ของที่ละลึกจากกะลามะพร้าว

งานประดิษฐ์ของที่ละลึกจากกะลามะพร้าว  จังหวัดพะเยา


ประวัติความเป็นมา
งานประดิษฐ์ของที่ระลึกจากกะลามะพร้าว บ้านทุ่งรวงทอง หมู่ที่ ๙ ตำบลทุ่งรวงทอง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ในสมัยก่อนใช้กะลามะพร้าวทำเป็นกระบวยไว้ตัดกินน้ำ ซึ่งทุกครัวเรือนจะมีกระบวยเป็นภาชนะไว้ตักน้ำกิน ซึ่งจะมีผู้สูงอายุทำใช้กันเองในครัวเรือน บ้างคนก็ทำพอใช้งานได้บางคนก็ทำอย่างสวยงาม มีลวดลาย ฝีมือประณีต หากทำแล้วมีความสวยงามบางครั้งคนเห็นว่าสวยก็อยากได้ บางครั้งก็ได้ขาย จึงเป็นที่มีของงานประดิษฐ์กะลามะพร้าว เกิดความคิดว่าหากนำมาประดิษฐ์ เพิ่มความสวยงาม สร้างความแปลกใหม่และปรับเปลี่ยนรูปแบบให้มีหลากหลายและใช้งานได้หลายอย่าง

จากแนวคิดดังกล่าวเห็นว่ากะลามะพร้าว บางครั้งไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ ทั้งโดยเปล่าประโยชน์จึงเก็บกะลามะพร้าวจากแหล่งชุมชนมาประดิษฐ์เป็นรูปแบบต่างๆลองผิดลองถูก ทำหลากหลายสไตส์ ครั้งแรกนำกะลามาประดิษฐ์เป็นช่อไฟ เมื่อผู้คนพบเห็นบอกว่าสวยดีนะทำไมไม่ทำขาย นับจากนั้นมาจึงเริ่มมีแนวคิดหากทำเป็นธุรกิจอาจทำให้ขายดี หลังจากนั้น ก็นำกะลามะพร้าวมาแปรรูปเป็นรูปแบบให้หลากหลาย เช่น โคมไฟต้องตา หีบกะลา กิ๊บ เอนกประสงค์ พวงกุญแจ ตุ๊กตาออมสิน แมงมุม กะเหรี่ยงคอยาว กะลาเทียนหอม

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
ลักษณะที่โดดเด่นของงานประดิษฐ์ของที่ระลึกจากกะลามะพร้าว คือเป็นงานฝีมือ ที่มีความประณีต มีรูปแบบที่หลากหลาย มีสีที่เป็นธรรมชาติและวัตถุดิบมาจากธรรมชาติ มีความคงทนเมื่อนำไปใช้งานไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1.กะลามะพร้าว

2.เชือกจากผักตบชวา

3.ไม้ไผ่ทำสลัก

4.กาว

5.อุปกรณ์ในการแกะลวดลาน

ขั้นตอนการผลิต
1.นำกะลามะพร้าวมาแกะลาย หรือทำลายฉลุ ลาดลายตามความต้องการ

2.นำเชือกจากผักตบชวามาพันรอบโครงไม้ไผ่เมื่อประกอบเป็นรูปร่างเพื่อไม่ให้เห็นไม้ไผ่และเพื่อความสวยงาน

3.เอาไม้ไผ่ทำสลัก แทนตะปู ซึ่งวัตถุดินทุกชนิดมาจากธรรมชาติ

4.ประกอบเป็นรูปแบบต่าง ๆ ตามความต้องการ

5.ใช้กาวบริเวณที่ทำให้ติดสนิท

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

เทคนิคหรือเคล็ดลับที่ใช้ในการผลิตและมัดใจลูกค้า คือการออกแบบที่แตกต่างและหลากหลายเพื่อให้ลูกค้าได้เลือก และหาซื้อที่อื่นไม่ได้  ลายที่แกะสลักจากแปลือกมะพร้าวเป็นรูปใบหน้าคนที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด คือการลายรูปใบหน้าคน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: