ผลิตภัณฑ์กะลา

ผลิตภัณฑ์กะลา  จังหวัดลำปาง

ประวัคิความเป็นมา
เริ่มแรก คือ ทางกลุ่มมีความต้องการที่จะหารายได้เสริมภายในครอบครัว ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ในช่วงปี พงศ. 2546 มีการรวมตัวคุยกันภายในกลุ่มปรึกษาหารือและหางานเสริมเพื่อช่วยเหลือในครอบครัวช่วยเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน เริ่มแรก กลุ่มก็ได้มีการคัดเลือกคณะกรรมการขึ้นมาซึ่งได้คัดเลือก นางเฉลียว เป็งบุญมา เป็นประธานกลุ่ม ทางกลุ่ม ได้ซื้อกระบวยมาเป็นตัวอย่างและทางกลุ่มก็ได้ฝึกหัดทำกระบวยพอมีความชำนาญและมีคนมาแนะนำซึ่งเป็นลูกค้าของกลุ่มชื่อ นายอ๊อด บ้านศาลาดงลาน ได้นำสินค้าจากกะลามะพร้าว คือ กระดุม กระเป๋ากะลามาสอนให้จึงได้มีข้อคิดที่จะหาตลาดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกะลาเป็นการที่ลงทุนต่ำและมีวัตถุดิบในบ้านเราและหาได้ง่าย พอปี พ.ศ. 2546  งานของกลุ่มก็เริ่มเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทางกลุ่มได้ประสานงานกับทางอุตสาหกรรมจังหวัด ทางอุสาหกรรมได้แนะนำให้ไปขึ้นทะเบียนกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเกาะคา เมื่อปี 2547 และได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อขอรับมาตรฐาน

ต่อมาทางกลุ่มได้ประสานงานกับอุตสาหกรรมเพื่อขอยืมเงินมาลงทุน จำนวน 20,000 บาท เพื่อนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ทางกลุ่มได้คัดเลือกกระเป๋ากะลามาเข้าคัดสรรเมื่อปี พ.ศ. 2549 ผลประกาศดาวระดับประเทศ คือระดับ 2 ดาว การเปลี่ยนแปลงกิจการของกลุ่ม

ทางกลุ่มมีการรับสมาชิกเพิ่มขึ้น และเพิ่มตลาดของสินค้าได้ขยายผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย คือทับพี ตะหลิว แก้ววาย และส่วนที่เหลือก็นำมาทำเป็นโมบาย และทำเป็นของฝากและทางกลุ่มก็รับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มไปทำที่บ้านของตนเองพอเสร็จแล้วนำมาส่งที่กลุ่มประกอบกับทางกลุ่มได้ออกงานมากขึ้นจึงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นการต้องการของตลาด และกลุ่มก็ได้รับออร์เดอร์เพิ่มมากขึ้นมาตลาดพร้อมกับพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่ตลาดเวลา

ทางกลุ่มได้พัฒนากะลามะพร้าวมาเป็นสร้อยคอที่หลากหลายรูปแบบ ก็เป็นที่ถูกใจของลูกค้าจึงมีการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก ทางกลุ่มก็ได้ส่งเข้าคัดสรรเมื่อปี 2553 ผลประกาศดาวก็คือ ระดับ 5 ดาวระดับประเทศ ได้ออกงานที่เมืองทองธานี มีการสั่งจองมากขึ้นและกลุ่มก็ดีใจที่ได้ยอดจำหน่ายเป็นที่น่าพอใจ ของสมาชิกกลุ่มและลูกค้าจนถึงปัจจุบัน

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

เป็นผลิตภัณฑ์ที่หาได้ง่าย วัตถุดิบในพื้นบ้านและเป็นภูมิปัญญาของคนสมัยโบราณพร้อมกับทางกลุ่มได้นำเอากะลามะพร้าวมาทำเป็นสร้อยคอประจวบเหมาะกับเป็นแฟชั่นของคนสมัยนี้ ใช้เป็นเครื่องประดับเพื่อออกงานและใช้กับคนทุกวัย

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

  1. กะลามะพร้าว
  2. เครื่องตัด
  3. ใบเลื่อย
  4. ปากกา
  5. กระดาษทราย
  6. สีเคลือบเงา
  7. เครื่องเจียร

ขั้นตอนการผลิต
            ขั้นตอนที่ 1 ตัดกะลามะพร้าวตามความต้องการ ขัดให้เรียบแล้วนำมาวาดรูปผลิตภัณฑ์ตามที่ต้องการแล้วนำเข้าสู่ขั้นตอนการแปรรูป
ขั้นตอนที่ 2 ตัดกะลาตามความต้องการที่จะผลิตเป็นรูปสินค้าตามความต้องการของสมาชิกที่นำกะลามาผลิตในแต่ละชิ้นงาน ตัดให้ได้ขนาด แล้วนำมาวาดรูปตามแบบแล้วขัดให้เรียบ

ขั้นตอนที่ 3 การเข้ารูปผลิตภัณฑ์กะลาด้วยเครื่องขัดหินเจียร นำกระดาษทรายเบอร์ ๖๐ มาติดหินเจียรให้สนิท นำกะลาที่วาดเสร็จแล้วมาขัดให้เรียบและละเอียด
ขั้นตอนที่ 4 นำเอากะลาที่ขัดเสร็จแล้วมาร้อยเป็นเข็มขัดหรือเป็นผลิตภัณฑ์ตามความต้องการที่กลุ่มจะทำ เช่น กระเป๋าก็ต้องน้ำมาประกบกันแล้วจึงใส่สาย
ถ้าเป็นเข็มขัดก็ต้องน้ำกะลามาร้อยติดกันให้ได้ความยาวตามขนาดที่ต้องการสลัดกะลาเล็กและขนาดใหญ่ให้สวยงามยาวตามความต้องการ

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

1. การขัดเทคนิคตอนขัดกะลาให้เรียบเพราะจะทำสีให้ได้เสมอ

2. การคัดเลือกกะลาต้องให้ขนาดเท่ากันจะทำให้สร้อยขนาดและสีเสมอกัน

3. สีของกะลาให้ได้มะพร้าวแก่ขนาดเท่ากันจะได้สลักสีได้สวยงาม

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: