ผ้าซิ่นตีนแดง
ผ้าซิ่นตีนแดง บุรีรัมย์
ประวัติความเป็นมา
บ้านแวง ตั้งอยู่ในตำบลบ้านแวง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นหมู่บ้านที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีอาชีพหลักทำนา ปลูกผัก และอีกอาชีพหนึ่งที่ทำให้คนในหมู่บ้านมีอยู่มีกินได้คือ การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และการทอผ้า ในสมัยก่อนการทอผ้าจะทอเพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มของคนในครัวเรือน คนในสมัยก่อนผู้ชาย จะใช้ผ้าขาวม้า และผ้าโสร่งส่วนผู้หญิงจะสวมใส่ผ้าถุง เมื่อผู้ชายไปทำนา ผู้หญิงจะอยู่บ้านประกอบอาหารยามว่างจะมานั่งทอผ้า แต่กว่าจะมาถึงขั้นตอนการทอนั้นก็ยากลำบาก เพราะจะต้องปลูกหม่อน เพื่อนำใบหม่อนมาเลี้ยงไหม การเลี้ยงไหมต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะได้รังไหม มาสาวเป็นเส้นไหม นำเส้นไหม ไปฟอกย้อม มัดลาย แล้วนำมาทอเป็นผืนผ้าในรูปแบบและลวดลายที่ได้สวยงาม
“ผ้าซิ่นตีนแดง” ถูกถักทอจากมือ ด้วยภูมิปัญญาของคนอำเภอพุทไธสงจากรุ่นสู่รุ่น ด้วยหยาดเหงื่อแรงงานของชาวบ้านโดยแท้ ชาวบ้านแวง ตำบลบ้านแวง อำเภอพุทไธสง ได้นำเอาภูมิปัญญาจากที่ได้รับการถ่ายทอดการทอผ้า“ผ้าซิ่นตีนแดง” มาสร้างสรรค์ลวดลาย ที่มีความงดงามและแปลกตา มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นผ้าซิ่นที่มีประวัติความเป็นมา และมีความเชื่อว่า “ผ้าซิ่นตีนแดง” เป็นผ้ามงคล มีความสดใสและสวยงาม คนหนุ่มสาวมักนิยมสวมใส่ในงานบุญ และในงานแต่งงานซึ่งฝ่ายหญิงนิยมใช้ผ้าซิ่นตีนแดงสำหรับไหว้ผู้ใหญ่ทางฝ่ายชาย และยังมีความเชื่อเกี่ยวกับผ้าไหมชนิดอื่น ๆ ด้วย ได้แก่
• ในงานบวชนิยมแต่งกายให้นาคด้วยผ้าไหมหางกระรอกเพื่อความเป็นสิริมงคล
• ในการสร้างบ้าน ใช้อักซึ่งเป็นอุปกรณ์หนึ่งในการทอผ้าไหม นำไปผูกไว้กับเสาเอก เพื่อให้เกิดความมั่นคง
• เด็กทารกแรกเกิด หากร้องให้ไม่หยุด ให้ผู้สูงอายุนำผ้าขาวม้าไหมมาอุ้มเพื่อให้เด็กหยุดร้อง
ผ้าซิ่นตีนแดง จึงเป็นเสมือนสายไหมที่ถักทอวิถีชีวิตของคนในชนบท ที่มีความผูกพันและสานต่อภูมิปัญญาจากอดีตถึงปัจจุบัน
เอกลักษณ์/ จุดเด่นผลิตภัณฑ์
เอกลักษณ์ของผ้าไหมบ้านแวง เป็นผ้าไหมที่ทอจากเส้นไหมไทยแท้ ทอด้วยมือ จากกี่ที่ทำขึ้นเอง เนื้อผ้าจะแน่นหนา ลายผ้า หรือการให้สี จะคงอนุรักษ์ภูมิปัญญาดั่งเดิมสอดแทรกเข้าไป ในผ้าแต่ละชิ้น รีดง่าย เก็บรักษาง่าย
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1. วัสดุในการทอผ้าไหม
1) เส้นไหม
2) สีเคมี หรือสีธรรมชาติ
3) ด่างฟอกไหม
4) สบู่ซัลไล
2. อุปกรณ์ในการทอผ้าไหม ได้แก่
ภาชนะเคลือบ (หม้อ กาละมัง ไนกรอด้าย ระวิง กง หลอดด้าย กระสวย โบก โฮงหมี่ เครื่องโยกหมี่เครื่องค้นหมี่ และแปลง
ขั้นตอนการผลิต
1. นำเส้นไหมที่คัดไว้มาฟอก
2. นำเส้นไหมที่ฟอกเสร็จมามัดเป็นลายหมี่
3. นำไปย้อมสีตามต้องการ
4. นำเส้นไหมที่ย้อมไปผึ่งให้แห้ง
5. นำมาขึ้นกี่ เพื่อทอ
6.ทำการทอ
ขั้นตอนในการทอผ้า
1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะกอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
2. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ
3. การกระทบฟันหวี ( ฟืม ) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา
4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืน ให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ ให้พอเหมาะ
การทอมัดหมี่
ผ้ามัดหมี่มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม เริ่มจากนำเส้นด้ายหรือไหมมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำไป ย้อมสีอื่นจะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงลำดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำด้าย กรอเข้าหลอดตามลำดับ แล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะคลาดเคลื่อนเหลื่อมล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่ การทอผ้า ชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำนาญในการมัดย้อมและทอเป็นอย่างมาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่
1. มัดหมี่เส้นพุ่ง
2. มัดหมี่เส้นยืน
3. มัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยืน
การทอผ้าพื้น
เป็นการใช้หลักการทอผ้าเบื้องต้น ที่นำเอาด้ายเส้นยืนและด้ายเส้นพุ่งมาขัดกัน เพื่อให้เกิดเป็นผืนผ้า โดยด้ายเส้น พุ่งและเส้นยืนอาจเป็นด้ายสี เดียวกัน หรือต่างสีกัน หรือนำเอาเส้นด้ายที่เป็นดิ้นเงินหรือดิ้นทองมาทอควบด้าย เพื่อให้ผ้า มีความมันระยับ สวยงามยิ่งขึ้น
เทคนิค/เคล็ดลับการผลิต
1. เส้นไหมและสีย้อมผ้าต้องมีคุณภาพดี
2. ในระหว่างการทอผ้าต้องหมั่นใช้แปรงหวีเส้นไหมบ่อยๆ
3. การดูแลรักษาผ้าไหม
1. การตัดเย็บ
ขั้นแรกให้จุ่มผ้าไหมลงในน้ำร้อน เพื่อไล่สีที่หลงเหลือหรือสีที่ไม่สามารถจับติดผ้าให้ออกไป นอกจากนี้แล้วยังทำให้มีความงามเป็นประกายดีขึ้น หลังจากนั้นรีดผ้าไหมทางด้านหลัวด้วยไฟอ่อนๆ โดยพ่นน้ำเพียงเล็กน้อยก่อนรีด พึงระลึกเสมอว่า ให้พ่นฉีดน้ำบาง ๆ ไม่ให้เปียก เราะถ้าเปียกเวลารีดแล้วอาจทำให้ผ้าเกิดเป็นจุดที่ไม่สวยงามหลังจากนั้นแล้วจึงจัดเส้นลายผ้าให้ตรง แล้วจึงทำการตัดและเย็บด้วยเข็มและด้านที่เหมาะสมกับคุณภาพของผ้า
2. การรีด
การรีดโดยทั่งไปหรือการรีดลบรอยย่นหลังจากตัดเย็บแล้วหรือเหลังจากการ สวมใส อุณหภูมิที่เหมาะสมในการรีดผ้า ไหมโดยทั่วไป ควรรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในระหว่าง 120-140 องศาเซลเซียสและการรีดควรมีผ้าฝ้ายหนาๆ ทับบนผ้าไหม เพื่อป้องกันการสัมผัสผ้าไหมกับเตารีดโดยตรงถ้าสัมผัสโดยตรงจะทำให้คุณสมบัติต่าง ๆ ของผ้าไหมสูญเสียไปได้
3. การซัก
ซักแห้งนับว่าเหมาะสมที่สุด แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะซักแบบธรรมดาควรใช้สารที่มีคุณภาพเป็นกลางในน้ำอุ่นให้ทั่ว อย่าให้ผ้าไหมกองหรือพับติดกัน หลังจากซักแล้วให้บิดเบาๆ นำไปผึ่งในที่ร่มห้ามผึ่งแดดโดยเด็ดขาด
4. การระมัดระวังและเก็บรักษา
หลังจากสวมใส่ทุกครั้งให้ตรวจสอบสิ่งสกปรกที่ติดอยู่อย่างระมัดระวัง ผึ่งให้เสื้อผ้าคงรูปเดิมในที่ ๆ มีการถ่ายเทอากาศ ที่ดีปราศจากฝุ่นละออง ถ้าเสียรูปร่างหรือรอยยับให้ใช้เตารีด รีดให้เรียบ การเตรียมการเก็บรักษา ก่อนเก็บเสื้อผ้าต้องอยู่ ในสภาพเรียบไม่มีร้อยยับแห้งและสะอาดอยู่เสมอ
ใส่ความเห็น
Comments 0