ปัญหาและอุปสรรค

ตัวอย่างปัญหาและอุปสรรคการดำเนินโครงการ OTOP ปี 2546-2547

ด้านการผลิต: วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ กลุ่มผู้ผลิตชุมชนส่วนใหญ่ ไม่สามารถรับการสั่งซื้อสินค้าครั้งละ มากๆ ได้ สินค้าแต่ละครั้งคุณภาพไม่เหมือนกัน ไม่สม่ำเสมอ กรรมวิธีการผลิตไม่ทันสมัย ไม่สามารถแข่งขันได้ในตลาด

ด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ไม่มีการรับประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการไม่เข้าใจวิธีการและขั้นตอนการขอใบรับรองมา๖รฐานจากหน่วยงานราชการ

ด้านการตลาด  ผลิตภัณฑ์ไม่แตกต่างกัน และขายตัดราคากัน ช่องทางการจัดจำหน่ายจำนวนน้อยโดยเฉพาะการส่งออก และผู้ผลิตขาดความรู้เรื่องการบริการจัดการด้านการตลาด และไม่มีศักยภาพในการจำหน่ายต่างท้องที่และต่างจังหวัด

บทบาทของกระทรวงการต่างประเทศมีบทบาทสนับสนุนโครงการ OTOP ในด้านการส่งเสริมการตลาด การจัดจำหน่ายและกระจายสินค้า และการรับความช่วยเหลือด้านเทคนิคจากต่างประเทศ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์สนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการสินค้า OTOP ให้เข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ เพื่อขยายตลาดในต่างประเทศ กระทรวงฯ ยังมีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน (OTOP) ในด้านต่างๆ โดยผ่านกิจกรรมในหลายรูปแบบ เช่น พัฒนาระบบข้อมูล-เครือข่ายในการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญในสาขาธุรกิจต่างๆ และเทคโนโลยีกับต่างประเทศ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแผนงานโครงการวิจัยของต่างประเทศ ตลอดจนผลการวิจัย พัฒนาทรัพยากรบุคคลของวิสาหกิจชุมชน โดยใช้กรอบความร่วมมือกับต่างประเทศในการขอรับทุน การศึกษาวิจัยร่วม การสนับสนุนให้วิสาหกิจชุมชนไทยเข้าร่วมงานสัมมนาเกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ ในขณะเดียวกัน ก็ผลักดันในการขยายตลาดโดยแสวงหาลู่ทางและสร้างโอกาสในการเปิดตลาดใหม่ และสร้างพันธมิตรทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการไทย โดยใช้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศที่ไทยเป็นสมาชิก ตลอดจนให้ สอท. /สกญ.ต่างๆ ทั่วโลกเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิตและผู้ซื้อ และข้อมูลความต้องการของตลาด รวมทั้งมาตรการการกีดกันทางการค้าการลงทุนต่างๆ ให้วิสาหกิจชุมชนรับทราบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการปรับตัวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2548 กระทรวงฯ ได้จัดสรรงบประมาณทีมประเทศไทยสำหรับการดำเนินโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของ สอท. และ สกญ. ทั่วโลก จำนวน 10 โครงการ อาทิ โครงการส่งเสริม   ผลิตภัณฑ์ OTOP ของสอท. ณ กรุงปราก  โครงการนำนักธุรกิจออสเตรเลียที่ประสงค์จะนำเข้าสินค้า OTOP และเข้าร่วมโครงการครัวไทยสู่โลกเดินทางมาดูสินค้าในไทย ของ สกญ. ณ นครซิดนีย์ โครงการนำฝ่ายจัดซื้อของห้างสรรพสินค้าในอาบูดาบีและผู้สื่อข่าวไปร่วมงาน OTOP to the World 2005 ของสอท.ณ กรุงอาบูดาบี เป็นต้น

คณะอนุกรรมการส่งเสริมการตลาดโครงการ OTOP ได้อนุมัติให้กระทรวงฯ ดำเนินโครงการ The Ambassador Living and Dining: OTOP Style ในปีงบประมาณ 2549 โดยใช้เงินงบประมาณจากคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (กอ.นตผ.) โครงการ ดังกล่าวจะช่วยเสริมบทบาทของ ออท. และกสญ. ทั่วโลก ในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์สินค้า OTOP ให้เป็นที่รู้จักและชื่นชอบในบรรดานักการทูต และบุคคลสำคัญทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศนั้นๆ โดยจะนำสินค้า OTOP มาใช้ในรูปแบบของประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน

สำหรับการดำเนินงานที่ผ่านมา  มีผลิตภัณฑ์ดีเด่นที่ได้รับการคัดเลือกโดยผ่านกระบวนการประชาคมในระดับตำบลจำนวน  6,358 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งในจำนวนนี้ถูกคัดเลือกเป็นผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับจังหวัดจำนวน 925 ผลิตภัณฑ์ และมีผลิตภัณฑ์ที่จะประกาศขึ้นบัญชีผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จำนวน 461 รายการ นอกจากนี้มีการบูรณาการบัญชีผลิตภัณฑ์เด่นของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งมีหลายหน่วยงาน  ดำเนินการให้เป็นบัญชีหลักเพียงบัญชีเดียว ยอดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนก่อนเริ่มนโยบายหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์  ระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ. 2544 มีจำนวน 216 ล้านบาท ภายหลังการดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

แล้วปรากฏว่ามียอดจำหน่ายระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม พ.ศ. 2545 รวม 23,987 ล้านบาท

ซึ่งสูงกว่าประมาณการรายได้  ในปี พ.ศ. 2545 ที่ตั้งเป้าหมายไว้ 10,906 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 219.94 ของประมาณการรายได้ปี พ.ศ. 2545 และมีรายได้ จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใน 3 เดือนแรกของปี งบประมาณ 2546 มีจำนวน 7,236 ล้านบาท สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมาตรฐาน  เช่น มาตรฐาน อย. มอก. ฮาลาล ฯลฯ ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545 มีจำนวน 4,065 ผลิตภัณฑ์

ในส่วนของการเชื่อมโยงเครือข่ายสินค้ากับตลาดภายในและตลาดต่างประเทศได้มีการจัดทำเว็บไซด์ไทยตำบลดอทคอมขึ้น  ซึ่งได้ดำเนินการเผยแพร่ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการ กอ.นตผ. ไว้ในเว็บไซด์ดังกล่าว  รวมทั้งนำข้อมูลของกลุ่มอาชีพ  ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ได้รับการคัดสรรเป็นสินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จากตำบลต่างๆ เข้าระบบแล้วจำนวน 5,054 ตำบล  จำนวนสินค้าที่เข้าระบบจำนวน 16,797 รายการ และสินค้าที่ดำเนินการเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้วมีจำนวน 1,181 รายการ

ในปี พ.ศ. 2546 มีเป้าหมายที่จะขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ นตผ. ที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ต่างๆ เช่น อย. มอก. ฮาลาล และอื่นๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 3,500 ผลิตภัณฑ์ จากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ จำนวน 6,358 ผลิตภัณฑ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้รับคัดเลือก  เป็นผลิตภัณฑ์ดีเด่นในจังหวัดเพิ่มเป็น 1,500 ผลิตภัณฑ์ จากเดิม 925 ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับชาติ  ให้เพิ่มเป็นไม่น้อยกว่า 750 ผลิตภัณฑ์ จากเดิมที่ประกาศขึ้นบัญชีแล้ว 461 ผลิตภัณฑ์  นอกจากนี้จะยกระดับผลิตภัณฑ์ดีเด่นตามกลุ่มสินค้า 6 ประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอ จักสานและเส้นใยพืช อาหารและผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องปั้นดินเผา  ศิลปหัตถกรรมและสุราแช่ และกลุ่มศิลปวัฒนธรรมและสถานที่บริการ โดยจะส่งเข้าประกวด  นตผ. ดีเด่นระดับจังหวัด และระดับ

ประเทศ นอกจากนี้ยังมีแผนเพิ่มช่องทางด้านการตลาดให้มีแหล่งรวมและกระจายสินค้า นตผ. ระดับภาค จำนวน 6 แห่ง และสร้างเครือข่ายด้านการตลาด จังหวัดละ 1 เครือข่าย รวม 75 เครือข่าย นอกจากนี้จะจัดให้มีช่องทางการตลาดในสถานที่อื่นๆ เช่น  ห้างสรรพสินค้า แหล่งท่องเที่ยว ปั๊มน้ำมัน และสถานศึกษา จำนวน 18,000 แห่ง  นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายที่จะให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชนจำนวน 9,000 คน ในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการจัดการ  และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมการเป็นวิทยากรถ่ายทอดการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนจำนวน 6,000 คน

สำหรับการประชาสัมพันธ์และการเพิ่มช่องทางการตลาด จะจัดระบบข้อมูลสินค้า นตผ. ทั่วประเทศ เพื่อดำเนินการประชาสัมพันธ์  สินค้าและบริการบนเว๊บไซต์และอีคอมเมอร์ส จำนวนไม่น้อยกว่า 3,500 ผลิตภัณฑ์จากยุทธศาสตร์การดำเนินการดังกล่าวในปี   พ.ศ. 2546 คาดว่าจะมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการจากโครงการ  หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาทต่อปี

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: