ลอดช่องสิงดโปร์แห้ง
ลอดช่องสิงดโปร์แห้ง จังหวัดนครราชสีมา
ประวัติความเป็นมา
การทำขนมลอดช่องของชาวบ้านโคกเสี่ยวมีการสืบสานองค์ความรู้มาจาก บรรพบุรุษมากว่า 100 ปี โดยเมื่อก่อนมีการทำลอดช่องไทยรับประทานกันในครอบครัว และแบ่งปันกันในชุมชน ขนมลอดช่องเป็นขนมหวานที่ชาวบ้านโคกเสี่ยวเลือกไว้เป็นขนมสำหรับรับเลี้ยง แขกงานบุญ งานเทศกาลต่าง ๆ ต่อมามีคนในหมู่บ้านได้มีโอกาสได้ไปเรียนรู้การทำขนมลอดช่องสิงคโปร์จากญาติ ผู้ใหญ่ในต่างจังหวัดจึงนำความรู้มาเผยแพร่ให้คนในหมู่บ้านได้เรียนรู้ และเป็นที่นิยมตั้งแต่นั้นมาเพราะมีขั้นตอนการทำที่ง่ายกว่าลอดช่องไทย ลูกหลานรุ่นต่อมาจึงได้นำลอดช่องสิงคโปร์มาดัดแปลงเป็นลอดช่องสิงคโปร์แห้ง เมื่อจำหน่ายได้ปริมาณมากขึ้นจึงได้รวมกลุ่มกันผลิตลอดช่องสิงคโปร์แห้งโดย นำสีจากพืชธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นมาปรุงแต่งให้มีสีสันน่ารับประทานยิ่ง ขึ้น มีกระบวนการผลิตที่ละอาด ถูกหลักอนามัย
ยายเม่า ผิวผาย อายุ 73 ปี คนเฒ่า คนแก่ ในหมู่บ้าน เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่เริ่มตั้งหมู่บ้านมากว่า 113 ปี เมื่อก่อนนั้นประชาชน โดยเฉพาะแม่บ้าน แม่เรือนในยุคนั้น จะชอบทำขนม ให้ลูกหลาน และคนในครอบครัวรับประทาน โดยทำขนมตาล ขนมลอดช่องไทยใบเตย ขนมบัวลอย
นางบุญเลี้ยง ทองดีนอก ประธานกลุ่ม กล่าวไว้ว่าความริเริ่มที่จะทำผลิตภัณฑ์นี้โดยเล่าว่าแรกเริ่มนั้น นางบุญเลี้ยง ทองดีนอก ได้ประกอบอาชีพเสริมโดยการทำขนมลอดช่องสิงคโปร์ หาบขายในหมู่บ้าน ต่อมาได้มีความคิดว่าการทำลอดช่องขายนั้นจะต้องขายให้หมดภายใน 1 วัน ไม่เช่นนั้นขนมจะเสีย จึงคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะทำลอดช่องให้อยู่ได้นาน จึงได้ขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่เคหกิจเกษตร จากสำนักงานเกษตรอำเภอคง จึงแนะนำว่าลองทำเป็นเส้นลอดช่องแห้ง นางบุญเลี้ยงจึงได้ทดลองทำลอดช่องแห้งด้วยตัวเอง ทดลองทำอยู่หลายครั้งในช่วงแรกยังทำไม่สำเร็จแต่ก็มีความพยายามหลายครั้งจน กระทั่งประสบผลสำเร็จ ต่อมาจึงได้รวมกลุ่มกันประมาณ 5 คน เมื่อเห็นว่าทำมาแล้วขายได้ดี จึงได้เริ่มจัดตั้งกลุ่มลอดช่องแห้งบ้านโคกเสี่ยว เมื่อ ปี พ.ศ.2545 มีสมาชิกก่อตั้ง จำนวน 8 คน แต่ก็ไปทำกันเป็นประจำ จำนวน 5 คน ร่วมกันผลิตลอดช่องสิงโปร์แห้งจำหน่าย โดยในระยะแรกนั้นยังไม่ได้ใส่สี ต่อมาได้มีสีสันเส้นลอดช่องโดยนำโดยการเอาพืชในท้องถิ่นมาตำแล้วคั้นนำจาก พืชมาใส่เป็นสีต่าง ๆ เช่น สีม่วงจากดอกอัญชัน , สีชมพูจากดอกเฟื่องฟ้า , สีเหลืองจากขมิ้น , สีเขียวจากใบเตย ต่อมาศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอคงได้นำกลุ่มฯไปศึกษาดูงานการทำ ลอดช่องแห้งที่จังหวัดระยอง กลุ่มฯ จึงได้มีการนำแป้งท้าวยายม่อมมาเป็นส่วนผสมเพิ่มเติมทำให้เส้นลอดช่องมี คุณภาพดีขึ้น
โดยในการถ่ายทอดความรู้นั้นจะมีการถ่ายทอดความรู้จากคนเฒ่า คนแก่มาสู่ลูกหลาน โดยเมื่อก่อนถ้ามีการทำขนมก็จะมีการเกณฑ์คนในครัวเรือน ลูกหลานบ้านใกล้เรือนเคียงมาช่วยกันทำ โดยผู้ใหญ่ที่มีความรู้ ความชำนาญก็จะฝึกให้ลูกหลานทำจนเป็น และลูกหลานก็จะสังเกตและจดจำกระบวนการ ขั้นตอนการทำและสอนสืบเนื่องกันมา เดิมนั้นชาวบ้านจะมีการทำขนมลอดช่องไทยทำรับประทานในครัวเรือน และแบ่งปันในหมู่บ้าน และเมื่อมีงานมงคลต่าง ๆ เช่นงานแต่งงาน งานบวช หรือแม้แต่ในงานศพก็จะมีการทำขนมลอดช่องไทยเลี้ยงแขกที่มาช่วยงาน นอกจากนั้นในงานบุญประเพณีของหมู่บ้าน เช่น ทอดกฐิน ผ้าป่า วันเข้าพรรษา ออกพรรษา ก็จะทำขนมลอดช่องไทยไว้เลี้ยงคนมาร่วมงานบุญประเพณี บางครั้งก็จะมีประเพณีลงแขกหรือนาวาน โดยจะมีการหมุนเวียนกันไปช่วยแรงงานในการไถนา ปลูกข้าว เกี่ยวข้าว ตีข้าว ก็จะมีเจ้าของบ้านซึ่งเป็นเจ้าภาพก็จะทำอาหารคาวหวานเลี้ยง อาหารคาว เช่น แกงหัวตาล แกงมัน แกงบอน แกงกระบุก ขนมจีน ส่วนอาหารหวานก็เป็นลอดช่องไทย ซึ่งขนมลอดช่องไทยก็นำข้าวจ้าวที่มีอยู่ในหมู่บ้านมาทำ
ปัจจุบันลอดช่องสิงคโปร์แห้งเป็นที่นิยมของตลาด เนื่องจากเก็บรักษาง่ายและวิธีรับประทานก็ไม่ยุ่งยาก เป็นของกินก็ถูกปาก เป็นของฝากก็ถูกใจ ลอดช่องสิงคโปร์แห้งบ้านโคกเสี่ยวใช้วัตถุดิบธรรมชาติพวกสีจากดอกไม้ต่าง ๆ ทำให้ลูกค้ามั่นใจในการรับประทาน
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
เป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูปเหมาะสำหรับแม่บ้านยุคปัจจุบัน เส้นลอดช่องเหนียวนุ่ม สีสันสวยงามจากพืชธรรมชาติทีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ปลอดภัยต่อผู้บริโภค สามารถเก็บไว้ได้นาน วัตถุดิบที่นำมาแปรรูปเป็นขนมลอดช่องแห้งนั้น ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น สีผสมจากธรรมชาติ เช่นดอกอัญชัน ใบเตย เฟื่องฟ้า ขมิ้น และพืชชนิดอื่นที่สามารถนำมาสกัดออกเป็นสีได้ ซึ่งพืชเหล่านี้จะปลูกกันทุกครัวเรือนอยู่แล้ว ไม่ต้องเสียเงินซื้อ และยิ่งในปัจจุบันเพิ่มปริมาณการผลิตมากขึ้น ก็เพิ่มพื้นที่การปลูกมากขึ้น โดยไม่ใช้สารเคมี ใช้ปูยอินทรีย์ ปุ๋ยคอกทำให้ปราศจากสารเคมีตกค้าง
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
- แป้งมัน
- แป้งท้าว (ท้าวยายม่อม)
- สีจากธรรมชาติ (ดอกไม้ สมุนไพรในชุมชนที่ให้สีต่างๆ)
ขั้นตอนการผลิต
- นำสีจากดอกไม้ มาล้างทำความสะอาด แล้วนำไปปั่น กรอง นำไปต้มให้เดือด
- ใช้แป้งมัน + แป้งท้าว + น้ำจากสีธรรมชาติเดือดจัด คลุกเคล้าให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว นำไปต้มอีก 2 นาที ตักออกมาคลุกเคล้าให้เข้ากันใหม่
- แล้วนำแป้งมาคลึงให้เข้ากัน ตัดเป็นชิ้นๆ นำมารีดเป็นแผ่นบางๆ ด้วยมือ
- นำแผ่นที่รีดด้วยมือแล้ว มารีดเครื่องแล้วนำไปตากลมประมาณ 30 นาที
- นำมาวัดขนาด ตัด 5 นิ้วครึ่ง
- นำมาเรียงใส่ถุง มัดไม่ให้ลมเข้า
- นำมาซอยเป็นเส้นๆ เรียงใส่แผงตาก
- ตาก 3 แดด แล้วจึงเก็บไว้เป็นสีๆ
- แล้วนำมาบรรจุใส่ถุง พร้อมขายปลีกและส่งได้ ตามความต้องการของลูกค้า
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
เทคนิคการผลิตคือใช้สีธรรมชาติ จากดอกไม้และพืชสมุนไพรในท้องถิ่นที่หาได้ เพื่อผู้บริโภคปลอดภัยจากการใช้สีเคมีในการผสมอาหาร และในการรับประทานมีเทคนิคการทำให้ลอดช่องสิงคโปร์อร่อย ได้แก่ การนำเส้นที่ได้ไปแช่น้ำเปล่าให้นุ่ม แล้วจึงนำไปลวกผสมกับน้ำกะทิ และเติมน้ำเชื่อมพร้อมน้ำแข็ง จะได้รสชาติอร่อยนุ่มลิ้น ไม่รู้ลืม
ใส่ความเห็น
Comments 0