ทอผ้าพื้นเมืองลายเชียงแสน

กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองลายเชียงแสน   จังหวัดเชียงราย

ประวัติความเป็นมา
เนื่องมาจากเชียงแสนหรือเมืองหิรัญยาง เป็นเมืองของอาณาจักรล้านนา มีกษัตริย์ปกครองสืบกันมา มีความเจริญทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และพุทธศาสนา มีอารยะธรรมสูงส่ง ทั้งด้านภาษา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี

เมื่อถึงพุธศักราช 2347 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งได้โปรดให้กรมหลวงเทพหริรักษ์และพระยายมราชได้ยกทัพมาตีเมืองเชียงแสน และกวาดต้อนผู้คน 23000 คน ลงไปไว้เมืองเชียงใหม่ส่วนหนึ่ง เมืองน่านส่วนหนึ่ง เมืองลำปาง เมืองหลวงพระบาง ส่วนที่เหลือไป กรุงเทพ โปรดให้อยู่ที่เมืองราชบุรี และเมืองสระบุรี เมื่อไปก็ได้นำเอกลักษณ์ศิลปะทอผ้าเชียงแสนไปเผยแพร่ที่เมืองนั้นๆด้วย

ในปี พ.ศ. 2529 กลุ่มแม่บ้านสบคำได้รวมตัวกันและจัดตั้งกลุ่มทอผ้าด้วยกี่กระตุก โดยมีเจ้าหน้าที่จากสำนักอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย เข้ามาทำการฝึกอบรมการทอผ้า แก่สตรีในหมู่บ้าน จำนวน 60 คน มีกี่ทั้งหมด 10 หลัง ทำการฝึกอบรมเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากฝึกอบรม กลุ่มสตรีได้ทำการทอผ้าตลอดมาโดยมีนางอารีย์ ทองผาง เป็นประธาน กลุ่ม ลวดลายที่ทอกันนั้นได้แก่ ลายน้ำไหล ลายกี่ตะกอ ลายตาราง แต่มีปัญหาด้าน การตลาด คือ ไม่มีสถานที่จำหน่าย

เมื่อปี พ.ศ. 2539 พระครูไพศาลพัฒนาภิรัต เจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงา ได้ศึกษา ประวัติเมืองเชียงแสน ทำให้ทราบว่าในสมัยอดีตมีการทอผ้าลวดลายเชียงแสนมาแต่ดั้ง เดิม แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปแล้ว ท่านพระครูไพศาลพัฒนาภิรัตจึงได้ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ ขึ้นเพื่อรวบรวมผ้าทอเชียงแสนและถิ่นใกล้เคียง จึงได้สืบแหล่งทอผ้าเชียงแสนพบว่า ปัจจุบันมีการทออยู่ที่ราชบุรี จึงได้เดินทางพร้อมด้วยสมาชิก เพื่อไปศึกษาลายผ้า และ นำมาเป็นตัวอย่างในการฝึกทอผ้าที่อำเภอแม่แจ่ม จึงได้จัดตั้งกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง เชียงแสน มีสมาชิก 100 คน หลังจากนั้นในปี 2540 ศูนย์ ก.ศ.น. เชียงแสน ได้งบประมาณ ซื้อวัสดุและจัดหาครูมาสอน ทำให้กลุ่มอาชีพมีความเข็มแข็งขึ้นตามลำดับ สามารถถ่าย ทอดความรู้ให้แก่สมาชิกใหม่ที่มีความสนใจได้

บรรยากาศการเรียนภายในวัดพระธาตุผาเงา และ ก.ศ.น. อ.เชียงแสน จึงได้ร่วม มือกันจัดให้มีความหลากหลายเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายทั่วไปไม่จำเพาะเจาะจง กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดขึ้นอยู่กับความสนใจและความต้องการของบุคคลนั้นๆ วัดพระธาตุผาเงา จึงเป็นศูนย์การเรียนรู้ หรือ learning complex หรือตักศิลาเชียงแสนโดยสมบูรณ์


เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
ลักษณะที่โดดเด่นของผ้าทอพื้นเมือง ลวดลายเชียงแสน คือลวดลายการทอ และการจรด ลวดลายจะไม่เหมือนใคร ลวดลายดั้งเดิมสืบทอดจากปู่ย่า ของคนเชียงแสน มีอยู่ 5 ลายด้วยกัน ประกอบด้วย

1. ลายกาแล

2. ลายขอพันเสาร์

3. ลายไข่ปลา

4. ลายมะลิ

5. ลายเสือย่อย เนื้อผ้าแน่นสีไม่ตก

วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1.กี่

2.กระสวย

3.พันหวี

4.กวงพันด้าย

5.ฝ้ายดอก

6.เส้นด้าย

7.สีย้อมผ้า

8.อีด

ขั้นตอนการผลิต

นำฝ้ายมาอีดแยกเมล็ดออก แล้วเอาดอกฝ้ายมาตี หรือดีดให้เป็นผุย ๆ เสร็จแล้ว เอามาม้วน แล้วเอามาปั่นเป็นเส้นฝ้าย นำมาลงแป้งตากให้แห้ง กอเป็นเส้นด้วยยืน เอามาเดินทำเป็นด้านยืน แล้วเอามาแหย่เข้าพันหรี แล้วก็เก็บตะกอ เสร็จแล้วก็เริ่มทอพื้นธรรมดาก่อนพอม้วนได้ แน่นก็เริ่มทำลวดลายบนผืนผ้า สลับสีให้มีลวดลายสวยงาม

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
การเตรียมวัตถุดิบจะต้องพิถีพิถัน โดยผ่านกระบวนการต่างๆ จนได้เนื้อผ้าที่สวยงาม สมบูรณ์แบบคนทอจะต้องตรวจสอบทุกขั้นตอน ของการทอสลับสี การจกและริมผ้าเส้นด้าย พุ่งเส้นด้ายยืน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: