การทำผ้าหม้อห้อมย้อมสีธรรมชาติ

การทำผ้าหม้อห้อมย้อมสีธรรมชาติ จังหวัดแพร่

ประวัติความเป็นมา
เกิดจากการรวมกลุ่มของคนในชุมชนประกอบการเพื่อการจัดการกองทุนของชุมชนอย่างสร้างสรรค์ โดยคนในชุมชนเพื่อตอบสนองการพึ่งพาตนเอง และความพอเพียงของครอบครัวและชุมชน เกิดจากทุนของชุมชน ซึ่งมีทั้งทุนที่เน้นทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ทุนที่เป็นผลผลิต ทุนความรู้ภูมิปัญญา ทักษะต่างๆ ประเพณีวัฒนธรรม คน ความเป็นพี่น้อง ความไว้ใจของชุมชนและทุนเงินตรา จึงได้จัดตั้งเป็นกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนหม้อห้อมทุ่งเจริญย้อมสี ธรรมชาติเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2548 และได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2548 มีสมาชิกเริ่มจัดตั้งจำนวน 7 คน ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด  25 คน มีที่ทำการอยู่บ้านเลขที่ 291 หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ สมาชิกส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทำผ้าหม้อห้อมที่ผลิตมาจาก โรงงาน ปัจจุบันได้นำเอาภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษของคนพวนบ้านทุ่งโฮ้ง ที่ถ่ายทอดกันมารุ่นสู่รุ่นในการทำผ้าหม้อห้อมสีธรรมชาติ ซึ่งได้จากธรรมชาติ เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านในการทำหัตถกรรมสิ่งทอย้อมสีห้อมธรรมชาติ เป็นการพัฒนาผ้าหม้อห้อมให้ไปสู่สากล และรักษาความเป็นอัตลักษณ์ ของผ้าหม้อห้อมให้ยั่งยืน และสืบทอดต่อไป เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์ ผ้าหม้อห้อมของดีจังหวัดแพร่ มีเอกลักษณ์จำเพาะของผ้าหม้อห้อม เป็นเส้นใยฝ้ายธรรมชาติย้อมสีธรรมชาติ ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นจากการนำเอาใบห้อม ซึ่งเป็นพืชประจำถิ่น ผสมผสานกันอย่างลงตัวด้วยกรรมวิธีการย้อมตามสูตรโบราณ ผ่านกระบวนการทอด้วยมือผสมกับอารยธรรมท้องถิ่น และเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ก่อกำเนิดเป็นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าอาภรณ์ เรียกขานกันว่า “เสื้อหม้อห้อม” พร้อมทั้งพัฒนาไปสู่สากล เป็นผลิตภัณฑ์สูทหม้อห้อม ซึ่งสามารถ สร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอันเลื่องชื่อจนเป็นที่ยอมรับของชาวไทย ชาวต่างชาติที่แวะเข้ามาชนและเลือกซื้อ วัตถุดิบและส่วนประกอบ1. น้ำด่างเข้มข้น (น้ำขี้เถ้า) 2. ห้อมเปียกหรือครามเปียก 1 ลิตร3. น้ำซาวข้าว 2 ลิตร (ข้าวเหนียว) 4. ปูนขาว 300 กรัม5. น้ำมะขามเปียก 200 มิลลิตร 6. โอ่งหรือหม้อขนาดใหญ่ ใช้สำหรับผสม (ก่อ) น้ำห้อม ขั้นตอนการผลิต 1. กวนน้ำต่างเข้มข้นเนื้อห้อมหรือเนื้อครามเปียกให้เข้ากัน 2. เติมน้ำซาวข้าว ปูนขาว และน้ำมะขามเปียกลงไป 3. กวนส่วนผสมทั้งหมดให้เป็นเนื้อเดียวกัน ประมาณ 30-40 นาที หรือจนกระทั่งเกิดฟองสีน้ำเงินเข้ม 4. ตั้งทิ้งไว้และล้างทุกวัน วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จนกระทั่งค่า pH ของน้ำย้อมลดลงเหลือ 10.0 – 10.5 โดยที่น้ำย้อมจะต้องมีสีน้ำเงินเข้ม และมีตะกอนสีเหลืองขมิ้น แสดงว่าน้ำย้อมนั้นสามารถย้อมผ้าและฝ้ายได้ 5. นำฝ้ายมารีดเอาเมล็ดออก6. นำฝ้ายที่ไม่มีเมล็ดดีให้ฟู 7. นำฝ้ายมาปันให้เป็นเส้นด้าย8. นำไปทอใส่กี่กระตุก (ทอหูก) เป็นผืนผ้า 9. เตรียมสารละลายผงซักฟอกอัตราส่วน 1% โดยใช้ผงซักฟอกสูตรซักมือ 10 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร (สบู่ลาย 10 ก้อน) นำไปต้มที่อุณภูมิที่  60 – 70 องศาเซลเซียส 10. นำผ้าหรือฝ้ายที่เตรียมไว้ลงไปต้ม ประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง 11. ทิ้งไว้ให้เย็น นำไปซักในน้ำจนค่า pH เหลือประมาณ 7-8 แล้วบิดตากให้แห้ง 12. นำฝ้ายหรือผ้าที่เตรียมไว้ลงไปแช่ในน้ำสะอาดและบิดพอหมาด 13. นำฝ้ายหรือผ้าที่เตรียมไว้ลงย้อมในหม้อห้อม ใช้มือบีบหรือขยำผ้าฝ้ายหรือในน้ำย้อมประมาณ 5 – 10 ครั้ง 14 บีบน้ำย้อมออก น้ำไปแช่ลงในสารละลายสารส้ม หรือสารละลายไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์หรือ เพื่อ Fixing 1 – 2 นาที บิดขึ้นตากในร่ม  ไม่ให้โดนแสงแดด 15. ตากไว้ประมาณ 20 นาที จากนั้นนำหมักไว้ในถุงพลาสติก รอจนกระทั่งไว้เวลาย้อมครั้งต่อไป นำฝ้ายหรือผ้าที่ย้อมเสร็จในแต่ละครั้งลงแช่ ในสารละลายที่เตรียมไว้ 1-2 นาที แล้วบิดตาก เตรียมสารละลายที่ต้องการ fixning ดังนี้ – สารละลายสารส้ม 10 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร – สารละลายไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ 5 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตรเทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต ย้อมจากสีธรรมชาติ ย้อมแล้วสีไม่ตก

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: