ไม้ใส่รองเท้า

ไม้ใส่รองเท้า จังหวัดบุรีรัมย์

 

 

ประวัติความเป็นมา

แหล่งสร้างผลิตภัณฑ์จากไม้ที่สำคัญในจังหวัดบุรีรัมย์ในปัจจุบันนี้มีหลายแห่ง แต่จุดเริ่มต้นเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2532 คือชุมชนบ้านหนองบอน หมู่ที่ 1 และ บ้านหนองโจรง หมู่ที่ 8 ตำบลหนองบอน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ข้อมูลจากการบอกเล่าของผู้อาวุโสในหมู่บ้าน ราษฎรของทั้งสองหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็น กูย เขมร และลาวปะปนกันอยู่ลดหลั่นตามลำดับ บ้านหนองบอน – หนองโจรง ที่มาของชื่อหมู่บ้านเพราะมีต้นบอนและต้นโจรงขึ้นอยู่ตามหนองน้ำของหมู่บ้าน

ลักษณะนิสัยของชนเผากูย เป็นคนขยันอดทนและประหยัด ในอดีตหากว่างจากฤดูทำนาก็จะชักชวนญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านไปหางานทำที่กรุงเทพฯ หรือจังหวัดอื่น เพื่อสะสมเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัวและเป็นทุนในฤดูเพาะปลูกปีต่อไปเนื่องจากทำนาได้เพียงครั้งเดียว ผู้ชายบางคนที่มีความรู้ก็จะรับจ้างก่อสร้างอาคารบ้านเรือนทั้งในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอประโคนชัย หรือ อำเภอใกล้เคียงจนกว่าจะถึงฤดูทำนา จึงจะหยุด เพราะชนเผ่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่นิยมการสร้างอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัยในช่วงฤดูฝน ดังนั้นพื้นฐานด้านช่างไม้ของชาวบ้านหนองบอน – หนองโจรง ล้วนสืบทอดมาเป็นลำดับจากบรรพบุรุษ

ไปฝึกอบรมหัตถกรรมจากกะลามะพร้าว เช่น ทำทัพพี ช้อน กระบวยตักน้ำ ฯลฯ ที่สำนักสันติอโศก เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร แล้วนำความรู้ดังกล่าวมาเผยแพร่ให้ชาวบ้านหนองบอนได้ฝึกทำเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้หลังฤดูทำนา มีจำนวนสมาชิกเริ่มแรกจำนวน 20 คน แต่วัตถุดิบกะลามะพร้าวไม่เพียงพอ ต้องสั่งซื้อมาจากต่างจังหวัด เช่น ชลบุรี นครปฐม ฯลฯ ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง ต้นทุนการผลิตจึงสูงขึ้นตามไปด้วย ต่อมาชาวบ้านมีการเรียนรู้มากขึ้นจึงเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบจากกะลามาเป็นไม้ที่มีอยู่ในพื้นที่ เช่น ไม้มะค่า ไม้พยุง ไม้แดง ฯลฯ การแปรรูปจากไม้ดังกล่าวถือว่าขัดต่อกฎหมาย เพราะเป็นไม้หวงห้าม เพื่อหลีกเลี่ยงเงื่อนไขเบื้องต้น ทางกลุ่มจึงได้นำไม้ตาล ไม้มะพร้าว ไม้หมาก ไม้มะม่วง เป็นวัตถุดิบทดแทนและเป็นทางเลือกใหม่ การผลิตจะใช้แรงงานภายในครอบครัวเป็นหลัก ประมาณ 153 ครัวเรือน และรวมกลุ่มเป็นชมรมหัตถกรรมตำบลหนองบอน มีผลิตภัณฑ์เครื่องใช้จากไม้มากว่า 30 ชนิด โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อ คือ “ไม้ใส่รองเท้า” ชาวบ้านสามารถยึดเป็นอาชีพเสริม ทำให้มีรายได้เพิ่ม มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นกว่าเดิม

 

เอกลักษณ์/ จุดเด่นผลิตภัณฑ์

เอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์เครื่องใช้จากไม้ของชมรมหัตถกรรมตำบลหนองบอน ที่ไม่เหมือนที่อื่นๆ คือ ผลิตจากไม้เนื้อแข็ง ทนทาน มีความสวยงาม มันวาว มีรูปแบบรูปลักษณ์ที่หลากหลาย สามารถบรรจุภัณฑ์หรือประกอบเป็นของขวัญ ของชำร่วยได้เหมาะสมราคายุติธรรมต่อผู้บริโภค

 

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. ไม้

2. เลื่อยวงเดือน

3. เครื่องเจียรนัย

4. เครื่องเจาะ

5. เครื่องขัด

6. ล๊อดเตอร์

7. กระดาษทราย

8. น้ำมันดิน

9. น้ำมันมะกอก

10. เทียน

 

ขั้นตอนการผลิต

1. เลือกไม้ที่จะใช้ผลิต โดยดูขนาดให้เหมาะสมที่จะผลิตชิ้นงานได้

2. วาดแบบของผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตลงบนไม้

3. ตัดไม้ให้ได้รูปทรงใกล้เคียงกับที่วาดไว้

4. ใช้กระดาษทรายติดมอเตอร์เจียรนัย เพื่อลบเหลี่ยมให้มีลักษณะทรงมน

5. ใช้น้ำมันดิน น้ำมันมะกอกและเทียน ผสมกัน ชุบผ้าและนำไปพันที่ปลายมอเตอร์ เพื่อขัดเงาผลิตภัณฑ์ให้มีสีสวยงามและเป็นมันเงางาม

6. ตรวจสอบมาตรฐาน จัดชุด ตั้งราคากลางของกลุ่มฯ ก่อนส่งออกหรือจำหน่าย

 

เทคนิค/เคล็ดลับการผลิต

ชาวชมรมหัตถกรรมตำบลหนองบอน มีฝีมือในการสร้างผลิตภัณฑ์ไม้ได้หลายรูปแบบ แต่ที่นิยมนำไม้พยุงมาผลิตเครื่องใช้จากไม้ เพราะคนโบราณเชื่อถือว่าไม้พยุงเป็นไม้มงคล เหมาะสำหรับเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน หรือเครื่องประดับตกแต่ง ถ้านำมาใช้ในครอบครัวจะเสริมศิริมงคล ทำให้มีชีวิตยืนยาว ประกอบอาชีพก็จะเจริญก้าวหน้ารุ่งเรือง

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: