หนังสือที่เกี่ยวข้อง

ศิลปะพื้นบ้าน (วัฒนะ  จูฑะวิภาค)

ลักษณะรูปแบบของศิลปกรรมพื้นบ้านมีการพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายชั่วคน จนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมล้ำค่าที่ควรศึกษา เพื่อดำรงรักษา พัฒนา และปรับประยุกต์ให้กับสังคมยุคโลกไร้พรมแดน ปัจจุบันความรู้ต่างๆ ถูกส่งผ่านเครื่องมือสื่อสาร เช่น คอมพิวเตอร์ แต่เป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่า ความรู้ทางศิลปะพื้นบ้านยังไม่มีใครจัดทำผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์แน่นอน เพราะการจัดทำต้องใช้เวลามาก ในการศึกษาสภาพท้องถิ่น ความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อิทธิพลทางภูมิประเทศที่ทำให้ศิลปะพื้นบ้านมีความแตกต่างกัน ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านมิได้เป็นการสร้างสรรค์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เป็นการสร้างสรรค์ของผู้คนในสังคม จากอดีตถึงปัจจุบัน

 

 

หัตถศิลป์บนหนังตะลุงกับภูมิปัญญาชาวนครศรีธรรมราช (เบญจวรรณ  จันทร์พลูหลวง)


หนังสืออ้างอิงชุดภูมิปัญญาท้องถิ่นดินแดนสยาม เรื่องหัตถศิลป์บนหนังตะลุงกับภูมิปัญญาชาวนครศรีธรรมราช เป็นเรื่องราวของภูมิปัญญาพื้นบ้านที่คนในแถบนี้รับการถ่ายทอดมาจากคนรุ่นก่อน พร้อมทั้งประยุกต์และปรับปรุงจนเกิดเป็นความสมบูรณ์ในผลงานที่มีผู้ยอมรับในวงกว้าง มีทั้งข้อมูลอันเกี่ยวข้องกับวิถีถิ่น ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ความเป็นอยู่ของถิ่นฐาน การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของสังคมในแต่ละช่วงเวลาจนถึงสภาพการณ์ในปัจจุบัน

 

 

ไข่เค็มไชยากับภูมิปัญญาชาวสุราษฎร์ธานี (เบญจวรรณ  จันทร์พลูหลวง)


สุราษฎร์ธานี เป็นหนึ่งในดินแดนเก่าแก่ทางภาคใต้ของไทย อารยธรรมของมนุษยชาติในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เคยมีจุดกำเนิดและแพร่หลายอยู่ในดินแดนแห่งนี้ ทั้งหลักฐานจากศิลาจารึก โบราณสถานและโบราณวัตถุ ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า สุราษฎร์ธานีเคยมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยศรีวิชัย และร่องรอยแห่งความเจริญนั้นยังปรากฏเป็นหลักฐานให้คนรุ่นปัจจุบันได้พบเห็นอย่างมากมาย หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งในการถ่ายทอดเรื่องราวอันเป็นความชาญฉลาดของคนเมืองนี้ที่ได้เคยปรากฎขึ้นและมีการถ่ายทอดสู่คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าจนมาถึงสมัยปัจจุบัน

 

 

คู่มือการทำวิสาหกิจชุมชน (เสรี พงศ์พิศ)

คู่มือเล่มนี้ประมวลและสังเคราะห์ความรู้จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศ ทั้งจากที่ทำสำเร็จและล้มเหลว จำนวนไม่น้อยที่ทำสำเร็จมีเคล็ดลับนิดเดียว คือ เน้นการเรียนรู้ การปรับวิธีคิด และลงมือทำจากเล็กไปหาใหญ่ จากในไปสู่นอก

กลุ่มที่ทำสำเร็จใช้ปัญญาเป็นฐาน ใช้ความรู้เป็นเครื่องมือ ใช้พลังเครื่อข่ายทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นแรงหนุน ค่อยๆ ทำ ไม่ก้าวกระโดด ไปทีละขั้น มั่นใจแล้วก็เดินหน้าต่อไปอย่างรู้ประมาณตน รู้ว่าพอเหมาะพอดีอยู่ที่ไหน

วิธีการต่างๆ ที่นำเสนอเป็นการช่วยเริ่มต้นก็ได้ ช่วยหนุนก็ดี แต่ที่สำคัญที่สุด คือ การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ สรุปบทเรียนจากความสำเร็จและความล้มเหลวของตนเอง เรียนจากผู้รู้ จากกลุ่มที่ประสบความสำเร็จและกลุ่มที่ล้มเหลวด้วย

สำคัญอยู่ที่ใจ “ใจมาปัญญาเกิด” ถ้ามีความตั้งใจและมุ่งมั่น วันหนึ่งต้องทำสำเร็จ

 

วิถีสู่ชุมชนพอเพียง (เสรี  พงศ์พิศ)

 

หนังสือเล่มนี้เริ่มด้วยตัวอย่างของชุมชนเข้มแข็ง เพื่อจะบอกว่า หลักคิดหลักการที่ต่อจากกรณีทั้งเจ็ดเป็นการสรุปบทเรียนจากชุมชนเหล่านี้ โดยอาศัยกรอบคิดของเศรษฐกิจพอเพียง  ในเวลาเดียวกันก็เพื่อจะบอกว่า ท่ามกลางกระแสหลักของสังคมทุนนิยมและบริโภคนิยมอย่างปัจจุบัน การอยู่อย่างพอเพียงนั้นเป็นไปได้ แม้จะต้อง “ทวนกระแส” ในหลายส่วนก็ตาม

กระแสที่ว่าไม่ได้หมายถึงแต่เพียงการบริโภคอย่างล้นเกิน หรือเกินความจำเป็น แต่รวมไปถึงการไม่มีจะบริโภค หรือการขาดแคลนเพื่อการมีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง เนื่องเพราะสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศและของโลกที่กำลังมีปัญหา ที่คงไม่สามารถเยียวยาแก้ไขได้ถ้าหากยังขืนบริโภคและใช้ทรัพยากรอย่างที่ทำกันอยู่

วิถีแห่งความพอเพียงไม่ใช่แค่ “ทางเลือก” เพื่อความอยู่รอด แต่เป็น “ทางที่จำเป็น” ถ้าหากต้องการอยู่รอด และไม่ใช่ในฐานะบุคคล ชุมชน หรือสังคมใหญ่ แต่หมายถึงมนุษยชาติโดยรวม ทางที่จำเป็นนี้ คือ “ทางลด” การบริโภคลง ไม่ใช่พอไม่มีน้ำมันใต้ดิน ก็หาน้ำมัน “บนดิน” (พืช) มาทดแทนอย่างที่กำลังทำกันอยู่ และก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องไปไม่รู้จบ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: