การดำเนินงานของผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 3-5 ดาว ประเภทอาหาร ของจังหวัดชลบุรี

หัวข้องานวิจัย:  การดำเนินงานของผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 3-5 ดาว ประเภท อาหาร ของจังหวัดชลบุรี

ชื่อผู้เขียน:   คันธรส  รองรัตนพันธุ์

 

การดำเนินงานของผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 3-5 ดาว ประเภท อาหาร ของจังหวัดชลบุรี ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

ด้านการบริหารจัดการ พบว่า กลุ่มยังไม่มีความรู้เพียงพอในด้านการบริหารจัดการ แต่กลุ่มเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการและพยายามเรียนรู้เพื่อปรับใช้กับกลุ่มทั้งนี้ผู้นำกลุ่มมีการบริหารงานหรือขับเคลื่อนกิจกรรมของกลุ่มเพียงคนเดียวหรือเพียงกลุ่ม ๆ เดียวทั้งนี้เนื่องจากผู้นำมีบทบาทหรือมีภาวะผู้นำสูง สมาชิกกลุ่มเป็นเพียงในนาม ทั้งนี้การเป็นสมาชิกกลุ่มเพียงในนามส่งผลถึงระดมหุ้นของกลุ่ม หรือมีผลต่อรูปแบบการดำเนินงานในรูปของกลุ่ม จึงทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐให้การสนับสนุนการดำเนินงานน้อย

ด้านการตลาด  พบว่า กลุ่มส่วนใหญ่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เฉพาะชุมชนหรือบริเวณอำเภอใกล้เคียง มีบ้างที่ผลิตเพื่อจำหน่ายต่างจังหวัด ทั้งนี้เนื่องจากกลุ่มไม่มีงบประมาณในการลงทุน เป็นเพราะการบริหารงานของผู้นำเพียงคนเดียวหรือเฉพาะกลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียว และการเป็นสมาชิกของกลุ่มส่วนมากเป็นเพียงในนาม ถึงทำให้การระดมหุ้นต่างๆ เพื่อการลงทุนมีน้อย ทำให้รูปแบบของการดำเนินงานเป็นกลุ่มไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร ส่งผลให้การสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ จากภาครัฐมีน้อย

ด้านการพัฒนาการผลิต พบว่ากลุ่มยังคงยึดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตสินค้า แต่ได้มีการประยุกต์เพื่อให้เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่บ้างเพื่อให้สอดรับกับการพัฒนาคุณภาพและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ตัวผลิตภัณฑ์บ้าง ส่วนวัตถุดิบในการผลิตมีปัญหาพอประมาณ ทั้งนี้ส่วนใหญ่ต้องสั่งซื้อวัตถุดิบนอกชุมชนเนื่องจากผู้ผลิตคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ส่งผลให้ราคาของผลิตภัณฑ์สูงไปด้วย ซึ่งผลการศึกษาสอดรับกับงานวิจัยของเพ็ญนภา เดชดี และคณะ( 2547, หน้า 59) ซึ่งศึกษาเรื่องปัจจัยแห่งความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ OTOP : ศึกษากรณีผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาวในพื้นที่ภาคกลาง

ปัจจัยอื่นที่เอื้อต่อการดำเนินงานของผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 3-5 ดาว ประเภท อาหาร ของจังหวัดชลบุรี

1.นโยบายรัฐบาลในการดำเนินงานตามโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (นตผ.) กลุ่มผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่านโยบายหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (นตผ.) เป็นนโยบายที่มีประโยชน์ในการสร้างงาน สร้างรายได้แก่คนในชุมชน และเป็นการสืบทอดสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงไว้ ทั้งนี้ตามโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์  (นตผ.) มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยการคัดสรรผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ทำให้กลุ่มมีการพัฒนากระบวนการการบริหารจัดการกลุ่มการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ และเป็นการเพิ่มชิองทางทางการตลาดให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการมากขึ้น

2. ความร่วมมือขององค์กร ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เป็นปัจจัยให้กลุ่มผู้ประกอบการประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน ทั้งนี้ สมาชิกกลุ่มต้องมีส่วนร่วมในการคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ และร่วมติดตามประเมินผลการทำงานของกลุ่ม พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนากลุ่มให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

3. ความเข้มแข็งของชุมชน ชุมชนเข้มแข็งส่งผลต่อการพัฒนาพัฒนากลุ่มและชุมชน เนื่องจากชุมชนและกลุ่มเอื้อหนุนเกื้อกูล การทำงานร่วมกัน

ซึ่งผลการศึกษาด้านปัจจัยที่สรุปผลดังกล่าวข้างต้นสอดคล้องกับแนวคิดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ตามนโยบายของรัฐบาลที่ดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อ สร้างแรงงาน สร้างรายได้แก่ชุมชน สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนให้สามารถคิดเอง ทำเอง ในการพัฒนาท้องถิ่น นอกจากนั้นยังช่วยส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และส่งเสริมการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในท้องถิ่น

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: