าไทลื้อ

ผ้าไทลื้อ  จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติความเป็นมา

กลุ่มคนไทยลื้ออาศัยอยู่ ในสิบสองปันนา และลุ่มน้ำโขงปัจจุบันไทยลื้ออพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในล้านนา โดยเฉพาะจังหวัดพะเยา เชียงราย ลำพูน และเชียงใหม่

นายไชยมงคล จันทร์ตา มีความสนใจศึกษาข้อมูลและสะสมของใช้และเครื่องแต่งกายของคนไทยลื้อ จากอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของเครื่องแต่งกายชุดไทยลื้อ ที่เน้นสีสันด้วยแถบผ้าสี จึงนำจุดเด่นนั้นมาออกแบบเป็นเสื้อชนเผ่าไทยลื้อประยุกต์ มีทั้งเสื้อสตรี และบุรุษ ผ้านุ่งสตรีและกางเกงได้รับความนิยม ใช้ในชุดการแสดงทางวัฒนธรรมของงานต่างๆและใช้เป็นชุดพื้นเมืองทั่วไป ด้วยความหลากหลายรูปแบบ

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
ชุดไทยลื้อมีแถบสีสดใส สวยงาม และสีดำ สีกรมท่า ประยุกต์ประดับด้วยกระดุม เชือกผูก สวยงาม ดูหรูหราเมื่อสวมใส่ทั้งบุรุษ – สตรี

ขั้นตอนการผลิต
1. การออกแบบ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์
2. การทำแพทเทิร์น
3. การตัดเย็บ / เย็บผ้า ตามแบบแพทเทิร์น
4. ตกแต่งและเก็บรายละเอียด
5. ตรวจสอบชิ้นงาน / รีดผ้าให้เรียบร้อย
6. บรรจุสินค้าใส่ในหีบห่อเพื่อจะนำไปจำหน่าย

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
เลือกผ้าฝ้าย ผ้าทอคุณภาพในการตัดเย็บชุดไทยลื้อและมีการควบคุมคุณภาพไม่ให้ผ้าตกสี ด้วยการซักและอบ  การเลือกวัสดุที่มีคุณภาพจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ออกมาสีสดและสวยงาม

ผ้าฝ้ายทอมือลายน้ำไหลยกดอก  จังหวัดน่าน
สังคมของชุมชนบ้านเฟือยลุง โดยทั่วไปเป็นสังคมของชาวชนบท ชาวบ้านมีความคุ้นเคยกันช่วยเหลือเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ไปมาหาสู่กันเสมอเสมือนเป็นญาติพี่น้องเดียวกัน เมื่อมีกิจกรรมส่วนรวมหรืองานส่วนตัวทุกคนในหมู่บ้านจะมาช่วยกันเสมอ

บ้านเฟือยลุง มีการทอผ้ามาตั้งแต่บรรพบุรุษเพราะในสมัยก่อนการทอผ้าเป็นหน้าที่ของผู้หญิงเพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มประจำครัวเรือนและสำหรับใช้ในงานพิธีต่างๆ อีกทั้งยังใช้นำไปถวายวัด สำหรับทำบุญ

คุณมรกต คัญใหญ่ คนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นลูกหลานของชาวบ้านเฟือยลุง ได้เล็งเห็นว่าคนในหมู่บ้านมีฝีมือการทอผ้าที่ประณีตงดงาม มีความคิดที่จะอนุรักษ์ผ้าทอซึ่งเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษให้คงอยู่สืบต่อไป จึงเริ่มมีการรวบรวมสมาชิกที่มีความรู้ความสามารถด้านการทอผ้าพื้นเมืองที่มีความรู้เรื่องทอผ้าลายน้ำไหล ผ้าลายน้ำไหล–ไทลื้อ ผ้าลายไทลื้อ ตั้งเป็นกลุ่มสตรีอนุรักษ์ผ้าน่าน ขึ้น

 

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
ผ้าทอของกลุ่มสตรีอนุรักษ์ผ้าน่านเป็นผ้าทอที่มีความสวยงาม มีการประยุกต์ให้มีสีสันและลวดลายที่สวยงามทันสมัยสามารถสวมใส่ได้ในทุกโอกาส และยังมีการนำไปประยุกต์เป็นของใช้ของตกแต่งอีกมากมาย มีผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายสามารถใช้ได้ทุกเพศทุกวัย

วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1. กี่เมือง

2. สวย

3. เฝื่อขอ

4. ฟืมเหล็ก

5. กรอ

6. ผัดหลอด

7. เผื่อน

8. ไม้หลาบ

9. ไม้ยกดอก

10. เส้นใยประดิษฐ์/เส้นฝ้าย

ขั้นตอนการผลิต
1. ฝ้ายที่เตรียมไว้

2. ม้วนกรอหลอด

3. ขึ้น Roll ไม้อัน

4. เข้าที่สอดด้าย

5.เข้าตะกอ(ฟืม)

6. ทอด้วยกี่เมือง

7. ผลิตภัณฑ์

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
1. กลุ่มฯ มีการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบหลากหลาย สมาชิกกลุ่มมีความสามารถ ทักษะฝีมือและความชำนาญใกล้เคียงกัน

2. กลุ่มฯ เน้นผลิตผลิตภัณฑ์ที่ย้อมฝ้ายจากสีธรรมชาติ ซึ่งเป็นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัตถุดิบในท้องถิ่นมาใช้ผสมผสานกันให้เกิดมูลค่า

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: