ไม้กวาดดอกแก้ว
ไม้กวาดดอกแก้ว จังหวัดพะเยา
ประวัติความเป็นมา
ไม้กวาด คือ อุปกรณ์สำหรับให้ในการทำความสะอาดที่อยู่คู่กับคนไทยเรามาช้านาน ทุกบ้านต้องมีไว้เพื่อทำความสะอาดบ้าน หรือปัดอยากไย่ เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งเป็นพื้นความรู้ความสามารถที่ได้รับการสั่งสมถ่ายทอดกันมา นำมาปรับใช้รวมกับความรู้ และประสบการณ์ของตนเอง ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง รวมถึงชาวบ้านในท้องถิ่น สืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษจนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตอันยาวนาน
ไม้กวาดดอกหญ้า ทำมาจากดอกหญ้าที่เรียกว่าดอกหญ้าก๋ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเก็บได้ในช่วงเดือนธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์ แต่ในช่วงที่ดอกออกมากที่สุด จะอยู่ในช่วงต้นเดือนมกราคม ดอกหญ้าก๋งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อยู่ตามเชิงเขา หรือพื้นที่สูง ซึ่งการทำไม้กวาดดอกหญ้าเป็นการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ เวลาว่างหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวไร่เสร็จแล้ว ก็จะใช้เวลาว่างทำไม้กวาดไว้ใช้ในครัวเรือน และบางส่วนก็จะทำไม้กวาดเป็นอาชีพเสริม จำหน่ายภายในชุมชน เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว ต่อมามีชุมชนใกล้เคียงมาเห็นก็ขอซื้อไปใช้ เมื่อชาวบ้านเห็นว่าทำแล้วขายได้ จึงเก็บดอกหญ้าก๋งไว้ทีละมากๆ เพื่อทำขายให้กับชุมชนใกล้เคียง จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ของตำบลไปโดยไม่รู้ตัว
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
กลุ่มอาชีพไม้กวาดลายดอกแก้ว ได้มีการนำวัตถุดิบมาใช้ในการผลิต ได้แก่ ไม้ไผ่ที่อยู่มากในท้องถิ่น และดอกหญ้าก๋ง เพื่อการสร้างงาน สร้างรายได้ และนำไปสู่เป้าหมายของการกินดีอยู่ดี คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และมีการใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่า สามารถนำเศษวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตไม้กวาดลายดอกแก้วที่เป็นสินค้าหลัก มาผลิตเป็นสินค้ารอง ได้แก่ ปากกา ที่เสียบปากกา และกล่องไม้จิ้มฟัน
1. ไม้ไผ่
2. ดอกหญ้าก๋ง
3. เชือกไนล่อน
ขั้นตอนการผลิต
1. นำดอกหญ้าก๋งมาตากให้แห้งแล้วทุบเกสรของก๋งออกให้หมด แล้วนำมาอัดขนาดความยาวให้ได้ 4 ขนาด แล้วนำก๋งมามัดรวมกันให้ได้ 9 ลูกแต่ละลูกให้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว
2. นำต้นข้าวฟ่าง มาพันรอบกับก๋งทั้ง 9 ลูก แล้วนำไม้ไผ่แหลม มาเสียบตรงกลางทั้ง 9 ลูกเรียงกันแล้วจัดให้สวยงาม แล้วใช้ด้ามไม้ไผ่ ตรงปลายตัดเป็นปากฉลามเสียบตรงกลางลูกก๋งที่เสียบเรียงไว้แล้วเอาฟางรวบเข้าหาด้ามไม้ไผ่แล้วรัดติดกันให้แน่น จากนั้นจึงเริ่มถักลายดอกเพื่อเป็นสัญญาลักษณ์จากนั้นจะดัดลายอะไรก็แล้วแต่ความถนัด
ใส่ความเห็น
Comments 0