กระเป๋าจากใบตอง
กระเป๋าจากใบตอง จังหวัดกาฬสินธุ์
ประวัติความเป็นมา
การทำกระเป๋าจากใบตองกล้วย สืบทอดมาจาบรรพบุรุษ คนเท่าคนแก่ โดยเริ่มแรก นางแตงอ่อน แก่นภักดี ได้ไปฝึกวิธีการทำจาก นางหนูพร ครองประสงค์ ผู้เป็นย่า ที่อยู่บ้านหนองแคน ตำบลดอนจาน อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยฝึกเรียนรู้วิธีที่เรียกว่า ฝั่น การฝั่นคือการเอาใบตองฉีกให้เป็นเส้น 2 เส้น แล้วใช้มือฝั่นลงบนหน้าแข้งให้เกิดเป็นเส้นเล็ก ๆ สมัยก่อนชาวบ้านจะฝั่นเส้นใยปอแก้วให้เป็นเชือกเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิต ประจำวัน เช่น ใช้ผูกมัดสิ่งของ ผูกระหว่างควายกับคันไถที่เรียกว่า คร่าว ครอบครัวในชนบทจึงมีประสบการณ์ฝั่นเชือก วิธีการนี้จึงนำมาทดลองกับใบตองกล้วยฉีกให้เป็นเส้นเล็กๆ ใช้มือฝั่นลงหน้าแข้งเพื่อทำให้เกิดเป็นเส้นเชือก จากนั้นนำมาถักเปียเย็บขึ้นรูป เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามที่ออกแบบไว้ เช่น กระเป๋า หมวก ที่ใส่กระดาษชำระ เครื่องประดับ ฯลฯ
ศิลปะประดิษฐ์ จากใบตองกล้วยแห้ง จึงสะท้อนความเป็นอยู่ที่มีวิถีชีวิต ในการทำเกษตรแบบเรียบง่าย ใช้วัสดุใกล้ตัว ที่มีอยู่ในท้องะถิ่นของตน บางคนอาจมองไม่เห็นคุณค่าวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่รอบ ๆ ตัว สามารถ นำมาทำให้เกิดประโยชน์ เกิดรายได้ ทั้งไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย
เอกลักษณ์ /จุดเด่นผลิตภัณฑ์
ลักษณะที่โดดเด่นของกระเป๋าจากใบตองกล้วย คือ เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำวัสดุจากธรรมชาติที่ไม่ใช้ประโยชน์ แล้ว นำมาฝั่น ทัก และเย็บด้วยมือเป็นกระเป๋า หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มีรูปแบบสวยงามตามธรรมชาติ และมีความ คงทนถาวร
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1. ใบตองกล้วยแห้ง (นำมาฝั่นและถักเปีย)
2. เส้นเอ็นเล็ก
3. ด้าย
4. เข็มเล็ก,ใหญ่
5. กรรไกร
6. ลูกปัดชนิดต่างๆ
7. ผ้าด้ายดิบ
8. กำมะถัน
9. สเปร์เคลือบเงา
ขั้นตอนการผลิต
1. เตรียมตัดใบตองกล้วยแห้งจากต้น
2. นำใบตองกล้วยแห้งมาแช่นำแล้วฉีกให้เป็นเส้นเล็กๆและนำเส้นใบตองที่ฉีกประมาณ ๒ เส้น มาฝั่นเป็นเกลียว บนหน้าแข้งของตนเอง ให้เป็นเชือกเส้นเล็กๆ
3. นำเส้นใบตองที่ฝั่นแล้วถักเป็นเปีย ต่อกันให้เป็นเส้นยาวๆ
4. นำเส้นที่ถักเป็นเปียมาขึ้นรูป เย็บด้วยด้ายหรือเอ็นขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่ต้องการความคงทนถาวร
5. ตกแต่งดอกไม้และลูกปัดให้สวยงาม
6. นำชิ้นงานที่เสร็จเรียบร้อยดีแล้ว มาอบด้วยกำมะถันเพื่อไม่ให้เกิดเชื้อรา ประมาณ 3 วัน
7. นำชิ้นงานมาเคลือบด้วยเสปร์เครือบเงา
ใส่ความเห็น
Comments 0