โครงการสัมมนา

โครงการสัมมนาเรื่อง  

ของที่ระลึก  ภูมิปัญญาโดยคนไทย  เพื่อคนไทย


1.ชื่อโครงการ: “ของที่ระลึก ภูมิปัญญาโดยคนไทย  เพื่อคนไทย”

2. ประเภทโครงการ: โครงการสัมมนาเชิงวิชาการ

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ:

   1. นางสาวนาริญจ์  รุจิพรรณ

   2. นางสาวรัชนก  ทองคำ

   3. นางสาวอรจิรา  พร้อมแก้ว

   4. นางสาวศันสนีย์  กรานวงษ์

(นิสิตสาขาสารสนเทศศึกษา  มหาวิทยาลัยบูรพา)

4. หลักการและเหตุผล:

ของที่ระลึกและภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย  เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้คนทั่วไปได้เห็นความเป็นมาของการประกอบอาชีพ  การดำรงชีวิต  รวมทั้งศิลปะพื้นบ้าน  เพราะของที่ระลึกและภูมิปัญญาจะสะท้อนวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่น  และของที่ระลึกนั้นมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  มีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่หลายร้อยปีที่แล้ว  มีรูปแบบเอกลักษณ์ที่น่าสนใจตามแต่ละท้องที่  ซึ่งเพียงแค่ของชิ้นเดียวก็สามารถสะท้อนภาพสังคม  วัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งได้เป็นอย่างดี  วิวัฒนาการของของที่ระลึกและภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง  ไม่ใช่แค่คนไทยเท่านั้นที่ให้ความสนใจ  ชาวต่างชาติเองก็นิยมไม่แพ้กัน  ในเรื่องนี้สมควรที่จะมีการประมวลโดยสรุปเรื่องราวต่างๆ   และจัดเป็นการสัมมนาเพื่อให้เห็นองค์ความรู้  กล่าวคือ  เป็นความรู้ในเรื่องของที่ระลึกที่น่าสนใจตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน  วิวัฒนาการของของที่ระลึก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหัตถกรรมพื้นบ้าน  ทั้งนี้เพื่อสืบทอดความรู้ในเรื่องภูมิปัญญาพื้นบ้านของคนไทยไปสู่คนรุ่นหลังได้

5. วัตถุประสงค์:

1. เพื่อจัดสัมมนาและจัดแสดงสิ่งของที่ระลึกภายในงาน  ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของผลงานทางด้านหัตถกรรม อุตสาหกรรมของคนไทย  รวมทั้งภูมิปัญญาพื้นบ้าน  และของที่ระลึกที่น่าสนใจของต่างประเทศ 

2. เพื่อศึกษาแนวโน้มและทิศทางของการพัฒนาด้านสิ่งของที่ระลึกและภูมิปัญญาพื้นบ้านของคนไทยในอนาคต  ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีแนวโน้มวิวัฒนาการเป็นแบบใด

3. เพื่อที่ผู้เข้าสัมมนาจะได้เห็นความแตกต่างในเรื่องของรูปลักษณ์  และเอกลักษณ์ของของที่ระลึกของสถานที่ต่างๆ  ว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นอย่างไร

4. เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะและแนวทางอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสิ่งของที่ระลึก  ที่เป็นรูปธรรมและมีความเป็นไปได้สูงในการนำไปใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคม

6. กลุ่มเป้าหมาย: การจัดสัมมนาครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายสำหรับนิสิตที่สนใจและบุคคลทั่วไป

7. สถานที่ดำเนินงาน: อาคารนวัตกรรมศิลปะและวัฒนธรรม  (สถาบันวิจัยวัฒนธรรมและศิลปะ ) มหาวิทยาลัยบูรพา

8. รูปแบบการสัมมนา:            

การบรรยายภาคทฤษฎีและกรณีศึกษา ถามและตอบ  โดยเชิญวิทยากรผู้มีความรู้ทางด้านการออกแบบของที่ระลึก

อาจารย์ธนภัทร  ศิริจารุกุล  อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา

9. วิธีการดำเนินงาน:

10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ:

– ได้ข้อเสนอแนะและแนวทางอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสิ่งของที่ระลึก  ที่เป็นรูปธรรมและมีความเป็นไปได้สูงในการนำไปใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคม

– เยาวชนไทยเห็นคุณค่าของสินค้าหัตถกรรมฝีมือคนไทยมากขึ้น

– ผู้ร่วมสัมมนามีความรู้  ความเข้าใจ  สามาถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

11.การติดตามผล: จัดทำแบบประเมินผล เพื่อวัดความพึงพอใจของคนที่มาร่วมสัมมนา ในด้านความรู้ที่ได้ ในการมีส่วนร่วม และความเหมาะสมของวิธีการจัดสัมมนาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของนิทรรศการ  การสร้างบรรยากาศสัมมนา ฯลฯ  รวมถึงข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไขในการสัมมนาครั้งต่อไป

12. งบประมาณ: ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 3000 บาท (รวมค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าเดินทาง)

– ค่าอุปกรณ์ในการตกแต่งนิทรรศการ 1500

– ค่าปริ้นท์รูปเล่มรายงาน  873

– ค่าของเบรค 379

– ค่าเดินทาง 248

 

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: