ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ
ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ บ้านโนนสวรรค์ จังหวัดมหาสารคาม
ประวัติความเป็นมา
การทอผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติบ้านโนนสวรรค์ เกิดขึ้นจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการสืบทอดยาวนานมาจากบรรพบุรุษ เนื่องจากอาชีพทำนาที่เคยเป็นอาชีพหลักต้องใช้เงินในการลงทุนสูงแต่รายได้ ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ผู้นำชุมชนจึงได้ส่งเสริมอาชีพทอผ้าไหมเพื่อพัฒนาอาชีพและรายได้ของประชาชน ในหมู่บ้าน เนื่องจากการทอผ้าไหมเป็นอาชีพที่ชาวบ้านโนนสวรรค์ได้ทำมาโดยตลอดหลังจากฤดู การเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้น ปัจจุบันอาชีพทำนามีการลงทุนค่าแรงและใช้เทคโนโลยีสูงใช้เวลาในการทำนาไม่ มาก ผู้นำชุมชนจึงสนับสนุนให้จัดตั้งกลุ่มทอผ้าไหมสีธรรมชาติ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2539 มีสมาชิกเริ่มแรก 11 คน เมื่อมีการรวมกลุ่มกันผลิตผ้าไหม โดยใช้สีธรรมชาติเป็นวัสดุในการย้อม การรวมกันผลิตและวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้คุณภาพและความสวยงามมากขึ้น ยอดขายเพิ่มขึ้นทำให้กลุ่มเกิดความภาคภูมิใจ และมีความมั่นใจในการที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ.2542 ได้รับงบสนับสนุนจากองค์การนานาชาติ จำนวน 10,000 บาท จึงได้ลงทุนเพิ่มผลิตภัณฑ์มากขึ้น แต่ในขณะนั้นทางกลุ่มได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากระดับประเทศทำให้ยอด จำหน่ายลดลง กลุ่มขาดความมั่นคง สมาชิกบางคนย้ายถิ่นฐาน บางคนเสียชีวิต จึงหยุดดำเนินการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 รัฐบาลมีนโยบายโครงการส่งเสริมอาชีพ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์”กลุ่มได้รับการสนับสนุนจากผู้นำ และราชการ จึงได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นมาใหม่ มีสมาชิก 15 คน และส่งผลิตภัณฑ์เข้ารับการคัดสรร ครั้งแรก ได้ระดับ 2 ดาว ปัจจุบัน 4 ดาว ในการก่อตั้งกลุ่มครั้งนี้ นางสมบูรณ์
กอนไธสง เป็นประธาน นางบุญโฮม มิทราวงศ์ เป็นที่ปรึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลขามเรียนสนับสนุนงบประมาณสร้าวโรงเรือนเลี้ยงไหม 1 หลัง และอุตสาหกรรมเคหะชุมชนสนับสนุนกี่กระตุก 4 ชุด
จาก ความตั้งใจของกลุ่มฯที่จะอนุรักษ์ และฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่มีค่าให้คงอยู่ใน วิถีชีวิตตลอดไป ตลอดจนต้องการให้เกิดการพัฒนา และมีความเจริญก้าวหน้า จึงได้พยายามพัฒนากลุ่มโดยตั้งความหวังไว้ว่า “จะพยายามให้ประสบความสำเร็จ เพื่อทรงภูมิปัญญา ทรงคุณธรรม นำสู่สังคมตลอดไป”
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
1.2.1 ผลิตจากเส้นไหมไทยแท้ โดยการเลี้ยงไหมเอง
1.2.2 ย้อมสีธรรมชาติ สีเนียนสวย ไม่ฉูดฉาด ไม่ตกสี ไม่มีสารเคมี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
1.2.3 ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่ทนทาน อบอุ่น ยิ่งใช้นานยิ่งนุ่ม
1.2.4 เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทรงคุณค่าทางวัฒนธรรม
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
สีย้อมผ้าที่มาจากธรรมชาติ เช่น
วัสดุ สี วัสดุ สี
ยอป่า เหลือง อัญชัญ ม่วง
ประดู่ แดง กระบก กลีบบัว
เพกา ฟ้า ขี้เหล็ก โอโรส
ดอกเฟื่องฟ้า(แดง-ชมพู) บานเย็น ครั่ง แดง
เหมียดแอ่ เหลือง/ส้ม เปลือกมะม่วง เขียว
ขั้นตอนการผลิต
2.2.1 การเลี้ยงไหม ชาวบ้านปลูกหม่อนเลี้ยงไหมด้วยตนเองตั้งแต่เริ่มต้นเลี้ยงตามขั้นตอนที่ได้รับสืบทอดต่อเนื่องกันมาจากบรรพบุรุษ
2.2.2 การตีเกรียว(กวักไหม) ขั้นตอนในการทอผ้าไหมให้ได้คุณภาพ เพื่อให้เส้นไหมมีความสม่ำเสมอ
2.2.3 การค้น เป็นขั้นตอนการแยกเส้นใยไหม เป็นเส้นพุ่ง และเส้นยืน ก่อนนำไปสู่การย้อม-ทอ ซึ่งต้องใช้ความชำนาญพิเศษ เพื่อให้ได้ขนาดความยาวของเส้นใยเท่ากัน การควบคุมความตึงของเส้นใยให้สม่ำเสมอ
2.2.4 การมัด ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการสร้างลายด้วยการมัดลายที่คิดค้นขึ้นด้วยเชือกฟางก่อนนำไปย้อมสีตามที่ต้องการ
2.2.5 การย้อม เหมือนกับการย้อมสีทั่วไปแต่ต้อง นำส่วนต่าง ๆ ของพืชมาแช่น้ำ และนำไปต้มให้ได้สีตามที่ต้องการก่อนเก็บไว้ ก่อนที่จะนำไปย้อมสีเส้นไหมให้เกิดความสวยงาม
2.2.6 การทอผ้าไหมเป็นขั้นตอนของการนำส้นพุ่ง(ที่มีการสร้างลาย) ไปทอกับเส้นยืนโดยใช้กี่ทอผ้า ด้วยวิธีการสอดเส้นพุ่งให้ขวางไปกับเส้นยืนโดยการกระทบด้วยฟืมทอผ้าทีละเส้น ๆ จนกว่าจะได้ออกมาเป็นผืนผ้าซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ความชำนาญ และความอดทนเป็นพิเศษ
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
2.3.1 เลือกเส้นไหมที่มีความสม่ำเสมอ
2.3.2 การสาวไหม(ตีเกรียว) ต้องตีเกรียวให้แน่นเพื่อให้เส้นไหมกลมไม่แตก เมื่อนำไปทอผ้าไหมจะมีเนื้อที่สม่ำเสมอ
2.3.3 การย้อมเพื่อให้สีติดทนนาน และไม่ตกสี ใช้เหล้าขาว หรือน้ำส้มสารชู หรือน้ำส้มสารชูเติมลงไปผสมกับน้ำสีธรรมชาติ
2.3.4 ออกแบบลายโดยการใช้ลายโบราณและคิดค้นเพิ่มเติมผสมผสานกันให้ออกมาเป็นลายใหม่ที่มีความสวยงามและทันสมัยเป็นที่ต้องการของตลาด
ใส่ความเห็น
Comments 0