ผ้าห่มลายดอกแก้วบ้านม่วงคำ

ผ้าห่มลายดอกแก้วบ้านม่วงคำ จังหวัดสกลนคร

 

ประวัติความเป็นมา

ผ้าห่มลายดอกแก้ว เป็นผ้าพื้นเมืองที่ทอกันมาตั้งแต่โบราณของชาวบ้านม่วงคำ ตำบลนาตาล อำเภอเต่างอย เพื่อใช้เป็นผ้าห่มกันหนาว ไว้ใช้ในครัวเรือน ไว้ทำบุญประจำปี หรือเป็นของฝาก แต่เดิมจะนำเส้นใยฝ้ายที่ปลูกนำมาปั่นเป็นเส้นด้ายแล้วจึงทอ แต่ในปัจจุบัน ฝ้ายที่ปลูกใช้กันเองหาได้ยาก จึงดัดแปลงมาใช้ผ้าคอเสื้อยืด ซึ่งมีความยืดหยุ่น คล้ายกัน แต่จะให้สีสันที่สวยงาม สะดุดตา ณ ปัจจุบันมีวิวัฒนาการใหม่ในการดัดแปลงผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและสวยงาม ทันตามยุคตามสมัย มีการคิดค้นแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าห่มลายดอกแก้วมาเป็น ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ กระเป๋าใส่สตางค์ และอื่น ๆ อีกมากมาย ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น และเป็นที่สนใจของตลาดมากยิ่งขึ้น

 

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

มีสัญญาลักษณ์การเน้นวัตถุดิบ ใช้ผ้าฝ้ายที่มีคุณภาพสูง ได้มาตรฐาน ฝีมือประณีต มีเอกลักษณ์ในด้านลวดลาย สีสัน แปลกตา ไม่เหมือนใคร

 

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. กี่ทอผ้า

2. ไม้กำพั่น

3. ฟืม + เขาฟืม

4. หลักเฟือ

5. หลา

6. หางเห็น

7. อัก

8. กระสวย

9. หลอด

10. เส้นด้าย

11. เส้นฝ้าย (ทางต่ำ)

 

ลักษณะของวัตถุดิบ

1. กี่ทอผ้า กับ กำพั่น จะเป็นอุปกรณ์หลักในการทอผ้า จะถือเป็น ตัวเอกของการทำผลิตภัณฑ์เลยก็ได้

2. ฟืม + เขาฟืม คือ อุปกรณ์ที่นำด้ายมาสืบต่อเข้าดับฟืม แล้วก็เป็นตัวที่ทำให้เป็นลายดอกแก้วเพราะว่าได้ทำลวดลายไว้ในลายของฟืมแล้ว ที่มัดเขาฟืมแต่ละชนิดที่มีการมัดเขาฟืมแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าต้องการให้เป็นผ้าแบบไหน

3. หลักเฟือ คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำทางเครือของผ้าห่มลายดอกแก้ว หรือเรียกว่า การค้นหูก คือ การนำด้ายมาคล้องกับหลักเฟือที่มีเป็นฟันๆ นั้นแล้วก็นับจำนวนไปด้วยว่าเราต้องการเท่าไร

4. หลา คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการปั่นหลอด หรือ การนำฝ้ายมาหมุนใส่กับหลอดไม้ที่เตรียมไว้ เรียกว่า หลอดด้าย เป็นขั้นตอนในการเตรียมด้ายไว้ไปฝ้ายตัวนี้เรียกว่าด้ายทางต่ำ

5. หางเห็น คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการดึงผ้า คือ การที่เรานำผ้าคอเสื้อมาดึงออกให้เป็นเส้นยาวๆ ไว้ในอักตัวนั้น เราต้องใช้หางเห็น ทำได้โดยการเอาอักสอดเขาไปในหางเห็นแล้วก็หมุนอักแล้ว ฝ้ายก็จะไปม้วนอยู่ในอัก

6. อัก คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำด้ายคอเสื้อให้ยาวๆ ออกมาเป็นเส้นเดียวกันโดยนำอักไปใช้ประกอบกับหางเห็นแก้ว ก็นำฝ้ายมาม้วนเก็บไว้ในตัวอัก

7. กระสวย คือ อุปกรณ์ที่ใช้เป็นตัวนำฝ้ายเข้าไปในด้ายทางเครือ โดยการเหยียบไม้ซ้ายให้ด้ายแยกออกจากกันแล้วก็สอดกระสวยเข้าไป ฝ้ายทางต่ำก็จะไปประกอบเข้ากับด้ายทางเครือ

8. หลอด คือ อุปกรณ์ที่นำมาม้วนฝ้ายคอเสื้อให้เป็นหลอดวงรี แล้วก็นำหลอดไปใส่ในกระสวยเพื่อที่จะนำไปทอดผ้าต่อไป

9. เส้นด้าย (เครือหรือพื้น) คือ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผ้าห่มลายดอกแก้ว เป็นวัตถุดิบทางตรง มีราคากิโลกรัมละ 180บาท ผ้า 17 ผืน ใช้เส้นด้าย 5 กิโลกรัม ใช้เป็นเครือหรือพื้นของผ้าห่มลายดอกแก้ว

10. เส้นฝ้าย (ทางต่ำ) คือ ฝ้ายคอเสื้อ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผ้าห่มลายดอกแก้ว เป็นวัตถุดิบทางตรง ผ้า 17 ผืน ใช้ฝ้ายคอเสื้อ 15 กิโลกรัม ๆ ละ 80 บาท

ราคาการผลิตต่อชิ้น

ผ้าห่มลายดอกแก้ว ราคาขายส่ง/ชิ้น 180 บาท ราคาขายปลีก/ชิ้น 200 บาท

ผลิตสินค้าได้ ครัวเรือนละ 40 ผืน/เดือน 450 ผืน/ปี

 

ขั้นตอนการผลิต

1. นำด้ายที่เตรียมไว้แล้วนำไปค้นให้เป็นเครือหูก คือ ฟืมกว้าง 28 ก็จะค้นหูกทั้งหมด 28 ลบ (1 ลบ มี 10 ความ 1 ความ มี 4 รู หรือ 4 เส้น) ก็จะเดินเอาเส้นด้ายไปคล้องตามฟันของหลักเฟือคล้องไปตามทิศทางกลับไปกลับ ได้ 4 เส้น ก็จะเอาไม้เสียบไว้กันลืมได้ 10 ไม้ก็เท่ากลับได้ 1 ลบ ก็จะทำอย่างนี้ ไปจนถึง 28 ลบ ก็จะได้ทางเครือของผ้าห่มลายดอกแก้ว

2. นำด้ายที่ค้นเป็นเครือแล้ว นำไปสืบประกอบเข้ากับเขาและฟืม คือ การที่นำทางเครือนั้นมาสืบหรือมัดเข้ากับฟืม เราก็จะเริ่มจากเส้นแรกของเครือผ้าก็จะมัดหรือสืบติดไว้กับเส้นแรกของด้ายที่ติดอยู่กับตัวฟืม เราก็จะทำอย่างนี้ไปจนกว่าจะเสร็จ

3. นำเครือหูกที่สืบเสร็จแล้ว ไปพันต่อกับไม้กำพรั่น ประกอบเขากับโครงกี่ทอผ้า คือว่าเราจะนำเอาตัวฟืมกับเขาฟืมสอดห้อยไว้กับตัวกี่ แล้วก็นำเครือผ้าลอดไปกลางตัวกี่แล้วก็โค้งขึ้นข้างบน แล้วจึงดึงมาจนถึงไม้ที่อยู่ข้างบนตรงหัวกี่ มัดเครือผ้าไว้ให้แน่น

4. นำกระสวยที่มีหลอดด้ายอยู่ข้างในนำไปสอดทอกับเครือหูก โดยเหยียบไม้ข้างล่าง (ไม้ซ้าย) ที่ต่อกับเขาฟืม 4 อัน พอเราเหยียบไม้ซ้ายด้ายก็จะแยกออกจากกัน เราก็สอดกระสวยเข้าไป แล้วก็ใช้มืออีกด้านหนึ่งรับกระสวยไว้

5. แล้วกระทบฟืม โดยใช้น้ำหนักในการกระทบให้พอดีไม่แรงจนเกินไป หรือเบาจนเกินไป ถ้าเรากระทบแรงเส้นด้ายอาจขาดได้ ถ้ากระทบเบาเส้นดายก็จะไม่แน่น โดยสอดเส้นด้าย 1 ครั้ง จะกระทบฟืม 1 – 2 ครั้ง ตามความถนัดของผู้ทอและความแน่นหนาของผ้าที่ทอ

6. เวลาที่เราทอได้ผ้ากว้างจนสุดมือ หรือ ทอลำบาก ก็จะม้วนเก็บใส่ไม้กำพรั่นไว้ โดยเราจะต้องแก้เครือผ้าตรงที่เรามัดมันไว้ตรงข้างบนศีรษะ เราเสียก่อนแล้วปล่อยให้หย่อนลงมาเล็กน้อย แล้วเราก็ยกไม้กำพรั่นออกจากที่เก็บแล้วเราก็ม้วนผ้าที่ทอได้เข้าไปในไม้กำพรั่นแล้ว ก็เก็บไว้ที่เดิมแล้วก็มัดเครือผ้าตรงศีรษะด้วยจึงจะทอต่อไปได้

7. ในขณะที่ทอข้างหน้าเขาฟืมก็จะมีไม้อยู่คู่หนึ่งทำหน้าที่ในการที่เอาหน้าหูกออกไปคือเส้นด้ายจะติดกันหรือพันกัน เราก็แยกออกจากกันก่อนแล้ว ก็เอาไม้ตัวนี้กันไว้ เพราะมันทำให้ง่ายต่อการทอ แล้วเราก็ทอนได้ขนาดหรือเสร็จจึงตัดออกจากกี่ทอผ้า มาเย็บไว้เป็นผืนๆ ขนาดกว้าง 120 ซม. ยาว 240 ซม.

8. นำผ้าที่เย็บชายผ้าเรียบร้อยแล้ว ไปบรรจุถุง เพื่อนำออกจำหน่าย

ผลผลิตเฉลี่ย ผ้าห่มลายดอกแก้ว 40 ผืน/ต่อเดือน 450 ผืน/ต่อปี

ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อหน่วย = ต้นทุนวัตถุดิบ + ต้นทุนค่าแรงงาน + ต้นทุนค่าใช้จ่าย

 

เทคนิคเคล็ดลับในการผลิต

1. เหยียบไม้ 1 สอดกระสวย 1 ครั้งพร้อมกระทบ 1-2 ครั้ง เพื่อผ้าห่มแน่นขึ้น ไม้หนึ่งนี้ เป็นไม้สำคัญมาก เพราะเป็นตัวที่อยู่ตรงกลางหรือตัวเหยียบทำลายดอกแก้ว นั้นเอง

2. เหยียบไม้ 2 สอดกระสวย 1 ครั้งพร้อมกระทบ 1-2 ครั้ง เพื่อผ้าห่มแน่นขึ้น

3. เหยียบไม้ 3 สอดกระสวย 1 ครั้งพร้อมกระทบ 1-2 ครั้ง เพื่อผ้าห่มแน่นขึ้น

4. เหยียบไม้ 4 สอดกระสวย 1 ครั้งพร้อมกระทบ 1-2 ครั้ง เพื่อผ้าห่มแน่นขึ้น

5. เมื่อกระทบฟืมเรียบร้อยแล้ว จากนั้นจะเป็นการเหยียบเพื่อทำดอก ก็คือ กลับไปเหยียบไม้ 1 แล้วก็สอดกระสวย ทำเหมือนเดิม แต่พอเสร็จไม้ 1 ก็กลับมาเหยียบไม้ 4 ไม้ 3 ไม้ 2 ตามลำดับ จากนั้นให้กระทบฟืม เป็นเสร็จ 1 ลายดอกแก้ว (ทำลายใหม่ให้เริ่มต้นจาก ขึ้นตอนที่ 1 – 5 ใหม่ จนเสร็จตามความต้องการ)

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: