ข้าวเม่าอาหารเช้า

ข้าวเม่าอาหารเช้า จังหวัดร้อยเอ็ด

 

 

ประวัติความเป็นมา

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านน้ำอ้อม ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 152 หมู่ 7 ตำบลน้ำอ้อม อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด จัดตั้งเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2535 มีสมาชิกครั้งแรก จำนวน 30 คน โดยมีการระดมทุนจัดเป็นหุ้น ๆ ละ 500 บาท รวมทุนหมุนเวียนเริ่มต้น 15,000 บาท โดยมีกิจกรรมหลักคือ การผลิตข้าวเม่า ในอดีตกลุ่มแม่บ้านจะผลิตข้าวเม่าตามฤดูกาลซึ่งจะทำให้การผลิตในระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ในการผลิตนั้นจะทำการผลิตเฉพาะข้างเม่าแห้งหลังจากนั้นจะนำข้างเม่าแห้งไปทำข้าวเม่าคลุก แล้วนำไปจำหน่ายยังหมู่บ้านข้างเคียง และต่างจังหวัด หลังจากนั้นก็พัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นเรื่อย ๆ โดยรับการสนับสนุนให้มีความโดดเด่นกว่ากลุ่มอื่น ๆ เพราะสามารถผลิตข้าวเม่าได้ตลอดปีจนกระทั่งนำมาสู่กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวเม่า เช่น กระยาสารทข้าวเม่า ข้าวเม่าหมี่ ข้าวเม่าตุ ข้าวเม่าบ้าบิ่น คุกกี้ข้าวหอมมะลิ ข้าวเม่าอาหารเช้า ข้าวเม่าอาหารเช้าผสมธัญพืช ข้าวเม่าอาหารเช้าผสมผลไม้ และข้าวเม่าอาหารเข้าผสมธัญพืชและผสมผลไม้ ปัจจุบันกลุ่มมีสมาชิก จำนวน 107 คน

 

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

หอมอร่อย มีสีสวย และมีกลิ่นหอม เป็นที่ต้องการของตลาด มีจำหน่ายตลอดปี

 

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. เตรียมอุปกรณ์ เช่น เครื่องทุบประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นเครื่องยนต์ ได้แก่ มอร์เตอร์ มู่เลย์เล็ก เป็นต้น ส่วนที่เป็นตัวครกได้แก่ แม่มองใช้ไม้ยุคาลิปตัส ขนาด 1.5 เมตร ส่วนปลายเป็นไม้ทุบที่ยื่นออกมายาว 0.15 เมตร ด้านล่างส่วนปลายแม่ครกเป็นฐานรองทุบข้าวเม่าทำจากไม้ทรงกระบอก แม่ครกจะเคลื่อนที่ขึ้นลงโดยอาศัยแรงกดลงจากหางมู่เลย์ของเครื่อง เครื่องจะคั่นเป็นกระทะเหล็กเป็นภาชนะรองคั่วเมล็ดข้าว

2. การเตรียมข้าวเปลือก นำข้าวเปลือกมาแช่น้ำเย็น 2 – 3 วัน กรณีเร่งด่วนใช้น้ำร้อนแช่ข้าวเปลือก 1 วัน กับ 1 คืน ล้างข้าวหลาย ๆ ครั้ง ให้สะอาดตักเมล็ดลีบออก นำมาแช่น้ำเย็นอีกครั้ง 1 คืน

3. การคั่ว นำข้าวเปลือกขึ้นจากน้ำแล้วทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำ คั่วข้าวเปลือก 4 – 5 นาที ครั้งละ 1 – 2 ลิตร ใช้กระทะเหล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.80 เมตร ใช้เป็นภาชนะรองคั่วเมล็ดข้าว

4. การทุบ นำข้าวเปลือกที่คั่วเสร็จใส่ถุงตาข่ายไนล่อนสีฟ้าแล้วมาทุบประมาณ 5 นาที พลิกถุงบ่อย ๆ เพื่อให้ทุบเมล็ดข้าวอย่างทั่วถึง

5. การฝัด นำข้าวงที่ทุบแล้วมาฝัดเก็บเปลือกข้าวออก บางครั้งใช้พัดลมเป่า ข้าวเม่าที่ได้จะมีลักษณะแบน ๆ มีกลิ่นหอมสีน้ำตาลอ่อน

6. การเก็บรักษา ข้าวเม่าที่ทุบใหม่ ๆ จะมีกลิ่นหอม เนื่องจากสารอาหารที่อยู่รอบ ๆ เมล็ดข้าวยังไม่ถูกขัดสีออกไป ถ้าเก็บรักษาไว้นาน ๆ หรือเก็บไว้ไม่ดีก็จะเกิดแมลง มีกลิ่นหืนได้

 

ขั้นตอนการผลิต

การทำข้าวเม่าคลุก โดยการยำข้าวเม่าแห้ง 4 กิโลกรรม นำมาคลุกผสมกับน้ำใบเตยหอม 1 กำ น้ำตาล 1 กิโลกรม เกลือป่น 1ช้อนชา คลุกเคล้ากับข้าวเม่าไม่ให้แฉะหรือแห้งเกินไป ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที จะได้ข้าวเม่าที่อ่อนนุ่มจึงนำมะพร้าวอ่อน 1 ลูก มาขูดเป็นฝอยโรยหน้า สามารถรับประทานได้ทันที นอกจากผลิตข้าวเม่าคลุกแล้วยังมีผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากข้าวเมา ได้แก่ กระยาสารทข้าวเม่า ข้าวเม่าหมี่ ข้าวเม่าตุ ข้าวเม่าบ้าบิ่น คุกกี้ข้าวหอมมะลิ ข้าวเม่าอาหารเช้า ข้าวเม่าอาหารเช้าผสมธัญพืช ข้าวเม่าอาหารเช้าผสมผลไม้ และข้าวเม่าอาหารเข้าผสมธัญพืชและผสมผลไม้ และสินค้าที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคืออาหารเช้าที่แปรรูปมาจากข้าวเม่า (series)

 

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

เทคนิค เคล็ดลับ ภูมิปัญญาเฉพาะถิ่นที่ใช้ในการผลิต การควบคุมคุณภาพ)พันธุ์ข้าวที่ใช้ในการผลิตข้าวเม่าส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมือง และเป็นพันธ์ข้าวที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 3 เดือน ได้แก่ ดอกบุญมา ดอกมะขาม นอกจากนี้ใช้พันธ์ข้าวที่มีการรับรองพันธุ์ในอดีต ได้แก่ ข้าวพันธ์ กข.4 กข.10 รวมทั้ง กข.6

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: