ผ้าพื้นเมือง ผ้าจก

ผ้าพื้นเมือง ผ้าจก จังหวัดกาฬสินธุ์

 

ประวัติความเป็นมา

การทอผ้าจก กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านอุปรี ตำบลไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ในพื้นที่อำเภอห้วยผึ้ง อาชีพหลักทำนา ทำไร่ หลังจากเสร็จจากทำนา แต่ละครัวเรือนได้มีการทอผ้าเพื่อใช้ในครัวเรือนและขาย เพื่อหารายได้มาใช้จ่ายในครัวเรือน แต่เดิมทอผ้าธรรมดา ขายไม่ค่อยดี จึงเริ่มก่อตั้งกลุ่มเมื่อปี พ.ศ. 2546 ได้เงินสนับสนุนหมู่บ้านละ 15,000 บาท จาก กศน. 80,000 บาท จาก ส.ส. ปี 2547  10,000 บาท จากนิคมสร้างตนเองกุฉินารายณ์ ซึ่งกรมแรงงานสนับสนุนไหมเพื่อใช้ในการทอผ้า ต่อมาได้ไปดูงานตามสถานที่ต่าง ๆ จึงได้ดัดแปลงเพิ่มเติมโดยมาทำผ้าปูโต๊ะ ทำให้มีรายได้เสริมต่อครัวเรือน 2,0000 – 4,000 บาทต่อเดือน และตั้งแต่ปี 2550 กรมแรงงานมาจัดฝึกสอนและอบรมการทอผ้าแบบมีลวดลาย เช่น ทอผ้าลายขิด ให้กลุ่มสตรีเป้าหมาย ประมาณ 30 คน ระยะเวลา 3 เดือน จึงได้ผลิตผ้าสไบ ผ้าพื้นตัดเสื้อ ผลิตผ้าจกเป็น ผ้าหลัก มีความหลากหลายของสินค้า ทำให้มีผู้สนใจในตัวสินค้าเพิ่มขึ้นทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ

 

เอกลักษณ์/ จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

ลักษณะที่โดดเด่นของผ้าจก มีสีสันสลับสอดสีพื้นดำจกด้วยสี เส้นใยละเอียดเนื้อแน่น ลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่น และแสดงถึงศิลปะของความเป็นไทยท้องถิ่นได้อย่างเด่นชัด เหมาะสมสำหรับนำไปแปรรูปสินค้าได้หลายอย่าง มีความหลากหลายของสินค้า ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้

 

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. ฝ้าย (ได้จากปลูกเองและจากซื้อจากตลาด)

2. ค้นหูก

3. ปั่นฝ้าย

4. กี่ (สำหรับขึ้นกี่ทอหรือทอเก็บขิด)

 

ขั้นตอนการผลิต

1. นำฝ้ายสำเร็จใส่ค้นหูกเพื่อกำหนดปริมาณผ้าตามต้องการ

2. ปั่นฝ้าย

3. นำขึ้นกี่ทอผ้าหรือทอเก็บขิด

4. การทอผ้าไหม ใช้ระยะเวลาประมาณ 10 วัน ส่วนการทอผ้าฝ้าย ใช้ระยะเวลาประมาณ 3 วัน

 

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

1. การทอผ้าจกเป็นการทอลวดลายบนผืนผ้า ด้วยวิธีการเพิ่มด้ายพุ่งพิเศษเข้าไปขณะที่ทอเป็นช่วง ๆ ไม่ติดต่อกันตลอดหน้ากว้างของ

2. ผ้ากระทำโดยใช้ไม้หรือนิ้วมือ ยกหรือจกด้วยเส้นยืนขึ้น แล้วสอดเส้นพุ่งพิเศษต่อไปตามจังหวะของลวดลาย สามารถสลับสีได้หลากหลายสี

3. ถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นเนื่องจากเป็นผู้คิดค้นลายผ้าเอง เป็นการสร้างสรรค์ลายผ้าให้มีความสวยงาม

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: