ผ้าฝ้ายแปรรูป

ผ้าฝ้ายแปรรูป  จังหวัดมหาสารคาม

 

ประวัติความเป็นมา

การทอผ้าฝ้ายและตัดเย็บบ้านลาดบูรพา สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ โดยเริ่มแรกเป็นการทอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือน ย้อมด้วยคราม และนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปใช้นุ่งห่มสำหรับทำไร่ ทำนา ต่อมาได้มีการทอเป็นลวดลาย ย้อมด้วยสีต่างๆนำมาตัดเย็บเป็นรูปทรงที่ทันสมัยขึ้น มีประชาชนภายนอกหมู่บ้านได้พบเห็นจึงขอซื้อไว้ใช้ ทำให้เกิดรายได้ชาวบ้านลาดบูรพาจึงได้ชักชวนกันจัดตั้งกลุ่มอาชีพทอผ้าฝ้ายแปรรูปขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม 2544 องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุขสนับสนุนงบประมาณ 10,000 บาท ได้รับการคัดเลือกเป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของตำบลศรีสุขในปี 2545 และได้ดำเนินกิจกรรมของกลุ่มมาจนถึงปัจจุบัน

 

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. ด้าย

2. สีย้อมผ้า

3. สบู่เหลว

4. น้ำส้มสายชู

5.ด่างล้าง

 

ขั้นตอนการผลิต

1. นำฝ้ายมาย้อมสีตามต้องการ ตากให้แห้ง แล้วนำมากวักด้ายใส่อัก เสร็จแล้วนำฝ้ายเข้าตระกรอ เป็นทางเครือ (สืบหูก) นำด้ายที่กวักไว้มาปั่นทำเป็นหลอด นำหลอดด้ายมาทอเป็นผืน ความกว้างความยาวตามต้องการนำผ้าไปตัดเย็บแปรรูปตามความต้องการของตลาด

2. มาปั่นทำเป็นหลอด นำหลอดด้ายมาทอเป็นผืน ความกว้างความยาวตามต้องการนำผ้าไปตัดเย็บแปรรูปตามความต้องการของตลาด

3. นำผ้าที่ตัดตามแบบมาเย็บ

4. นำผ้าที่เย็บเสร็จมารีด

 

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

เทคนิคในการผลิตคือต้องคัดสรรวัตถุดิบในการผลิตที่มีคุณภาพ การตัดเย็บมีการควบคุมการผลิตโดยฝ่ายควบคุมและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ต้องมีการตรวจเช็คความประณีตเรียบร้อยของงานตัดเย็บก่อนที่จะนำออกจำหน่าย หากไม่ได้มาตรฐานก็ส่งคืนแผนกตัดเย็บนำไปแก้ไข และมีการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มแช่ผ้าที่ทอเสร็จก่อนนำไปตากเพื่อให้ผ้าที่ทอเสร็จมีความนุ่มหอม ง่ายในการตัดเย็บ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: